จำนวนคนเข้าชม  8539

 

 

การกระทำความดีระดับสูงสุด

 

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

 

          อัลอิหฺสาน คือ การที่ท่านทำอิบาะฮ์ ต่ออัลลอฮ์ ราวกับท่านมองเห็นพระองค์ ซึ่งหากท่านไม่เห็นพระองค์ แน่นอนยิ่งพระองค์ทรงเห็นท่าน

1- อัลลอฮฺ   ได้ทรงกล่าวว่า :

ความว่า : แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺนั้นทรงอยู่พร้อมกับบรรดาผู้ที่ยำเกรงและบรรดาผู้ซึ่งเป็นผู้ประกอบกรรมดี(มุหฺสินูน)

(อันนะหลฺ : 128)

2- อัลลอฮฺ   ได้ทรงกล่าวว่า :

ความว่า : และเจ้าจงมอบหมาย (การงานของเจ้า) ให้กับพระผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงเห็นเจ้าขณะที่เจ้าลุกขึ้นยืน และเห็นการเคลื่อนไหวของเจ้าในท่ามกลางบรรดาผู้สูยุด (กราบต่ออัลลอฮฺ) แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

 (อัชชุอะรออฺ : 217-220)

3- อัลลอฮฺ   ได้ทรงกล่าวว่า :

ความว่า : และทุกเรื่องที่เกิดขึ้นกับเจ้า ทุกอายัตเกี่ยวกับเรื่องนั้นที่เจ้าอ่านในอัลกุรอาน และทุกการงานที่พวกเจ้ากระทำนั้น เราเองคือผู้กำกับควบคุมตอนพวกเจ้าเริ่มกระทำในสิ่งนั้น และสิ่งเบาเท่าอณูหนึ่งในแผ่นดินและในท้องฟ้าหรือสิ่งที่เล็กกว่าและใหญ่กว่านั้น ล้วนแต่มีปรากฏอยู่แล้วในบันทึกอันชัดแจ้งโดยมิได้เลือนลางหายไปจาก (ความรอบรู้ของ) พระเจ้าของเจ้า

(ยูนุส  : 61)

    
ระดับขั้นของศาสนาอิสลาม

          ศาสนาอิสลามนั้นมี 3 ระดับด้วยกัน ซึ่งบางระดับเหนือกว่าอีกระดับ กล่าวคือ ระดับแรก คือ อิสลาม ระดับที่สอง คือ อีมาน และระดับที่สาม คือ อิหฺสาน ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุด และทุก ๆ ระดับก็มีหลักของตัวเองแตกต่างกันไป

จากอุมัรฺ บินอัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

عنْ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ  قَالَ بَيْنَمَا نَحْنُ عِنْدَ رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- ذَاتَ يَوْمٍ إِذْ طَلَعَ عَلَيْنَا رَجُلٌ شَدِيدُ بَيَاضِ الثِّيَابِ شَدِيدُ سَوَادِ الشَّعَرِ لاَ يُرَى عَلَيْهِ أَثَرُ السَّفَرِ وَلاَ يَعْرِفُهُ مِنَّا أَحَدٌ حَتَّى جَلَسَ إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- فَأَسْنَدَ رُكْبَتَيْهِ إِلَى رُكْبَتَيْهِ وَوَضَعَ كَفَّيْهِ عَلَى فَخِذَيْهِ وَقَالَ يَا مُحَمَّدُ أَخْبِرْنِى عَنِ الإِسْلاَمِ. فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « الإِسْلاَمُ أَنْ تَشْهَدَ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ وَتُقِيمَ الصَّلاَةَ وَتُؤْتِىَ الزَّكَاةَ وَتَصُومَ رَمَضَانَ وَتَحُجَّ الْبَيْتَ إِنِ اسْتَطَعْتَ إِلَيْهِ سَبِيلاً. قَالَ صَدَقْتَ. قَالَ فَعَجِبْنَا لَهُ يَسْأَلُهُ وَيُصَدِّقُهُ. قَالَ فَأَخْبِرْنِى عَنِ الإِيمَانِ. قَالَ « أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ ». قَالَ صَدَقْتَ. قَالَ فَأَخْبِرْنِى عَنِ الإِحْسَانِ. قَالَ « أَنْ تَعْبُدَ اللَّهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تَرَاهُ فَإِنَّهُ يَرَاكَ ». قَالَ فَأَخْبِرْنِى عَنِ السَّاعَةِ. قَالَ « مَا الْمَسْئُولُ عَنْهَا بِأَعْلَمَ مِنَ السَّائِلِ ». قَالَ فَأَخْبِرْنِى عَنْ أَمَارَتِهَا. قَالَ « أَنْ تَلِدَ الأَمَةُ رَبَّتَهَا وَأَنْ تَرَى الْحُفَاةَ الْعُرَاةَ الْعَالَةَ رِعَاءَ الشَّاءِ يَتَطَاوَلُونَ فِى الْبُنْيَانِ ». قَالَ ثُمَّ انْطَلَقَ فَلَبِثْتُ مَلِيًّا ثُمَّ قَالَ لِى « يَا عُمَرُ أَتَدْرِى مَنِ السَّائِلُ ». قُلْتُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَعْلَمُ. قَالَ « فَإِنَّهُ جِبْرِيلُ أَتَاكُمْ يُعَلِّمُكُمْ دِينَكُمْ ». أخرجه مسلم

