แนวทางการถือศีลอดของผู้ป่วยเบาหวาน
โดย นพ.ยา สารี โรงพยาบาลไม้แก่น
หลักการและเหตุผล
การถือศีลอดตั้งแต่รุ่งเช้าจนพลบค่ำในเดือนรอมาฎอนอันศักดิ์สิทธิ์ได้ถูกบัญชาให้ปฏิบัติแก่บรรดามุสลิมทั้งหลาย ยกเว้นผู้ที่กำลังป่วย ถึงกระนั้นก็ตามผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆ ที่ควบคุมได้ดีแล้ว ต้องการที่จะถือศีลอดเช่นกัน การนำเสนอในวันนี้จึงมีเป้าประสงค์ที่จะเสนอแนะแนวทางเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่อโรค โดยอาศัยหลักฐานจากงานวิจัย
บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง อัล-บากอเราะฮฺ 2:183
ผู้ที่ได้รับการยกเว้น
1. ผู้ป่วย ( อัล-กุรอาน 2: 184-185)
2. ผู้ที่อยู่ระหว่างการเดินทาง
3. ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน
4. ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
5. เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ
เอกลักษณ์ของการถือศีลอดของมุสลิมในช่วงเดือนรอมาฎอน
เป็นความสมัครใจของผู้ป่วย ไม่ใช่คำแนะนำของแพทย์
ไม่มีการจำกัดชนิด หรือปริมาณของอาหาร
ไม่มีผลต่อปริมาณพลังงานที่พึงได้รับในแต่ละวัน
เป็นโอกาสในการฝึกฝนตนเองในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมากฝรั่ง เป็นต้น
มีผลการกระทบทางด้านจิตวิญญาณสูง และมีการละหมาดพิเศษในตอนกลางคืน(ตารอเวียฮฺ)
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาขณะถือศีลอด
พลังงานที่ได้รับ
ปริมาณน้ำและเกลือแร่
ผลกระทบต่อ
ระบบย่อยอาหาร
- ไตและการขับปัสสาวะ
- ต่อมไร้ท่อ
- ระบบเผาผลาญไขมัน
- ระบบหายใจ
- ระบบประสาท
การถือศีลอดกับระบบเผาผลาญไขมัน ระดับ Total Cholesterol และ Triglycerides ลดลงในช่วงอาทิตย์แรก และกลับมาคงเดิมในช่วงหลังของการถือศีลอด
ระดับ HDL-C เพิ่มขึ้น
ค่าต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามตามชนิดและปริมาณอาหารที่ได้รับ
ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
free T3 ลดลง rT3 สูงขึ้น
total T4 ต่ำลงเล็กน้อย (ผลจากการลดลงของTBG) ในขณะที่ freeT4 และ TSH ยังคงปกติ
การตอบสนองต่อของTSH ต่อ TRH ไม่เปลี่ยนแปลง
ฮอร์โมนเพศไม่เปลี่ยนแปลง
Plasma Prolactin และ PTH ปกติ
ผลต่อการทำงานของไต
ปริมาณปัสสาวะ ความเข้มข้น ระดับเกลือแร่และส่วนประกอบไม่เปลี่ยนแปลง
BUN สูงขึ้นเล็กน้อย
กรดยูริกสูงขึ้น (ตามระยะเวลาที่งดอาหาร)
ผลกระทบต่อระบบอื่นๆ
Bilirubin สูงขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ SGOTและ SGPT ปกติ
ลดการหลั่งของกรดในกระเพาะ
ระบบหัวใจ และหลอดเลือดไม่เปลี่ยนแปลง
ระดับแคลเซียมและเกลือแร่ไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่มีผลต่อระดับฮีโมโกลบิน และธาตุเหล็ก
น้ำหนักลด 1.7-3.8 Kg (ยิ่งอ้วนยิ่งลดมาก)
ลดความหิว จากการคั่งของคีโตน และการเพิ่มของ Beta-endorphins
อาชญากรรมลดลงในช่วงเดือนรอมฎอน ( การวิจัยในจอร์แดน )
ไม่ปรากฏผลต่อการคลอดในเรื่องของน้ำหนักแรกคลอด No (การวิจัยจากแกมเบีย)
ผู้ป่วยที่ไม่ควรถือศีลอด
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
