ราชวงค์อุษมานียะฮ์(Ottoman)
  จำนวนคนเข้าชม  75263

ราชวงค์ อุษมานียะฮ์ (The Ottoman Empire)


          อาณาจักร์ออตโตมาน หรือ ราชวงค์ อุษมานียะฮ์  (The Ottoman Empire) ระหว่างปี  ค.ศ. 1299-1922

            อาณาจักรอุษมานียะฮ์หรือออตโตมานเติร์กเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1299 หลังจากอาณาจักรเซลจูกเติร์กแห่งอนาโตเลียถูกกองทัพมงโกลรุกรานและล่มสลายในที่สุด อาณาจักรอุษมานียะฮ์ถูกสถาปนาขึ้นโดย อุษมาน และท่านอุษมานได้ประกาศตนเป็นปาดีชะห์ปกครองอาณาจักรออตโตมานที่แคว้นโซมุตทางทิศตะวันตกของอนาโตเลีย จึงนับว่าท่านเป็นสุลต่านองค์แรกแห่งราชอาณาจักนออตโตมาน (อุษมานียะฮ์)

     คำว่า อุษมานียะฮ์มาจากชื่อต้นตระกูล เป็นชื่อของสุลต่านองค์แรกของราชวงค์ ผู้สถาปนาราชอาณาจักรอุษมานียฮ์

         ประมุขสุงสุดของอาณาจักรออตโตมาน เรียกว่า ปาดีชะห์ หรือ สุลต่าน ผู้มีอำนาจรองลงมา คือ วาซีร อะซัม (แกรนด์วิเซียร์)ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดิวาน ซึ่งในปัจจุบันอาจหมายถึง รัฐบาล และมีอีกตำแหน่งหนึ่งเรียกว่า ไซคุลอิสลาม ทำหน้าที่ดูแลฝ่ายกิจกรรมศาสนาอิสลาม มีฐานะเท่าเทียมกับ แกรนด์วิเซียร์ ทั้งสามสถาบันถือเป็นสถาบันหลักของอาณาจักรออตโตมาน


       อาณาจักรออตโตมานมีปาดีชะห์หรือสุลต่านปกครองทั้งหมด 36 พระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1299-1922 การปกครองในรัชสมัยของสุลต่านสิบพระองค์แรกนับว่าเป็นสุลต่านที่มีความสามารถเข้มแข็งในการรบ เพราะต้องรักษาดินแดนของตนพร้อมกับการขยายดินแดนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สุลต่านองค์ที่ 2 คือ อรฮันที่ 1 ได้จัดตั้งงกองทหารราบแจนิสซารีขึ้น เพื่อเป็นกองทหารกล้าตายพิทักษ์องค์สุลต่าน เป็นผู้มีความซื่อสัตย์และจงรักภัคดีต่อสุลต่านเป็นอย่างยิ่ง แต่ในภายหลังกองทหารแจนิสซารีเป็นผู้ก่อการจลาจลเสียเอง เพราะกลัวจะเสียผลประโยชน์ บางรัชสมัยกองทหารแจนิสซารีมีอิทธิพลถึงขั้นถอดถอนแต่งตั้งสุลต่านได้ จนในที่สุดรัชสมัยสุลต่านมะห์มูดที่ 2 พระองค์ได้ปราบปรามกองทหารแจนิสซารีอย่างเด็ดขาดและได้เลิกระบบกองทหารแจนิสซารี 

 
          ในรัชสมัยของสุลต่านสิบพระองค์แรกต้องทำศึกสงครามกับอาณาจักรไบแซนทีน กลุ่มประเทศในแหลมบอลข่าน เช่น เซอร์เบีย บัลกาเรีย วอเลคเชีย (โรมาเนีย) เฮงการี เป็นต้น ผลจากการสงครามในสมัยนี้ส่วนใหญ่ออตโตมานเป็นผู้ชนะ แต่ใรสมัยสุลต่านคนที่ 4 คือ บายาซิดที่ 1 พบศึกหนักต้องทำสงครามกับตาร์ตาร์ภายใต้การนำของทาร์เมอเลน สุลต่านถูกจับและสิ้นประชนในที่สุด