ความว่า : “ในขณะที่พวกเรากำลังอยู่พร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ในวันหนึ่งนั้น ก็ได้มีชายที่เสื้อผ้าขาวผ่อง ผมดำสนิทคนหนึ่งเข้ามาหาพวกเรา เขาไม่มีร่องรอยของการเดินทางไกลเลย และก็ไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเราที่รู้จักเขา จนกระทั่งเขาได้นั่งลงตรงหน้าท่านนบี   แล้วเขาก็ประกบหัวเข่าของเขากับหัวเข่าของท่าน และว่างสองฝ่ามือเขาลงบนโคนขาของเขา พร้อมกล่าวว่า “โอ้มุหัมมัด ! จงบอกฉันเกี่ยวกับอิสลามซิว่าคืออะไร ?”

ท่านเราะสูลุลลอฮฺจึงตอบว่า “อิสลาม คือ การที่ท่านกล่าวคำปฏิญานว่า “ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะอันนะ มุหัมมะดัน เราะสูลุลลอฮฺ” (แปลว่า ไม่มีพระเจ้าที่แท้จริง –ที่สมควรแก่การอิบาดะฮฺ- นอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้น  คือ ศาสนฑูตของพระองค์) และท่านดำรงการละหมาด ท่านจ่ายซะกาต ท่านถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และท่านไปประกอบฮัจญ์หากมีความสามารถ”

เขากล่าวว่า “ท่านพูดถูกแล้ว”

(อุมัรฺ) กล่าวว่า “พวกเรารู้สึกแปลกใจต่อเขาที่สอบถามท่านแล้วเขากล่าวรับรอง”

เขากล่าวอีกว่า “แล้วจงบอกฉันเกี่ยวกับอีมานซิว่า คืออะไร ?

ท่านตอบว่า “คือ การที่ท่านศรัทธาต่ออัลลอฮฺ บรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์ คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ บรรดาศาสนฑูตของพระองค์ วันอาคิเราะฮฺ ตลอดจนท่านศรัทธาในกฏอัลเกาะดัรทั้งดีและชั่ว”

เขากล่าวว่า “ท่านพูดถูกแล้ว”

เขากล่าวต่อไปอีกว่า “แล้วจงบอกฉันเกี่ยวกับอิหสานซิว่า คืออะไร ?”

ท่านตอบว่า “คือ การที่ท่านอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺราวกับว่าท่านเห็นพระองค์ และถ้าหากท่านไม่เห็นพระองค์แล้ว พระองค์ก็ทรงเห็นท่าน”

เขากล่าวว่า “งั้นจงบอกฉันเกี่ยวกับวันสิ้นโลกซิว่าคืออะไร ?”

ท่านตอบว่า “คนที่ถูกถามไม่ได้รู้มากไปกว่าคนที่ถาม”

เขากล่าวว่า “แล้วจงบอกฉันเกี่ยวกับสัญญานของมันซิว่า คืออะไรบ้าง ?”

ท่านตอบว่า “คือ การที่ทาสหญิงให้กำเนิดนายหญิงของเขา และท่านได้เห็นคนเดินเท้าเปล่า (ไม่ใส่รองเท้า) ไม่สวมเสื้อผ้า  ยากจน เลี้ยงแพะ แกะต่างพากันปลูกตึกสูง ๆ

(อุมัร) เล่าว่า จากนั้น เขาคนนั้นก็จากไป แล้วฉันก็พักชั่วขณะ ต่อมาท่านก็ได้ถามฉันว่า “โอ้อุมัร ! ท่านรู้ไหมว่าคนถามผู้นั้นเป็นใคร ?

ฉันตอบว่า “อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ย่อมรู้ดีกว่า”

ท่านตอบว่า “แท้จริงแล้ว เขา คือ ญิบรีล ที่มาหาพวกท่านเพื่อสอนศาสนาให้แก่พวกท่าน”

 [บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 8]


อัลอิหสาน มี 2 ระดับ คือ :

 

          1- ระดับแรก คือ การที่มนุษย์ทำการภักดีต่อพระเจ้าราวกับเขามองเห็นพระองค์ ซึ่งเป็นการภักดีอย่างเสนห่าด้วยใจรัก โดยที่เขาเฝ้าอาวรณ์ มุ่งสมาธิ และน้อมกระทำภักดีต่อผู้ที่เขารักนั้นก็คืออัลลอฮฺราวกับว่าเขามองเห็นพระองค์ ซึ่งระดับนี้เป็นระดับสูงสุด คือ “อัน ตะบุดัลลอฮฺ กะอันนะกะ ตะรอฮุ”

 

