เอียะติกาฟ
โดย อิสมาอีล กอเซ็ม
อัลเอียะติกาฟ คือการดำรงอยู่บนสิ่งหนึ่ง หรือผู้ที่อยู่ในมัสยิดโดยมีเจตนาเพื่อทำการภักดีต่ออัลลอฮ
ฮุกุมของการเอียะติกาฟ
สำหรับการเอียะติกาฟ นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ โดยเฉพาะในเดือนรอมาฏอน แต่ไม่ถึงขั้นเป็นวาญิบ ( จำเป็นที่จะต้องกระทำละทิ้งแล้วมีความผิด ) ดังหะดีษต่อไปนี้
لحد يث أبي هريرة قا ل : (( كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يعتكف في كل رمضان عشرة أيا م فلما كان العام الذي قبض منه اعتكف عشرين يوما ))
أخرجه البخاري
หะดีษที่รายงานโดยท่านอาบูฮุรอยเราะห์ ท่านได้กล่าวว่า
“ ท่านรอซูลลุลลอฮ เคยเอียะติกาฟในทุกๆ เดือนรอมาฏอน สิบวัน แต่ว่าในปีที่ท่านได้เสียชีวิตท่านได้ เอียะ ติกาฟ 20 วัน ”
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 2044)
เราจะทำการเอียะติกาฟในสถานที่ใด
การเอียะติกาฟกระทำในมัสยิดเท่านั้น ดังดำรัสของอัลลอฮ์
(( ولا تبا شروهن وأنتم عا كفون في المساجد ))
“ และพวกเจ้าอย่าได้ทำการรวมประเวณีกับพวกนาง ในขณะที่พวกเจ้าเอียะติกาฟในมัสยิด"
ถ้าหากว่าการเอียะติกาฟอนุญาติให้กระทำที่บ้านได้ ทำไม ? ภรรยาของท่านนะบี จึงเอียะติกาฟพร้อมกับท่านนะบี ทั้งๆที่เป็นความลำบากแก่พวกนาง และถ้าอนุญาตให้กระทำที่บ้านได้แน่นอนภรรยาของท่านนะบี คงจะปฎิบัติตาม
มัสยิดใดบ้างที่อนุญาตให้ทำการเอียะติกาฟ
บรรดานักวิชาการส่วนมาก (الجمهور ) มีความเห็นการเอียะติกาฟอนุญาตให้กระทำได้ในทุกๆ มัสยิดที่มีการละหมาดญามาฮะห์ เนื่องในคำดำรัสของอัลลอฮที่ว่านั้น ( المساجد ) ครอบคลุมมัสยิดทั้งหมดโดยไม่มีการเจาะจงว่าเป็นมัสยิดใด และถือว่าทัศนะนี้เป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก
มีบางคนบอกว่า ไม่อนุญาตให้ทำการเอียะติกาฟนอกจากสามมัสยิดเท่านั้น คือ มัสยิด หะรอม มัสยิด นาบาวีย์ และมัสยิดอัลอัคซอ ผู้ที่ให้ทัศนะนี้ก็คือท่าน อุซัยฟะห์ และท่าน สะอีด บิน มูซัยยิบ หลักฐานก็คือ
( لا اعتكا ف إلا في المساجد الثلا ثة ) ( ไม่มีการเอียะติกาฟนอกจากมัสยิดทั้ง สาม) บรรดานักวิชาการหะดีษได้ให้ทัศนะที่แตกต่าง โดยที่บางท่านว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษ มัรฟูฮ บางเห็นว่าเป็นหะดีษ เมากูฟ
อนุญาตให้ผู้หญิงทำการเอียะติกาฟได้หรือไม่ ?
สำหรับการเอียะติกาฟอนุญาตให้ผู้หญิงทำการเอียะติกาฟเช่น กัน แต่จะต้องมี 2 เงื่อนไข คือ
1. ต้องได้รับอนุญาตจากสามี
2. การเอียะติกาฟของนางจะต้องไม่สร้างความเสื่อมเสียให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง และตัวของผู้อื่น เช่นผู้ชาย
เมื่อใดที่เริ่มเข้าเอียะติกาฟ ?
