ความสัมพันธ์ระหว่างโลกอาหรับกับมลายู
  จำนวนคนเข้าชม  26279

ความสัมพันธ์ระหว่างโลกอาหรับกับมลายู

วัฒนธรรม ภาษา และวรรณกรรม

โลกอาหรับ

          โลกอาหรับ คือ โลกของชนชาติที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตอาหรับ รวม 22 ประเทศ มีพื้นที่รวม 13,972,121 ตารางกิโลเมตร และมีพลเมือง  338,621,469  ล้านคน

มีรายละเอียดดังนี้

ชื่อประเทศ

พลเมือง

พื้นที่

อียิปต์

80,335,036

1,001,450

อิรัก

27,499,638

437,072

ปาเลสไตน์

3,512,062

6,220

จอร์แดน

6,053,193

92,300

ซีเรีย

19,314,747

185,180

เลบานอน

3,952,502

10,400

ซาอุดิอาระเบีย

27,601,038

2,149,690

อิมาเรต

4,444,011

83,600

เยเมน

22,230,531

527,970

ลิเบีย

6,036,914

1,759,540

ซูดาน

39,379,358

2,505,810

ตูนีเซีย

10,276,158

163,610

คูเวต

2,505,559

17,820

แอลจีเรีย

33,333,216

2,381,740

บาห์เรน

708,573

665

กาตาร์

907,229

11,437

โอมาน

3,204,897

212,460

มอริเตเนีย

3,270,065

1,030,700

โซมาเลีย

9,118,773

637,657

จิบูตี

496,374

23,000

คอโมโรส

711,417

2,170

โมร็อกโค

31,478,000

446,550

          ชนชาติอาหรับเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม มีบางส่วนที่นับถือศาสนาคริสต์ เช่น อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และ อิรัก เป็นต้น

โลกมลายู

         คำว่า "มลายู" ในความหมายทีทางองค์การ UNESCO ซึ่งได้ทำการศึกษาในหัวข้อ Malay Cultural Studies Project  ในปี 1972 ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายของ มลายู ว่า คือ กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในแถบมลายู โปลีนีเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก จนถึงเกาะอิสเตอร์เหนือ หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า เกาะปัสกะห์(Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะไต้หวัน และฮาวาย ทางด้านเหนือ จนถึงหมู่เกาะอินโดนิเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้

          ศาสตราจารย์ วัง กง วู (Prof.Wang Gung Wu) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในบันทึกจีนโบราณ ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 13 ยังไม่มีการบันทึกถึงคำว่า มลายู ในฐานะชนชาติหนึ่ง มีการบันทึกเพียง มลายู ในสถานะที่เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา จะมีเพียงในศตวรรษที่ 18 ที่กล่าวถึง มลายู ในฐานะชนชาติหนึ่ง ส่วนในตะวันตกนั้นกล่าวว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 17 คำว่า มลายู มีการใช้ในความหมายที่กว้าง ครอบคลุมถึงชนชาติที่อยู่ในภูมิภาคมลายู (Nusantara) หรือดินแดนอุษาคเนย์ ชนชาวมลายูได้ทิ้งล่งรอยอารยธรรมไว้มากมาย อณาจักรโบราณของชนชาวมลายู เช่น  อณาจักรฟูนัน ซึ่ง Daniel eorge E.Hall ได้กล่าวว่า "ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู" (The Funanese were alay Race) และ Prof. Nguyen The Anh ชาวเวียดนามก็ได้กล่าวว่า "อณาจักรฟูนันใช้ภาษามลายู" นอกจากนั้นยังมีอณาจักรจามปาในเวียดนาม อณาจักรลังกาสุกะ อณาจักรมาจาปาหิต อณาจักรศรีวิชัย รวมทั้ง อณาจักรมะละกา ชนชาวมลายูนั้นถือว่าเป็นชนชาติใหญ่ ชนชาติหนึ่งในโลก ทางองค์กรที่ชื่อว่า Joshua Project ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสหรัฐ ตั้งอยู่ในรัฐโคโลราโด ได้สำรวจและปรากฏผลดังนี้

อินโด-ไอเรเนียน    137,509,326 คน 

ยิว                         17,593,084  คน  

ชนชาวมลายู         339,134,635  คน 

ชาวตรุกี                169,026,980  คน 

          จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึง   339,134,635   คน ปรากฏว่าชนชาวมลายูเหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงค์โปร, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของไทย, พม่า, เวียดนาม, เขมร, และ ลาว  พวเขายังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆและตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และสหรัฐ

ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม

         ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามามีบทบาทในแหลมมลายูในปลายศตวรรษที่ 13 นั้น ภูมิภาคแห่งนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ มาก่อน ปัจจุบันร่องรอยอิทธิพลของศาสนาเหล่านั้นยังพอมีให้เห็นอยู่มากมาย เช่น โบราณสถาน บ้านจาเล๊ะ จังหวัดปัตตานี หรือ วัฒนธรรมในงานแต่งงาน เช่น หมากพลูในการรับขบวนแห่ของเจ้าบ่าวสาว หรือการนั่งบนบรรลังก์ของคู่บ่าวสาว ข้าวเหนียวเหลือง ไก่ย่าง และพิธีกรรมอื่นๆอีกมากมาย 