          2- ระดับที่สอง คือ เมื่อท่านไม่ได้ภักดีต่ออัลลอฮฺในระดับดังที่ท่านมองเห็นและเข้าถึงพระองค์ ท่านก็จงทำการภักดีต่อพระองค์ในฐานะที่พระองค์ทรงมองเห็นท่าน ซึ่งเป็นระดับการภักดีของผู้ที่เกรงกลัวต่อพระองค์ เป็นระดับการภักดีของผู้หลีกเลี่ยงจากการทรมานและการลงโทษ ผู้รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจต่อพระองค์ นั้นคือระดับ “ฟะอินลำ ตะกุนตะรอฮุ ฟะอินนะฮู ยะรอกะ”


 

ความสมบูรณ์แบบของการอิบาดะฮฺ

          การภักดีต่ออัลลอฮฺนั้นตั้งอยู่บนฐาน 2 ประการ คือ การมีความรักอย่างสูงสุดต่ออัลลอฮฺ และการเทิดทูนและถ่อมตัวมากที่สุดต่อพระองค์ โดยความรักนั้นทำให้เกิดความใฝ่ฝันและปรารถนา ในขณะที่การเทิดทูนและถ่อมตัวจะทำให้เกิดความเกรงกลัวและการหลีกหนี ซึ่งนี้แหละ คือ อัลอิหสาน ในการภักดีต่ออัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักบรรดามุหสินีน (ผู้บรรลุระดับอัลอิหสาน) ดังที่พระองค์ได้กล่าวว่า :

1- อัลลอฮฺ   ได้ทรงกล่าวว่า :

ความว่า : และผู้ใดเล่าที่มีศาสนาดียิ่งไปกว่าผู้มอบตัวเองต่ออัลลอฮ์ พร้อมกับเป็นผู้กระทำดี และปฏิบัติตามแนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาสัจธรรม และอัลลอฮฺได้ทรงตั้งอิบรอฮีมให้เป็นคนสนิท

(อันนิสาอฺ : 125)

2- อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวว่า :

ความว่า : และผู้ใดที่มอบตัวเองต่ออัลลอฮฺพร้อมกับเป็นผู้กระทำดี ผู้นั้นก็ได้ยึดกุมเส้นสายที่แข็งแกร่งยิ่ง และผลสุดท้ายของการงานทุกสิ่งก็ต้องหวนสู่อัลลอฮฺ

(ลุกมาน  : 22)

3- อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวว่า :

ความว่า : ใช่แล้ว ผู้ที่มอบตัวเองต่ออัลลอฮฺพร้อมกับเป็นผู้กระทำดี เขาก็จะได้รับสิ่งตอบแทนของเขา ณ.ที่พระเจ้าของเขา พร้องทั้งไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ เกิดขึ้นกับพวกเขา และพวกเขาไม่รู้สึกเศร้าเสียใจอีกเลย

(อัลบะเกาะเราะฮฺ  : 112)


การค้าขายที่มีแต่กำไร

           ในคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงการค้าขายของบุคคลสองประเภท คือ การค้าขายของคนมุมิน(ผู้ศรัทธา) และการค้าขายของคนมุนาฟิก(ผู้กลับกลอก)

1- การค้าขายของคนมุมินนั้นมีแต่กำไร ทำให้เกิดความสุขทั้งในโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮฺ นั้นก็คือ การปฏิบัติตามศาสนา ดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวว่า :

ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! จะเอาไหม ฉันจะแนะนำสูเจ้าถึงการค้าที่สามารถปกป้องสูเจ้าให้รอดพ้นจากการทรมานอันแสนสาหัส

นั้นคือสูเจ้าต้องศรัทธาต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ และต่อสู้ดิ้นรนในหนทางของอัลลอฮฺด้วยทรัพย์สมบัติและชีวิตของสูเจ้า

 สิ่งดังกล่าวนั้น เป็นการดียิ่งสำหรับสูเจ้า หากสูเจ้าได้รู้ 

(อัศศ็อฟ : 10-11)

 

2- การค้าขายของคนมุนาฟิกนั้นมีแต่ขาดทุน ทำให้เกิดความอัปยศล้มเหลวทั้งในโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮฺ ดังที่พระองค์ได้ทรงกล่าวถึงพวกมุนาฟิกว่า :

ความว่า : และเมื่อพวกเขาพบเจอผู้ศรัทธา พวกเขาก็จะกล่าวว่า “เราศรัทธาแล้ว”

และเมื่อพวกเขาปลีกตัวไปอยู่กับเหล่าเพื่อนชัยฏอนของพวกเขา พวกเขาก็จะกล่าวว่า

 “พวกเรานี้อยู่กับพวกท่านน่ะ ที่จริงแล้วพวกเราเพียงแค่เป็นผู้หยอกล้อเล่น ๆ เท่านั้นเอง”

อัลลอฮฺจะทรงหยอกเล่นกับพวกเขา และจะทรงปล่อยพวกเขาให้ระเหเร่ร่อนในความชั่วสารเลวของพวกเขา

พวกเหล่านั้นคือพวกที่ซื้อความหลงผิดด้วยทางนำ ดังนั้น การค้าขายของพวกเขาจึงไม่มีกำไร และพวกเขาไม่เคยเป็นผู้ได้รับทางนำเลย

(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 14-16)

 

 

 

 

แปลโดย: สุกรี นูร จงรักสัตย์

Islam House