ผู้ป่วยไตวาย ไตเสื่อม ผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือนิ่วที่ไต
โรคปอดและหัวใจที่รุนแรง
เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือโรคกระเพาะที่เป็นแผล
โรคลมชักที่ยังไม่สงบ
โรคไมเกรนที่กำเริบบ่อย
คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์ก่อนถือศีลอด
ฝึกการถือศีลอดช่วงเดือนซะอฺบานก่อน
เปลี่ยนยาชนิดออกฤทธิ์นาน เป็นยาชนิดออกฤทธิ์สั้นภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ผู้ป่วยสูงอายุที่จำเป็นต้องใช้ยากลุ่ม NSAIDS ต้องคอยตรวจการทำงานของไตบ่อยๆ
ยากันเลือดแข็งตัว และยากันชักเปลี่ยนไปกินเวลากลางคืน
ผู้ป่วยเบาหวานกับการถือศีลอด
43 % in IDDM, 79 % in NIDDM
50 % ยังคงใช้ยาเท่ากับเวลาปกติ
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ดีควรถือศีลอดเพราะ
1. น้ำตาลในเลือดลดลงในช่วงเดือนรอมฎอน
2. ความดันโลหิตลดลง
3. ไขมันในเลือดลดลง
4. น้ำหนักลดลง 1-2 กิโลกรัม
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ Hypoglycemia
Hyperglycemia
Diabetic Ketoacidosis
Dehydration & Thrombosis
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในช่วงถือศีลอด
เสี่ยงมากที่สุด
มีภาวะ severe hypoglycemia 3 เดือนก่อนรอมฎอน
มีประวัติ hypoglycemia บ่อยๆ
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรู้สึกได้ถึงภาวะ hypoglycemia
ผู้ป่วยที่ประวัติคุมน้ำตาลในเลือดไม่ดี (ขึ้นๆลงๆในช่วงกว้าง)
มีประวัติ DKA ใน 3 เดือนก่อนรอมฎอน
เบาหวานชนิดที่หนึ่ง
มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น cellulitis acute pyelonephritis,
Hyperosmolar coma ใน 3 เดือนก่อนรอมฎอน
ผู้ป่วยที่ทำงานใช้แรงงานหนัก เช่น กรรมกรแบกหาม
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผู้ป่วยล้างไตด้วยวิธีต่างๆ
เสี่ยงมาก
มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 150-300 mg% หรือ HbA1c 7.5- 9.0 %
มีภาวะไตเสื่อม
มี macro vascular complication
ผู้ป่วยที่อยู่เพียงลำพัง
สูงอายุ และมีโรคเรื้อรังอื่นๆ
ใช้ยาที่กดประสาท เช่น diazepam tranxene
เสี่ยงปานกลาง
ผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลได้ดี โดยใช้ยากลุ่ม repaglinide
เสี่ยงน้อย
ผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลได้ดี โดยวิธีคุมอาหาร หรือใช้ยากลุ่ม metformin TZD และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
การให้คำแนะนำ
อาหาร และน้ำ
การออกกำลังกาย
การใช้ยา
การสังเกตภาวะผิดปกติ
*** ทั้งนี้ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อน เพื่อการปรับเปลี่ยนยาที่เหมาะสมและไม่เกิดอันตรายนะคะ
เอกสารอ้างอิง
Monira A, Radhia B, John B, Sherif H, Mohamed H, Mahmoud AI, et al. Recommendations for Management of Diabetes During Ramadan . Diabetic care 2005;28:2305-2311.
Ibrahim S, Eric B, Bruno D, Monique BB, Corinne LB, Celine V, Abdul J. A Population-Based Study of Diabetes and Its Characteristics During the Fasting Month of Ramadan in 13 Countries . Diabetic care 2004;27:2306-2311.