เริ่มเข้าทำการเอียะติกาฟ ก่อนดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 20 รอมาฏอน สำหรับการออกจากเอียะติกาฟ หลังละหมาดซุบห์ของวันอีด
สิ่งที่จะมาทำให้เสียเอียะติกาฟ
1. การออกจากมัสยิดโดยไม่จำเป็น สำหรับการออกไปเพื่อรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำเป็นต้นไม่ถือว่าเสียเอียะติกาฟ ดังหะดีษของท่านนะบี ที่ว่า
فعن عا ئشة قا لت : (( وإن كان رسو ل الله صلى الله عليه وسلم ليد خل رأ سه و هو في المسجد – فَأُ رَ جله و كا ن لا يدخل البيت إلا لحاجة إ ذ ا كا ن معتكفا
أخرجه البخا ري
มีรายงานจากท่านหญิง อาอิชะห์
“ท่านรอซูลนั้นตัวของท่านเคยอยู่ในมัสยิดแล้วฉันได้ทำการหวีผมให้แก่ท่าน
และท่านจะไม่เข้าไปในบ้านเว้นแต่ ความจำเป็น ในเมื่อท่านได้ทำการเอียะติกาฟ”
(บันทึกโดย บุคอรีย ์ หะดีษที่ 2029 มุสลิม หะดีษที 297)
หรือในกรณีที่ไปเยี่ยมคนป่วยก็ไม่อนุญาตเช่นกัน หรือออกไปทำงานในตอนกลางวัน แล้วกลับมาในตอนกลางคืน เนื่องด้วยหะดีษ
حد يث عمرة قا لت (( كانت عا ئشة في اعتكافها إذا خرجت إلى بيتها لحاجة تمر بالمريض فتسأل عنه وهي مجتازة لا تقف عليه ))
أحرجه عبد الرزاق في المصنف 8055
หะดีษของอัมเราะห์ นางได้กล่าวว่า
“ท่านหญิง ฮาอิชะห์ได้เคยเข้าทำการเอียะติกาฟ เมื่อท่านได้ออกไปยังบ้านของนางเนื่องด้วยความจำเป็น
ท่านได้ผ่านไปยังคนป่วยคนหนึ่ง ท่านก็ได้ถามถึงคนป่วยคนนั้น โดยที่ท่านได้ผ่านไปโดยไม่หยุดดูผู้ป่วยคนนั้น”
(บันทึกโดย อับดุรรอซาค ในมูซอนนิฟของเขา หะดีษที่8055)
2.การร่วมประเวณี
ดังดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า
(( ولا تبا شروهن وأنتم عا كفون في المساجد ))
“ และพวกเจ้าอย่าได้ทำการรวมประเวณีกับพวกนาง ในขณะที่พวกเจ้าเอียะติกาฟในมัสยิด”
สิ่งที่อนุญาตให้แก่ผู้ที่เอียะติกาฟปฏิบัติได้
1. ออกจากมัสยิดเมื่อมีความจำเป็น เช่นออกไปรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำเป็นต้น
2. การพูดคุยกับแขกที่มาเยี่ยม
3. การพูดคุยกับภรรยาสองต่อสองเมื่อนางมาเยี่ยม
4. อาบน้ำและอาบน้ำละหมาดในมัสยิด ( หมายถึงมัสยิดที่มีห้องอาบน้ำติดกับตัวอาคารของมัสยิด)
5. การกางเต็นท์มุมหนึ่งของมัสยิด ( หมายถึงสร้างที่กำบังเล็กๆเพื่อให้พ้นจากสายตาของผู้คน )
لأ ن عا ئشة رضي الله عنها خباء وكان ذلك بأمر منه صلى الله عليه وسلم
เนื่องจากท่านหญิง อาอิชะห์ ได้มีที่กำบังโดยคำสั่งของท่านนบี ใช้กระทำในเรื่องดังกล่าว
6. อนุญาต ให้นำที่นอน มายังมัสยิดได้
فعن ابن عمر (( أن النبي صلى الله عليه وسلم كان إذا اعتكف طرح له فرا ش أو يوضع له سرير وراء إسطوانة التو بة
มีรายงานจากท่าน อิบนู อุมัร กล่าวว่า
"แท้จริงท่านนะบี เมื่อท่านได้เอียะติกาฟ จะถูกทำเตรียมไว้ให้แก่ท่าน เตียงนอน หรือว่าได้วางเตียงนอนไว้สำหรับท่านข้างหลังเสา"
(บันทึกโดย อิบนู มาญะห)
7. ทำการสู่ขอผู้หญิงและทำการนิกาฮได้ แต่มีเงื่อนไขห้ามทำการหลับนอนด้วยกัน
8. อนุญาตให้ผู้หญิงที่มีเลือดเสีย เข้าเอียะติกาพได้
มีรายงานจากท่านหญิงฮาอิชะห์ ได้กล่าวว่า
“มีผู้หญิงที่มีเลือดเสียจากบรรดาภรรยาของท่านนบี โดยที่นางนั้นมีทั้งสีแดงและสีเหลือง ( หมายถึงเลือดเสีย ) โดยที่เราได้ใช้อ่างรองเลือดของนาง ในขณะที่นางได้ทำการละหมาด”
(บันทึกโดย บุคอรีย์ 2037 มุสลิม 2476)
มารยาทในการเอียะติกาฟ
ชอบให้ ผู้ที่เข้าเอียะติกาฟให้ทำการรำลึกถึงอัลลอฮ์ ให้มากๆ อ่านอัลกุรอาน ขออภัยโทษ กล่าวซอลาวาตแก่ท่านนะบี ให้มาก และศึกษาความหมายของอัลกุรอาน สำหรับการเอียะติกาฟที่มาจับกลุ่มคุยในเรื่องที่ไร้สาระนั้น ถือว่าไม่ใช่แบบอย่างที่ท่านนะบี ได้ปฏิบัติไว้
ข้อมูลบางส่วน จากหนังสือ ซอเอียะ ฟิกอุซซุนนะห์