ตลาดหุ้นชะรีอะฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  9171

 

การทำธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทจดทะเบียน

นิพล แสงศรี

 


1. Gcc ย่อมาจาก  Gulf Cooperation Council  ประกอบด้วยบาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (U.A.E.)

2. DIFX (Dubai International Financial Exchange)

3. ตลาดหุ้นอาบูดาบีได้ตกลงกับ เอ็นวายเอสอี-ยูโรเน็กซ์-อิงค์ ของบริษัทโฮลดิ้งที่เกิดจากรวมตัวของตลาดหุ้นนิวยอร์กและยุโรป เพื่อจัดตั้งตลาดอนุพันธ์เป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนในภูมิภาคและดึงดูดบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นมากขึ้น

 4. เราสามารถเห็นรายงานการซื้อขายสดทางหน้าจอโทรทัศน์ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะใช้ชื่อย่อว่า PTT, บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ใช้ชื่อย่อว่า KTB, บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ใช้ชื่อย่อว่า SCC, บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)ใช้ชื่อย่อว่า THAI เป็นต้น   

 5. กองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติหรือกองทุนเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นกองทุนของประเทศร่ำรวยเงินตราต่างประเทศ จัดตั้งขึ้น  เพื่อนำเงินส่วนเกินของประเทศไปลงทุนสร้างดอกผลในโครงการการลงทุนในประเทศตัวเอง หรือต่างประเทศ  ประเทศในเอเชียที่จัดตั้งกองทุนประเภทนี้มานานคือสิงคโปร์ ซึ่งประเทศไทยรู้จักดีเพราะกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์เป็นเจ้าของบริษัทเทมาเสก ซึ่งเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทชินคอร์ปของ  พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร

          การประชุมครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้น   ณ   นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย  เมื่อวันที่ 21/01/1995  สถาบันวินิจฉัยเกี่ยวกับนิติศาสตร์อิสลามได้พิจารณาประเด็นต่างๆ  และได้กำหนดพื้นฐานการทำธุรกรรมกับบริษัทฯ ไว้ได้แก่

          1.เนื่องจากต้นตอเดิมของการประกอบธุรกิจนั้นอนุญาต  ดังนั้นการก่อตั้งบริษัทฯโดยมีวัตถุประสงค์และดำเนินงานสอดคล้องตามศาสนาอนุญาตจึงถือว่าอนุญาต

         2.ห้ามถือหุ้นกับบริษัทฯที่มีวัตถุประสงค์การก่อตั้งขัดกับหลักศาสนาบัญญัติ  เช่น เกี่ยวกับดอกเบี้ย  ผลิตสิ่งที่ศาสนาห้าม  และดำเนินธุรกิจในสิ่งที่ศาสนาห้าม

          3.ไม่อนุญาตให้ซื้อหุ้นบริษัทฯและธนาคาร หากพบการดำเนินงานบางส่วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย  โดยผู้ซื้อทราบเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี

          4.หากบุคคลใดซื้อหุ้นโดยไม่ทราบว่าบริษัทฯดำเนินงานเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย  ต่อมาเขาทราบภายหลัง บุคคลนั้นจำเป็นต้องถอนตัวและห้ามถือหุ้น เพราะ

1) หลักฐานจากอัลกุรอานและอัสสุนนะฮฺครอบคลุมถึงข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ยด้วย 

2) การซื้อหุ้นกับบริษัทดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมๆกับผู้ซื้อทราบดี


ตลาดหุ้นชะรีอะฮฺ

          ตลาดหุ้นเก่าแก่ที่สุดในตะวันอกกลางคือ ตลาดหุ้นอียิปต์  ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1903  ส่วนตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิก GCC¹  ได้แก่ ตลาดหุ้นซาอุฯ ตั้งอยู่ในกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยมีมูลค่าหุ้นที่อยู่ในตลาดรวมกันเกือบ 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากมูลค่ารวมในตลาดหุ้นทั่วภูมิภาคทั้งหมด 1.15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลาดหุ้นซาอุดีอาระเบียเน้นเฉพาะกลุ่มประเทศ GCC เท่านั้น  โดยยังไม่เปิดกว้างถึงนักลงทุนต่างชาติ  นอกจากนั้นยังพบตลาดหุ้นดูไบ²  ตลาดหุ้นอาบูดาบี³   ตลาดหุ้นกาตาร์ ตลาดหุ้นคูเวต และตลาดหุ้นบาห์เรน  โดยมักจะเรียกตลาดหุ้นดังกล่าวว่า  ตลาดหุ้นอิสลาม หรือ ตลาดหุ้นชะรีอะฮฺ  เนื่องจากมีความพยายามที่จะดำเนินงานส่วนใหญ่ให้สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม  แม้ว่าจะพบตลาดหุ้นบางประเทศดำเนินงานจะไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นก็ตาม

