เดือนแห่งการทำอุมเราะฮ์และเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพ
  จำนวนคนเข้าชม  17326

 

เดือนแห่งการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพ

 

ดร.อับดุลกุ๊ดดู๊ซ อิบนุ อุซามะฮฺ อัซซามัรรออียฺ

 

เดือนแห่งการประกอบพิธีอุมเราะฮฺที่มีภาคผลเทียบเท่าการประกอบพิธีหัจฮัจญ์ อิบนุ อับบ๊าส  กล่าวว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวแก่สตรีชาวอันศอรผู้หนึ่งว่า

 ))مامنعك أن تحجي معنا ؟ قالت: لم يكن لناإلاناضحان- بعيران- فحج أبوولدهاوابنهاعلى ناضح، وترك لناناضحاننضح عليه- يسقي أرضالنا- فقال: فإذاجاءرمضان فاعتمري فإن عمرة فيه تعدل حجة(( .

“อะไรที่มาหักห้ามเธอมิให้ไปประกอบพิธีฮัจญ์กับพวกเรา ?

นางกล่าวว่า เรามีอูฐเพียงแค่สองตัวเท่านั้น สำหรับพ่อของลูกของนาง และลูกของนาง ที่ขี่อูฐตัวหนึ่งไปประกอบพิธีฮัจญ์ และได้ทิ้งอูฐไว้ไห้ตัวหนึ่ง ที่เราจะใช้มันทดน้ำเข้าไร่นาของเราให้แก่เรา ท่านนะบี  กล่าวว่า

"แล้วเมื่อรอมาฏอนมาถึง เธอก็จงไปประกอบพิธีอุมเราะฮ์ซิ  เพราะ การประกอบพิธีอุมเราะฮ์ในเดือนรอมาฎอนนั้น มีค่าเท่ากับการประกอบพิธีฮัจญ์”

(รายงานโดย บุคคอรี และมุสลิม)

และในรายงานหนึ่งของมุสลิม มีว่า

  ((تقضي حجة ، أوحجة معي ))

“เป็นการประกอบพิธีฮัจญ์ชดเชย(กอฏอ) หรือประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกับฉัน” 

  (รายงานโดย มุสลิมในซอฮี๊ฮฺของท่าน 2/917 เลขที่ 1256) 

          ที่ได้กล่าวมานี้ เป็นการส่งเสริมให้ไปประกอบพิธีอุมเราะฮ์ในเดือนรอมาฎอน ส่งเสริมให้ติดตามความประเสริฐ การให้ได้มาซึ่งผลบุญของการประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการไปประกอบพิธีฮัจญ์ร่วมกับท่านเราะซูลุลลอฮ์ ผลแห่งการตอบแทนของการไปประกอบพิธีอุมเราะฮ์ ในเดือนรอมาฎอนนั้นจะไม่ทำให้การไปทำฮัจญ์ที่เป็นข้อกำหนดต้องตกไป สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการเดินทางไปได้ และไม่สามารถจะมาแทนการไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้

 

 

เดือนแห่งการเพิ่มปัจจัยยังชีพ

ดังที่ ท่านเราะซูลุลลอฮ์ กล่าวไว้ว่า

((...وشهريزداد في رزق المؤمن فيه...))

 “...เป็นเดือนที่มีการเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพของผู้ศรัทธา...”       

(รายงานโดย อิบนุ คุซัยมะฮฺ ในซอฮี๊ฮฺของท่าน เลขที่ 1887)

          และไม่เป็นที่สงสัยเช่นเดียวกันว่า การเพิ่มพูนคุณความดีต่างๆนี้ เป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ ณ ที่บรรดาผู้ที่ทำการถือศีลอด จากลูกหลานของประชาชาติผู้ศรัทธา ทั้งนี้เนื่องจากว่า ทุกคนนั้น ต่างตักตวงเอาความยำเกรงไว้เป็นเสบียง ซึ่งเป็นรากฐานของสิ่งที่เป็นมงคล

อัลลอฮ์  ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

“และผู้ใดที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ พระองค์ก็จะทรงให้มีทางออกแก่เขา และประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เขา โดยที่เขาไม่เคยคาดคิดมาก่อน” 

(อัฏฏอลาก 2-3)

         การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ  การมีความยำเกรงที่จริงใจ  มีการขอการอภัยโทษอย่างมาก และหันไปพึ่งพิงอัลลอฮ์ อย่างถูกต้องนั้น จะทำให้ได้รับชัยชนะด้วยอนุมัติของพระองค์  ด้วยการประทานปัจจัยยังชีพและการเอาใจใส่ดูแล

อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า

“และหากว่า ชาวเมืองได้ศรัทธา และมีความยำเกรง เราก็จะเปิดให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่มีมงคลต่างๆ จากฟากฟ้า และแผ่นดิน” 

