การพ้นสภาพจากการนับถือศาสนาอิสลาม
ทางปากหรือคำพูด
สถานภาพของการเป็นมุสลิม
มุฮัมหมัดนะอีม ยาซีน( 1991:44 )กล่าวว่า มนุษย์ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1 . กลุ่มที่อัลลอฮฺกำหนดให้เขาดำรงอยู่ในการศรัทธา และเสียชีวิตในขณะที่ยอมรับว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุฮัมหมัด นั้นเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ
2 . กลุ่มที่หันกลับสู่การเป็นผู้ออกนอกกรีต (มุรตัด) เนื่องจากการปฏิเสธหลักการอิสลามหลังจากพวกเขาเป็นมุสลิม
สถานภาพของแต่ละกลุ่ม
1 . กลุ่มที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺนั้นพวกเขาจะได้รับสถานภาพแตกต่างกันดังนี้
1.1 กลุ่มที่เป็นผู้ดีเลิศ ( محسنين ) เนื่องจากพวกเขามีคุณลักษณะของความเป็น อิหฺซาน ( إحسان )
1.2 กลุ่มที่ปานกลาง ( مقتصدون )
1.3 กลุ่มที่อธรรมต่อตนเอง ( ظالمون لأنفسهم )
ผลจากความแตกต่างในสถานภาพเชิงพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวกลุ่มผู้ศรัทธาจะได้รับการสอบสวนและผลตอบแทนตามผลงานดังนี้
1 . ได้เข้าสวรรค์โดยไม่ต้องผ่านการสอบสวน
2 . ได้รับการสอบสวนแต่สามารถผ่านอย่างง่ายดาย
3 . ได้รับการลงโทษในนรกจนกระทั่งอัลลอฮฺประทานความโปรดปรานแก่พวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงได้เข้าสวรรค์
2 . กลุ่มที่ออกนอกรีต (มุรตัด) นั้นพวกเขาจะตกนรก และพำนักอยู่ในนั้นอย่างถาวรตลอดไปถ้าหากเขาตายในขณะที่เขาเป็นผู้ออกนอกกรีต
ซึ่งคนที่ศรัทธานั้นจะไม่เป็นผู้ออกนอกกรีต นอกจากด้วยสาเหตุสำคัญ 4 ด้านได้แก่
1 .ปฏิเสธต่อความเป็นรุบูบียะห์ของอัลลอฮฺหรือกล่าวหาอัลลอฮฺเกี่ยวกับเรื่องนี้
2 . ปฏิเสธคุณลักษณะและพระนามของอัลลอฮฺ
3 . ปฏิเสธเกี่ยวกับความเป็นอุลูอียะห์ของอัลลอฮฺ
4 .ปฏิเสธเกี่ยวกับสาสน์ที่นำมาโดยท่านศาสดาหรือกล่าวหาต่อท่านศาสดา
เมื่อมีการยึดมั่น พูดหรือปฏิบัติที่เป็นการปฏิเสธด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งหมดก็จะส่งผลให้การกล่าวกาลีมะฮ์ชะฮาดะฮ์ของเขาเป็นโมฆะอันจะนำมาซึ่งพ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม
นอกจากนี้การที่คนๆ หนึ่งจะพ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม เมื่อเขาได้กล่าว หรือยอมรับหรือกระทำสิ่งที่อิสลามห้ามและความสำคัญของข้อห้ามนั้นอยู่ในระดับที่ใครฝ่าฝืนหรือละเมิดแล้วจะทำให้การปฏิญาณตนของเขานั้นเป็นโมฆะและส่งผลให้เขาหลุดพ้นจากการเป็นมุสลิมไป
ท่านสาอีด ฮาวาย์ ได้รวบรวมสิ่งที่ทำให้การปฏิญาณตนเป็นโมฆะไว้ ดังนี้
1 . มอบหมายยอมตน ต่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