          ตลาดหุ้นชะรีอะฮฺ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชะรีอะฮฺ (บอร์ดชะรีอะฮฺ)  ในแต่ละประเทศ  ซึ่งคัดเลือกมาจากนักเศรษฐศาสตร์อิสลาม นักกฎหมายอิสลาม  นักนิติศาสตร์อิสลาม นักคิด และนักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้อง  โดยบอร์ดชะรีอะฮฺจะทำหน้าที่กับกำการดำเนินงานของตลาดหุ้นให้สอดคล้องกับมติคำวินิจฉัยของสถาบันวินิจฉัยเกี่ยวกับนิติศาสตร์อิสลามอีกที (Islamic Fiqh Academy)

          ปัจจุบันบริษัทต่างๆพยายามนำตัวเองเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นเราสามารถพบการซื้อขายหุ้นได้จากตลาดหลักทรัพย์แต่ละประเทศ หรือที่เรียกว่า ตลาดหุ้น  โดยจะต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ก่อนหรือนิยมเรียกกันว่า โปรกเกอร์ ส่วนบริษัทได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์ให้ระดมเงินทุนด้วยการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนจะเรียกว่า บริษัทจดทะเบียน และหุ้นที่นำมาขายเรียกว่า หลักทรัพย์รับอนุญาต  แต่นิยมเรียกกันว่า หุ้น  โดยหุ้นแต่ละตัวจะมีอักษรย่อเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้กำกับ4   ส่วนบุคคลที่ซื้อหรือขายหุ้นจากบริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้นจะถูกเรียกว่า  นักลงทุน  หรือ ผู้ถือหุ้น  ผู้ลงทุนจะได้รับประโยชน์จากผลกำไร ซึ่งอาจจะจ่ายเป็นรายปีหรือรายงวดหากบริษัทมีกำไร เช่นเดียวกับผลประโยชน์ในส่วนต่างของราคาหุ้นที่ซื้อไว้


ความสำคัญของตลาดหุ้นชะรีอะฮฺ

          เนื่องจากทั่วโลกมีจำนวนพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่ราว 1 ใน 4 ของโลก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของโลกได้ในราวปี 2025  โดยกลุ่มประเทศที่มีมุสลิมอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดคือ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง  ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันจนทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของภูมิภาคมีความมั่นคงและมั่งคง ตลอดจนยังมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่พร้อมจะไหลไปลงทุนทั่วโลก  ทำให้นานาประเทศจัดตั้งกองทุนที่ใช้นโยบายลงทุนตามหลักเศรษฐศาสตร์อิสลามขึ้น เพิ่มขึ้นจากเดิม 22  โครงการ (ปี 2002)  เป็น 153 โครงการ (ปี 2007) เพื่อสนองตอบความต้องการองพี่น้องมุสลิม  ทั้งสถาบันการเงินและธนาคารอิสลาม  โดยมีการลงทุนที่หลายหลากกัน ทั้งด้านอสังหาริมทรัพย์  การลงทุนในตลาดหุ้น  เป็นต้น

          ปี 2550 ที่ผ่านมาประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (GCC) มีรายได้จากการขายน้ำมันคิดเป็นมูลค่ารวมกันถึง 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ทำให้หนี้ต่างประเทศของ 6 ประเทศลดลงจากเฉลี่ย 44.4 %ของจีดีพี เหลือเพียง 16 % ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึง 2550 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เคยประกาศว่ารายได้ต่อหัวของชาวกาตาร์เลย 70,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 2.38 ล้านบาท) ต่อปีขึ้นแท่นสูงอันดับสามของโลกเป็นรองแค่ลักเซมเบิร์กและนอร์เวย์เท่านั้น  ความมั่งคั่งอย่างมหาศาลคิดจากราคาน้ำมันดับต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น ทั้งที่ความจริงราคาน้ำมันดับทะลุระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว  นอกจากนั้นกลุ่มประเทศ GCC มีการจัดตั้งกองทุนแห่งชาติ5  เพื่อการลงทุนจำนวนถึง 33 กองทุน รวมมูลค่าสูงถึง 3,871 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนหนึ่งมาจากประเทศซาอุดีอาระเบีย 17 กองทุนมูลค่า 2,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, คูเวต 11 กองทุน มูลค่า 787 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, กาตาร์ 3 กองทุน มูลค่า 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์  2 กองทุน มูลค่า 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          การดำเนินงานของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ  บริษัทส่งออกน้ำมัน  และบริษัทด้านอื่นๆ ส่วนใหญ่ล้วนวางอยู่บนพื้นฐานการถือหุ้นก่อนจะนำบริษัทดังกล่าวเข้าสู่ตลาดหุ้นฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งโดยตลาดหุ้นอิสลามจะเป็นทั้งตัวกลางทางการซื้อขาย และดูแลตลาดให้ดำเนินงานสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม  ปัจจุบันความมั่งคั่งและมั่นคงที่กล่าวมาสามารถดึงดูดชาติตะวันตก หันมาให้ความสำคัญต่อการเงินอิสลามและตลาดหุ้นชะรีอะฮฺมากขึ้น  ในเวลาเดียวกันชาติตะวันตกทยอยเปิดสาขาของสถาบันการเงินและธนาคารในกลุ่มประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ด้วย