(อัลอะอฺรอฟ 96)

          และอัลลอฮ์  ได้ทรงสอนประชาชาติของท่านนบีนู๊ฮฺ  และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา ถึงสาเหตุของการประทานปัจจัยยังชีพ ให้แก่ผู้ที่ต้องการจะได้รับมากขึ้น

อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า

“แล้วฉันได้กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่าน แท้จริง พระองค์นั้น เป็นผู้ทรงอภัยให้ตลอด

พระองค์จะทรงให้น้ำฝนหลั่งลงมาอย่างมากมายแก่พวกท่านและจะทรงเพิ่มพูนให้แก่พวกท่านด้วยทรัพย์สิน และลูกหลานมากมาย

และทรงประทานสวนต่างๆให้พวกท่าน และทรงให้มีลำน้ำต่างๆมากหลายให้แก่พวกท่าน”   

(นู๊ฮฺ 10-12)

         ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เดือนรอมาฎอน เป็นเดือนแห่งการกลับเนื้อกลับตัว การขอการอภัยโทษ การทำความเคารพภักดี การเตรียมเสบียงด้วยการเชื่อฟัง และการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบรรดามุสลิมกับเครือญาติ ข้อดีต่างๆที่ได้รับการสรรเสริญเหล่านี้ทั้งหมด ล้วนเป็นสิ่งที่จะเพิ่มปัจจัยยังชีพของผู้ศรัทธา ซึ่งมีรายงานว่า

ท่านนบี มุฮัมมัด กล่าวไว้ว่า

 ((من أكثرالاستغفار جعل الله له من كل هم فرجا ، ومن كل ضيق مخرجا ، ورزقه من حيث لايحتسب))

“ผู้ใดที่ขออภัยโทษมากๆ อัลลอฮ์ จะทรงให้เขาพ้น จากทุกความกลัดกลุ้ม จะทำให้มีทางออกจากทุกความคับขัน

และจะประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เขา โดยที่เขาไม่เคยคาดคิดมาก่อน”

(รายงานโดย ฮากิม ในมุสตั๊ดร็อกของท่าน 4/291 เลขที่ 7677 และกล่าวว่า เป็นฮะดีษที่มีสายสืบที่ถูกต้อง และบุคอรียฺ และมุสลิมไม่ได้รายงาน)

         สิ่งที่เป็นบะรอกะฮฺของการเชื่อมสัมพันธ์กับบรรดาเครือญาติ และผลที่จะตามมา ในอายุขัย และปัจจัยยังชีพ 

ท่านนบี มุฮัมมัด    กล่าวไว้ว่า

 (( من سره أن يبسط له في رزقه ، أو ينسأله في أثره فليصل رحمه))

“ผู้ใดที่ชอบจะให้ได้รับปัจจัยยังชีพมากๆ หรืออยากให้มีอายุยืนนาน ก็ให้เขาเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา”  

(รายงานโดย บุคอรียฺ ในซอฮี๊ฮฺของท่าน 2/728 เลขที่ 1961)

         มุสลิมจะต้องระมัดระวังบาป และการถลำตัวไปกระทำบาป และต้องรีบเร่งกลับเนื้อกลับตัว ทุกครั้งที่เขาโน้มเอียงไปสู่การฝ่าฝืน หรือมีความหย่อนยานในการเชื่อฟังปฏิบัติตามบทบัญญัติและแบบฉบับของท่านเราะซูล นั้น จะทำให้ปัจจัยยังชีพจะถูกบดบัง ความเจริญงอกงามจะถูกลบล้าง ดังมีรายงานมากจากเซาว์บานว่า

ท่านร่อซูลุลลอฮฺ   กล่าวไว้ว่า

    ((لايرد القدر إلا الدعاء ولايزيد في العمر إلا البر ، وإن الرجل ليحرم الرزق بالذنب يصيبه .))

“ไม่มีอะไรจะมาที่จะมายับยั้งการกำหนดสภาวะได้ นอกจากการขอดุอาอฺเท่านั้น

และไม่มีอะไรที่จะมาทำให้อายุยืนยาวได้ นอกจาก การมีคุณธรรมเท่านั้น

แท้จริง คนเรานั้น จะถูกห้ามไม่ให้ได้รับปัจจัยยังชีพ ด้วยกับบาปความผิดที่ได้กระทำขึ้น”

 

(รายงานโดย อัลฮากิม ในมุสตั๊ดร็อกของซอฮี๊ฮฺ บุคอรี และมุสลิม 1/670 เลขที่ 1814 และบอกว่า เป็นฮะดีษที่มีสายสืบที่ถูกต้อง บุคอรียฺ และมุสลิมไม่ได้นำรายงาน)