2 . ปฏิเสธความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ( نعمة الله ) ทั้งนิอฺมัต ที่ประจักษ์ชัดหรือซ่อนเร้น และนิมัตที่นึกออกได้ง่ายหรือต้องใช้วิจารณญาณ วิเคราะห์อย่างละเอียด
3 . เสียสละหรือทุ่มเทความพยายาม เพื่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เช่น ชาตินิยม มาตุภูมินิยม มนุษย์นิยม และอื่นๆ
4 .ออกกฎระเบียบตามความต้องการของอารมณ์ มิใช่ตามความประสงค์ของอัลลอฮฺ
5 . ตออัตต่อสิ่งอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺและผู้ที่อัลลอฮฺอนุมัติให้มุสลิมตออัตได้
6 . นำกฎระเบียบอื่นใดมาบังคับใช้ในสังคมนอกจากกฎหมายของอัลลอฮฺ
7 . เกลียด ดูถูกหรือเหยียดหยามคำสอนใดคำสอนหนึ่งในอิสลาม
8 . รักการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และยึดโลกนี้เป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินชีวิตมากกว่าการมีชีวิตอยู่ในโลกหน้า
9 . ดูถูกเนื้อหาตอนใดตอนหนึ่งของอัลกุรอานหรือซุนนะฮฺและดูหมิ่นผู้รู้ที่ยืนหยัดปฏิบัติตามกฎระเบียบของอิสลาม
10 . อนุมัติสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามหรือห้ามสิ่งที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติ
11 . ไม่ศรัทธาต่อแหล่งที่มาของกฎหมายทั้งในอัลกุรอานและซุนนะฮฺทั้งหมด
12 . ยอมยกให้คนกาฟิรหรือมุนาฟิกเป็นผู้นำและไม่รักต่อศรัทธาชนด้วยกัน
13 . ไม่มีมารยาทในการคบค้าสมาคมกับท่านรอซูล
14 . หวาดกลัว ท้อแท้และสิ้นหวังต่อการยืนหยัดในกาลีมะฮฺเตาฮีด
15 . มีทัศนะว่าเนื้อหาอัลกุรอานขัดแย้งกันเอง
16 .ไม่รู้จักอัลลอฮฺอย่างแท้จริงและปฏิเสธคุณลักษณะทางด้านอุลุฮิยะห์ (ความเป็นพระเจ้า) ของอัลลอฮฺหรือปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮฺในด้านอื่นๆ
17 . ไม่รู้จักรอซูลอย่างแท้จริง
18 . กล่าวหาผู้กล่าวซะฮาดะฮฺว่าเป็นกาฟีร และไม่ยอมรับว่าเป็นกาฟีร ผู้ที่ปฏิเสธ ซะฮาดาตัยน์ และอนุมัติในการทำสงครามกับคนกล่าวซะฮาดะฮฺ ซึ่งการกระทำในข้อนี้จัดอยู่ในหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
قاعدة : من كفر مؤمنا فقدكفر ومن لم يكفر الكافر فقدكفر ومن شك فى كفر الكافر فقد كفر
ความว่า ผู้ใดกล่าวว่าผู้ศรัทธาเป็นผู้ปฏิเสธผู้นั้นก็เป็นผู้ปฏิเสธ ผู้ใดไม่ยอมรับว่าผู้ปฏิเสธเป็นกาฟิรผู้นั้นก็เป็นผู้ปฏิเสธและผู้ใดสงสัยในการปฏิเสธของผู้ปฏิเสธก็จะเป็นกาฟิร
19 . กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อัลลอฮฺกำหนดให้เป็นอิบาดะฮฺ แต่ด้วยเจตนาเพื่อสิ่งอื่น เช่น เชือดสัตว์มิใช่เพื่ออัลลอฮฺ ซูญูดต่อสิ่งอื่น ตอวาฟสิ่งอื่น วิงวอนต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
20 . การกระทำต่างๆ ที่เป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ
ที่มา : Islamic information center of psu Fathoni