         ผลจากการเข้ามาของศาสนาอิสลามนั้น ก่อให้เกิดต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมลายูในหลายๆด้าน เช่นการตั้งชื่อของชาวมุสลิม ส่วนใหญ่ใช้ชื่อภาษาอาหรับ อันเป็นชื่อของบรรดาศาสนฑูต ของพระเจ้า หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง การแต่งกายก็เช่นเดียวกัน ได้รับอิทธิพลมาจากอาหรับ เช่น ชุดโตป (ชุดยาว) สำหรับผู้ชาย และชุดญูบะฮ์ (ชุดยาว) สำหรับผู้หญิง

         สำหรับในด้านความเชื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงจากความเชื่อในสิ่งศักสิทธิ์ บูชาบรรพบุรุษและภูตผี ปีศาจ มาสู่การศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว และที่สำคัญประการหนึ่งของอิทธิพลศาสนาอิสลามต่อโลกมลายู คือ ภาษาอาหรับ อันเป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ทำให้ภาษามลายูได้หยิบยืมตัวอักษรอาหรับ และพัฒนาจนกลายเป็นตัวเขียนอักษรยาวี ซึ่งได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในแหลมมลายู ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกที่รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย จากบันทึกปี ค.ศ. 1303 โดยมีการสันนิษฐานว่า อักษรยาวีเจริญรุ่งเรืองมากในการปกครองอิสลามปาไซ(Islam Pasai) สมัยการปกครองของมะละกา การปกครองของยะโฮร์ และสมัยการปกครองของอาเจะห์ จนกระทั่งถึงสมัยศตวรรษที่ 17

ความสัมพันธ์ด้านภาษา

          ภาษาอาหรับมีอิทธิพลมากในโลกมลายู อันเนื่องมาจาอิทธิพลทางศาสนาดังที่กล่าวมาข้างต้น หลักฐานที่ชัดเจนคือ

          1) อักษรยาวี ภาษามลายูมีตัวภาษา หรือเนื้อภาษาเท่านั้น ไม่มีตัวเขียนเป็นของตัวเอง จึงต้องอาศัยตัวเขียนของภาษาอื่น ในปัจจุบันจึงพบว่ามีตัวเขียน หรือลักษณะอักษรอยู่ สองชนิด คือ ลักษณะที่หนึ่งใช้อักษรโรมัน เรียกว่าการเขียนแบบรูมี (Rumi)  ลักษณะที่สอง ใช้อักษรอาหรับเรียกว่าการเขียนแบบยาวี จากการนำอักษรทั้งสองชิดมาเขียนจึงทำให้มีการเรียกว่า ภาษารูมี และ ภาษายาวี ซึ่งแท้จริงแล้วมิได้เป็นชื่อของภาษา แต่เป็นการเรียกตามชนิดของการเขียนเท่านั้น ส่วนตัวภาษานั้นยังคงเป็นภาษามลายูเหมือนเดิม

          2) คำยืมจากภาษาอาหรับ มีอย่างกว้างขวาง ทั้งศัพท์ด้านศาสนา และศัพท์ทางวิชาการ เช่น มัสยิด (สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา) อัรนับ (กระต่าย) กีตาบ (หนังสือ) ฯลฯ

          3) ชาวมลายูส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ แต่สามารถอ่านภาษาอาหรับที่เป็นภาษาคัมภีร์อัลกุรอาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับศาสนาได้

ความสัมพันธ์ด้านวรรณกรรม

         คำว่าวรรณกรรม หรือ วรรณคดี เป็นคำที่มีความหมายเดียวกันในภาษาอาหรับ และมลายู ในภาษาอาหรับเรียกคำนี้ว่า (Adab) ส่วนในภาษามลายู เรียกคำนี้ว่า(Sastera) อ่านว่า "ซัสเตอรา" เพราะฉะนั้น คำว่าวรรณกรรมมลายู หรือ วรรณคดีมลายู ในภาษามลายูจึงเรียกว่า Sastera Meayu

         วรรณคดีขนบประเพณีของมลายู(Malay Traditional Literature) ว่ากันโดยโครงสร้าง (structure) แบ่งได้ 2 ประเภท คือ ประเภทร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง คำว่า ร้อยกรอง ตรงกับภาษามลายูว่า (prosa) โปรสา ส่วนร้อยแก้วตรงกับภาษามลายูว่า (puisi) ปูวีสี

ปอเนาะ / Pondok

ปอเนาะไพเราะยิ่งมิ่งสถาน          หนุ่มสาวขานหมายซึ้งถึงหน้าที่

คลังความรู้อู่วิชาหาทวี                เสบียงนี้วันหน้าค่าอำพัน

มรดก ปอเนาะ เทดลิศประจักษ์     ที่เรียนหลักศาสนาสถาผล

ทุกวันสอนสรรพวิชาค่าถกล          เยาวชนโรงเรียนราษฏร์ศาสน์อิสลาม

Indah sunggunh namanya diberi     Tempat tumpuan muda mudi

Gedung tersimpan Ilmu yang suci     Belakan hidup dikemudian hari

Namanya Pondok warisan tua           Tempat mengisi ajaran mulia

Namanya kini sekolah agama             Mendidik belia untuk akhirat dan dunia

(ประพันธ์โดย รศ.ประพนธ์  เรืองณรงค์ และ เอ การีมีย์ ฮัซซัน จาหนังสือ ภาพพจน์ปัตตานี สร้อยวลีสามภาษา)


อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/

http://nikrakib12.blogspot.com/

www.wikipedia.org/wiki/bahasa_melayu

http://researchera.in.th/blog/kamaruddin/945

ที่มา : เอกสารประกอบการบรรยาย

ภาควิชาภาษาอาหรับ   มหาวิทยาลัยรามคำแหง