มารยาทในการขออนุญาตเข้าบ้าน
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
มารยาทในการเข้าบ้าน1.อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า :
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! สูเจ้าจงอย่าเข้าไปในบ้านใด ๆ ที่ไม่ใช่บ้านของสูเจ้าจนกว่าจะขออนุญาตและให้สลามแก่เจ้าของบ้านเสียก่อน
การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการดีสำหรับสูเจ้าเพื่อว่าสูเจ้าจะใคร่ครวญ
(อัลนูร : 27)
2.อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวว่า :
ครั้น เมื่อสูเจ้าจะเข้าไปในบ้านใด ๆ ก็จงกล่าวสลามให้แก่ตัวเองซึ่งเป็นการให้เกียรติอันจำเริญดียิ่งจากอัลลอฮฺ
เช่นนั้นแหล่ะที่อัลลอฮฺทรงชี้แจงโองการต่าง ๆ แก่สูเจ้าเผื่อว่าสูเจ้าจะได้ใช้สติปัญญาพิจารณา
(อัลนูร : 61)
วิธีขออนุญาต1.มีรายงานจากอบีมูซา อัลอัชอะรีย์ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :
عن أَبِي مُوسَى الأشعري قال : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - « إِذَا اسْتَأْذَنَ أَحَدُكُمْ ثَلاَثًا فَلَمْ يُؤْذَنْ لَهُ ، فَلْيَرْجِعْ » .
“เมื่อพวกท่านคนใดได้ขออนุญาตถึงสามครั้งแต่เขาไม่ได้รับอนุญาตก็ขอให้เขาจงกลับไปเสีย”(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6245 และมุสลิม หมายเลข 2154)
2.จากรุบอีย์ เล่าว่า:
عَنْ رِبْعِىٍّ قَالَ حَدَّثَنَا رَجُلٌ مِنْ بَنِى عَامِرٍ أَنَّهُ اسْتَأْذَنَ عَلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- وَهُوَ فِى بَيْتٍ فَقَالَ أَلِجُ فَقَالَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- لِخَادِمِهِ « اخْرُجْ إِلَى هَذَا فَعَلِّمْهُ الاِسْتِئْذَانَ فَقُلْ لَهُ قُلِ السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ أَأَدْخُلُ ». فَسَمِعَهُ الرَّجُلُ فَقَالَ السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ أَأَدْخُلُ فَأَذِنَ لَهُ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- فَدَخَلَ.
มีชายจากตระกูลอามิรคนหนึ่งเล่าให้เราฟังว่า เขาได้ขออนุญาตเข้าหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ซึ่งท่านกำลังอยู่ในบ้านโดยเขากล่าวว่า “ฉันจะเข้าได้ไหม ?”ท่านนบี เลยบอกกับคนใช้ของท่านว่า “จงออกไปหาคนนี่ซิแล้วสอนเขาถึงวิธีการขออนุญาตโดยบอกเขาว่า
“ท่านจงกล่าวว่า อัสสะลามุอะลัยกุม ฉันจะเข้าได้ไหม ? “
แล้วชายผู้นั้นก็ได้ยินเสียงนั้น เขาเลยกล่าวว่า “อัสสะลามุอะลัยกุม ฉันจะเข้าได้ไหม ?” ท่านนบี จึงได้อนุญาต แล้วเขาก็เข้าไป
(เศาะฮีห บันทึกโดยอัหมัด หมายเลข 23515 และบันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 5177 เศาะฮีหสุนันอบูดาวูด หมายเลข 4312)
คนที่จะขออนุญาตต้องยืนตรงไหน ?
จากอับดุลลอฮฺ บินบุสรฺ เล่าว่า :
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ بُسْرٍ قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- إِذَا أَتَى بَابَ قَوْمٍ لَمْ يَسْتَقْبِلِ الْبَابَ مِنْ تِلْقَاءِ وَجْهِهِ وَلَكِنْ مِنْ رُكْنِهِ الأَيْمَنِ أَوِ الأَيْسَرِ وَيَقُولُ « السَّلاَمُ عَلَيْكُمُ السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ ».
ความว่า : ท่านนบี นั้น เมื่อมาถึงประตูของชนใดท่านจะไม่หันหน้าไปทางประตูอย่างตรงหน้า แต่จากมุมขวาหรือมุมซ้ายและกล่าวว่า“อัสสะลามุอะลัยกุม อัสสะลามุอะลัยกุม”
(เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะหมัด หมายเลข 17844 และบันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 5186 เศาะฮีหสุนันอบูดาวูด หมายเลข 4318)
การขออนุญาตของทาส คนใช้ และเด็กๆ
อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวว่า :
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! จงให้บรรดาผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง¹ และบรรดาผู้ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะในหมู่พวกเจ้าขออนุญาตพวกเจ้าสามเวลา
¹(คือบรรดาทาสและทาสีขออนุญาตเมื่อเวลาจะเข้าห้องส่วนตัว ซึ่งคนใช้ก็อยู่ในกรณีเดียวกัน –ผู้แปล)
คือ ก่อนเวลาละหมาดฟัจญริ เวลาพวกเจ้าเปลื้องเสื้อผ้าในเวลากลางวัน และหลังจากเวลาละหมาดอิชาอ์สามเวลาส่วนตัวนี้สงวนสำหรับพวกเจ้า
โดยหลังจากนี้แล้วไม่เป็นที่น่าตำหนิแก่พวกเจ้าและพวกเขาเพราะพวกเขาต่างวนเวียนรับใช้บางคนในหมู่พวกเจ้า
เช่นนั้นแหล่ะที่อัลลอฮฺทรงชี้แจงโองการทั้งหลายให้ชัดแจ้งแก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ
(อัลนูร : 58)
ไม่กระซิบกันยกเว้นเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ร่วมงาน
มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินมัสอูด ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بن مسعود قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « إِذَا كُنْتُمْ ثَلاَثَةً فَلاَ يَتَنَاجَى اثْنَانِ دُونَ صَاحِبِهِمَا فَإِنَّ ذَلِكَ يُحْزِنُهُ ».
“เมื่อพวกท่านอยู่ร่วมกันสามคนก็จงอย่ากระซิบระหว่างสองคนโดยละเลยเพื่อนอีกคนของทั้งสอง
เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นจะทำให้เขาเสียใจ”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6290 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2184)
ไม่ถ้ำมองในบ้านของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตมีรายงานจากอบีฮุรัยเราะฮฺ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :
عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ « لَوْ أَنَّ رَجُلاً اطَّلَعَ عَلَيْكَ بِغَيْرِ إِذْنٍ فَخَذَفْتَهُ بِحَصَاةٍ فَفَقَأْتَ عَيْنَهُ مَا كَانَ عَلَيْكَ مِنْ جُنَاحٍ ».
“หากมีชายผู้หนึ่งชะโงกมองท่านโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วท่านก็เอากรวดหินขว้างเข้าใส่เขาจนตาของเขาแตกและทะลักออกมา ท่านก็ไม่มีความผิดแต่ประการใด”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6888 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2158)
ที่มา : หนังสือ มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
แปลโดย: สุกรี นูร จงรักสัตย์ / Islam House