เป็นที่ต้องห้ามหรือไม่ สำหรับสตรีที่จะเดินทางโดยไม่มีมะฮรอม ?
และเงื่อนไขของมะฮรอมเป็นเช่นไร ?
คำถาม
เนื่องจากมารดา ของกระผม ได้วางแผนเพื่อจะเดินทางไปทำอุมเราะห์ แต่สามีและพี่ชายของหล่อนไม่สามารถจะร่วมเดินทางไปกับมารดาของผมได้ เราจึงได้ขอคำแนะนำจากอุลามะท่านหนึ่ง ซี่งท่านได้ให้คำแนะนำว่า มารดาของกระผมสามารถเดินทางไปทำอุมเราะห์ได้ โดยให้พี่เขย (ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้อง) ทำหน้าที่เป็นมะฮรอมได้ ตราบใดที่ภรรยาของพี่เขยได้ร่วมอยู่กับการเดินทางนั้นด้วย
ผมไม่แน่ใจว่า การกระทำดังกล่าวนี้เป็นที่อนุมัติตามหลักการของอิสลามหรือไม่ครับ
คำตอบหนทางหนึ่งในการปกป้องมุสลิมมะให้ได้รับความปลอดภัยในการเดินทางก็คือ นางจำเป็นจะต้องมีมะฮรอมร่วมเดินทางได้ไปกับนางด้วย เพื่อป้องกันเธอจากผู้ที่จะมาปองร้ายหรือเป็นการช่วยเหลือเธอให้ได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง เนื่องมาจากสตรีนั้นเป็นเพศที่มีความอ่อนแอ ซึ่งนางอาจจะต้องเผชิญกับความยากลำบากในขณะการเดินทาง ดังนั้นการเดินทางของสตรีเพียงลำพัง ซึ่งปราศจากมะฮรอมนั้นจึงไม่เป็นที่อนุมัติ ในศาสนาอิสลาม
ซึ่งมีฮาดิษที่รายงานโดย IbnAbbaas ว่า
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่าแก่บรรดาซอฮาบะฮว่า : สตรีนั้นไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะเดินทางเพียงลำพังเว้นเสียแต่ว่านางจะมีมะฮรอมร่วมเดินทางไปกับนางด้วย
และเมื่อท่านนบีพูดจบ ได้มีซอฮาบะฮท่านหนึ่ง ได้ลุกขึ้นกล่าวแก่ท่านนบีว่า โอ้ ท่านรอซูล ของพระองค์อัลลอฮ์ แท้จริงฉันได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารเพื่อเข้าปฏิบัติการทางทหาร แต่ภรรยาของผมกำลังจะออกเดินทางเพื่อไปทำฮัจญ์
เมื่อท่านนบี ได้ยินเช่นนั้น ท่านได้กล่าวกับซอฮาบะฮ ว่า : ท่านจงออกเดินทางและไปทำฮัจญ์ร่วมกับนางเถิด
รายงานโดย al-Bukhaari, al-Fath, 3006
จากรายงานข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า มะฮรอมนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ถึงขนาดที่ท่าน รอซูล สั่งใช้ให้ชายคนหนึ่งยกเลิกการออกสู้รบในหนทางของพระองค์อัลลอฮ์ (ดังในกรณีเหตุการณ์ข้างต้น) แม้ว่าชายคนนั้นจะต้องปฏิบัติภารกิจทางทหาร แต่เมื่อภรรยาของเขากำลังออกเดินทางเพื่อไปทำการเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาล ซึ่งไม่ใช่การเดินทางเพื่อกระทำสิ่งที่ไร้สาระ ในกรณีนี้ ท่านนบี จึงได้กล่าวแก่ชายดังกล่าวให้ร่วมออกเดินทางไปทำฮัจญ์พร้อมภรรยาของเขา แทนการออกสู้รบในหนทางของพระองค์อัลลอฮ์
ดังนั้นในการเดินทางเพื่อจะไปทำอุมเราะฮ์ ของสตรีผู้หนึ่งนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมะฮรอมร่วมเดินทางไปกับนางด้วย
สำหรับเงื่อนไขของบุคคลที่จะสามารถเป็นมะฮรอมได้นั้น บรรดาอุลามะ(นักวิชาการ) ได้จัดเงื่อนไขที่ประกอบกันไว้ 5 เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เขาต้องเป็นบุรุษเพศ
2. เขาต้องเป็นมุสลิม
3. เขาต้องบรรลุศาสนภาวะ
4. เขาเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ
5. เขาต้องไม่มีความสัมพันธ์ที่จะแต่งงานกับสตรีที่เขาจะเป็นมะฮรอมให้ได้อย่างถาวร
การแต่งงานกับสตรีผู้นั้นเป็นที่ต้องห้ามอย่างถาวร เช่น ผู้ที่มีศักดิ์เป็น พ่อ พี่ชาย น้องชาย พี่ชายของพ่อ พี่ชายของแม่ บิดาของสามี สามีของแม่นม พี่ชายหรือน้องชายที่มีแม่นมคนเดียวกัน รวมทั้งบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้ที่การแต่งงานของเขากับสตรีผู้นั้นเป็นความสัมพันธ์แบบชั่วคราว (การแต่งงานกับสตรีผู้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ภายหลังที่มีการหย่าร้าง หรือมีการเสียชีวิตของคู่ครอง) ตัวอย่างเช่น สามีของพี่สาว หรือ น้องสาว สามีของอา และสามีของน้า เป็นต้น
ซึ่งจากหลักการข้างต้นนี้ จากคำถามข้างต้น พี่ชายหรือน้องชายของสามี และลูกของลุง ทั้งที่เป็นญาติทางพ่อและทางแม่นั้น จึงไม่สามารถที่จะเป็นมะฮรอมให้กับนางได้ ดังนั้น จึงไม่เป็นที่อนุญาตที่ นางจะร่วมเดินทางไปพร้อมกับบุคคลดังกล่าวได้
แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงรอบรู้ที่สุด
ที่มา http://www.islamqa.com/en/cat/66
แปลโดย : นูรุ้ลนิซาอ