            
          ต่อมาสุลต่านคนที่ 7 เมร์เมดที่ 2 ได้รับสมญานามว่า ผู้พิชิต เพราะเป็นผู้พิชิตอาณาจักรไบแซนทีนได้สำเร็จ สามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ในปี ค.ศ. 1453 และได้ทรงเปลี่ยนเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเปลี่ยนชื่อเป็น อิสตันบูล ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 นับว่าอาณาจักรออตโตมานเจริญสูงสุดแต่ในขณะเดียวกันในช่วงปลายสมัยของสุลต่านสุไลมานที่ 1 นี้ก็เป็นการเริ่มของความเสื่อมของอาณาจักรออตโตมานสาเหตุของการเสื่อมเพราะ

1.ความอ่อนแอของสุลต่านเอง คือ ไม่มีความสามารถในการรบ หมกมุ่นอยู่กับสุรานารี

2.ปล่อยให้แกรนด์วิเซียร์เป็นผู้บริหารแทน เป็นเหตุให้เกิดการการคอรัปชั่น

3.ขาดอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยส่วนในยุโรปนั้นมีการอาวุธที่ทันสมัยและมีศักยภาพมากกว่า

4.กษัตริย์ในยุโรปได้ร่วมมือกันเพื่อล้มล้างอาณาจักรออตโตมาน
 

 


      หลังจากสิ้นยุคการปกครองของสุลต่านสุไลมานเป็นต้นมา อาณาจักรออตโตมานเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อม ภายในราชสำนักมีแต่ความฟุ้งเฟ้อ หรูหรา ฟุ่มเฟือย สุลต่านเอาแต่สนุกสนานอยู่ในฮาเร็ม มีการลอบปลงประชนแย่งชิงราชบัลลังก์ บรรดาข้าราชการแสวงหาความร่ำรวย ฉ้อราษฎร์บังหลวง สาเหตุดังกล่าวทำให้สุลต่านแห่งออตโตมานต้องปราชัยเป็นส่วนใหญ่และจากการรุกรานของชาติต่างๆในยุโรปทำให้ ไม่ สามารถขยายดินแดนได้อีก ต่อมาในสมัยมะห์มูดที่ 2 ก็ได้จัดกองทัพแบบยุโรป โดยมีฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือ หลังจากนั้นก็ได้ทำสงครามกับกลุ่มประเทศในแหลมบอลข่าน อิตาลีและกรีก
 
  แต่ออตโตมานก็พ่ายแพ้มาตลอด ในสมัยอับดุลฮามิดที่ 1 ได้เกิดกลุ่มยังเติร์กหรือเติร์กหนุ่มเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสุลต่านเป็นระบบสาธารณรัฐและให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในการปกครองประเทศ ในที่สุดเคมาล ปาชา ผู้นำกลุ่มยังเติร์กสามารถชนะกรีก และต่อมาประกาศเลิกระบบสุลต่าน เลิกระบบเคาะลีฟะฮ์ เป็นการสิ้นราชวงค์ออตโตมาน (อุษมานียะฮ์) เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐประเทศตรุกีในปี ค . ศ. 1922 จนถึงปัจจุบัน


               อาณาจักรออตโตมานให้ความสำคัญกับการศึกษาเหมือนกับอาณาจักรอิสลามอื่นๆ ในอดีตมีสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นมากมายในดินแดนอาณาจักรออตโตมานทั้งในภูมิภาคเอเชียและยุโรป รัฐบาลออตโตมานไดจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาคไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ สถาบันการศึกษาที่สำคัญของอาณาจักรออตโตมานนอกจากสถาบันมัดรอซะห์แล้วยังมี มักตาบศิบยาน ตำหนักใน สถานพายบาล มัสญิด เตกแกและซาวียะห์ ตลอดจนจวนของบรรดาขุนนางและที่พำนักของบรรดาอุลามาอฺมีบทบาทต่อกิจกรรมการศึกษาของอาณาจักรออตโตมานป็นอย่างมาก

            สังคมในสมัยออตโตมานได้แบ่งชนชั้นเป็นชนชั้นปกครองและชนชั้นถูกปกครอง ชั้นปกครองได้แก่ สุลต่าน ข้าราชบริพารในพระราชวัง ทหารต่างๆ กอฏี มุฟตี อุลามาอฺ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในสำนักงานการเงินการคลัง และสถาบันอาลักษณ์ และชนชั้นถูกปกครอง ไดแก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง ชนบท รวมทั้งชนเร่ร่อน อาศัยอยู่ตามเชิงเขา ทะเลทราย ทุ่งหญ้า มีทั้งที่นับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ ยิว และอื่นๆ

 


ที่มา : Islamic center of psu Fathoni

 

Next 2 >>>> Click