มารยาทในการให้สลาม
  จำนวนคนเข้าชม  107824

จรรยามารยาท

          จรรยามารยาท หมายถึง การนำสิ่งที่น่ายกย่องสรรเสริญมาปฏิบัติ ทั้งในด้านวาจา การกระทำ และมารยาทที่ดีงาม

          อิสลามเป็นศาสนาที่สมบูรณ์  จัดระบอบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกสภาวการณ์  กำชับให้ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และห้ามปรามจากสิ่งที่เกิดโทษ และได้กำหนดมารยาทต่างๆ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  มารยาทยามรับประทานอาหารและดื่ม มารยาทยามนอนและตื่น มารยาทยามอยู่ในพื้นที่และเดินทาง และมารยาทในทุกอิริยาบทของชีวิตประจำวัน

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

ความว่า “และสิ่งใดที่รอซูลได้นำมายังพวกเจ้า พวกเจ้าก็จงยึดมั่นเอาไว้ และสิ่งใดที่ท่านห้ามปรามไม่ให้พวกเจ้ากระทำ พวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย และพวกเจ้าจงเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริง อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเข้มงวดในการลงโทษ” (อัล-หัชร์ : 7)


ในบรรดามารยาทที่ได้มีระบุในอัลกุรอานและในหะดีษที่เศาะฮีหฺ มีดังต่อไปนี้ :


 มารยาทการให้สลาม

ความประเสริฐของการให้สลาม

1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم : أَىُّ الإِسْلاَمِ خَيْرٌ؟، قَالَ: «تُطْعِمُ الطَّعَامَ، وَتَقْرَأُ السَّلاَمَ عَلَى مَنْ عَرَفْتَ وَمَنْ لَمْ تَعْرِفْ» 

 ความว่า มีชายผู้หนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า (บทบัญญัติของ)อิสลามข้อไหนดีที่สุด? ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า “คือการที่ท่านให้อาหารแก่ผู้อื่น และการที่ท่านให้สลามแก่ผู้ที่ท่านรู้จักและผู้ที่ท่านไม่รู้จัก” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 12 สำนวนรายงานเป็นของท่าน, มุสลิม : 39)

2. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم: «وَالَّذي نَفْسي بِيَدِهِ لاَ تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا، وَلاَ تُؤْمِنُوا حَتَّى تَحَابُّوا، أَوَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى شَىْءٍ إِذَا فَعَلْتُمُوهُ تَحَابَبْتُمْ؛ أَفْشُوا السَّلاَمَ بَيْنَكُمْ» .

ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ขอสาบานกับผู้ที่ชีวิตฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า พวกท่านจะไม่เข้าสวรรค์จนกว่าพวกท่านจะศรัทธา และพวกท่านจะไม่ศรัทธาจนกว่าพวกท่านจะรักใคร่ปรองดองกัน พวกท่านจะเอาไหม ฉันจะบอกวิธีหนึ่งที่เมื่อพวกท่านปฏิบัติแล้ว พวกท่านก็จะรักใคร่ซึ่งกันและกัน ? จงแพร่สลามในหมู่พวกท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม : 54)

3. จากอับดุลลอฮฺ บิน สลาม เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَقُوْلُ :  ـ وفيه ـ «أَيُّهَا النَّاسُ! أَفْشُوا السَّلاَمَ، وَأَطْعِمُوا الطَّعَامَ، وَصَلُّوا وَالنَّاسُ نِيَامٌ؛ تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ بِسَلاَمٍ».
 
ความว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “โอ้ มนุษย์เอ๋ย ! พวกท่านจงแพร่สลาม จงเลี้ยงอาหาร และทำละหมาดในยามที่คนอื่นต่างหลับไหล แล้วท่านจะได้เข้าสรวงสวรรค์ด้วยความสันติราบรื่น” (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ : 2485 สำนวนนี้เป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2019, อิบนุ มาญะฮฺ : 1334 ดูเศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 1097)


วิธีการให้สลาม

1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

ความว่า “และเมื่อพวกเจ้าได้รับการอวยพรด้วยคำอวยพรหนึ่ง พวกเจ้าก็จงกล่าวตอบ (แก่ผู้ที่อวยพร)ด้วยคำอวยพรที่ดีกว่านั้น หรือด้วยคำเช่นเดียวกัน แท้จริง อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงคำนวณนับในทุกสิ่ง” (อัน-นิสาอ์ : 86)

2. จากอิมรอน บิน หุศ็อยน์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ. فَرَدَّ عَلَيْهِ السَّلاَمَ، ثُمَّ جَلَسَ. فَقَالَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم: «عَشْرٌ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «عِشْرُونَ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «ثَلاَثُونَ».

ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “อัสสลามมุอะลัยกุม” ท่านจึงตอบสลาม แล้วเขาก็นั่งลง แล้วท่านนบีก็บอกว่า “ได้สิบ” ต่อมามีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ” ท่านจึงตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้ยี่สิบ” ต่อมาก็มีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “ อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านก็ตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้สามสิบ” (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5195 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4327, อัต-ติรมิซีย์ : 2689 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2163)


ความประเสริฐของผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน

1. มีรายงานจากอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«لاَ يَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يَهْجُرَ أَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثِ لَيَالٍ يَلْتَقِيَانِ فَيُعْرِضُ هَذَا وَيُعْرِضُ هَذَا، وَخَيْرُهُمَا الَّذِى يَبْدَأُ بِالسَّلاَمِ».

ความว่า “ไม่อนุมัติให้มุสลิมตัดสัมพันธ์กับพี่น้องของเขาเกินกว่าสามคืน ซึ่งสองคนนั้นเจอกันแล้วต่างคนต่างหนีหน้า และผู้ที่ประเสริฐกว่าในสองคนนั้นคือผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6077, มุสลิม : 2560 สำนวนนี้เป็นของท่าน)

2. จากอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«إِنَّ أَوْلَى النَّاسِ بِاللَّهِ مَنْ بَدَأَهُمْ بِالسَّلاَمِ».

 ความว่า “แท้จริงผู้มีความพิเศษกับอัลลอฮฺมากที่สุด คือ คนที่เริ่มให้สลามก่อนคนอื่น” (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5197 สำนวนเป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4338, อัต-ติรมิซีย์ : 2694 ดูเศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2167)


ผู้ที่สมควรเริ่มให้สลามก่อน

1. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يُسَلِّمُ الصَّغِيرُ عَلَى الْكَبِيرِ، وَالْمَارُّ عَلَى الْقَاعِدِ، وَالْقَلِيلُ عَلَى الْكَثِيرِ».

 ความว่า “เด็กควรให้สลามแก่ผู้ใหญ่ คนเดินผ่าน(ควรให้สลาม)แก่คนที่นั่งอยู่ และกลุ่มคนที่น้อยกว่า (ควรให้สลาม)แก่กลุ่มคนที่มากกว่า” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6231, มุสลิม : 2160)

2. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يُسَلِّمُ الرَّاكِبُ عَلَى الْمَاشِى، وَالْمَاشِى عَلَى الْقَاعِدِ، وَالْقَلِيلُ عَلَى الْكَثِيرِ».

ความว่า “ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะควรให้สลามแก่ผู้ที่เดิน ผู้ที่เดิน(ควรให้สลาม)แก่ผู้ที่นั่ง และกลุ่มคนที่น้อยกว่า(ควรให้สลาม)แก่กลุ่มคนที่มากกว่า” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6232, มุสลิม : 2160)


การให้สลามแก่สตรีและเด็ก

1. จากอัสมาอ์ บินตุ ยะซีด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า :

مَرَّ عَلَيْنَا النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم فِى نِسْوَةٍ فَسَلَّمَ عَلَيْنَا.

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ผ่านหน้าพวกเราในหมู่สตรีกลุ่มหนึ่ง แล้วท่านก็ให้สลามแก่พวกเรา (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5204 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4336, อิบนุ มาญะฮฺ : 3701 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 2986)

2. มีรายงานจากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :

أَنَّهُ مَرَّ عَلَى صِبْيَانٍ فَسَلَّمَ عَلَيْهِمْ، وَقَالَ: كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - يَفْعَلُهُ

ความว่า ท่าน(อะนัส)ได้ผ่านพวกเด็กๆ กลุ่มหนึ่ง แล้วท่านก็ให้สลามแก่พวกเขา และกล่าวว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยทำอย่างนี้” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6247 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 2168)


การให้สลามของสตรีแก่บุรุษเมื่อปลอดจากฟิตนะฮฺ

จากอุมมุฮานิ บินตุ อบี ฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า :

ذَهَبْتُ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم عَامَ الْفَتْحِ، فَوَجَدْتُهُ يَغْتَسِلُ، وَفَاطِمَةُ ابْنَتُهُ تَسْتُرُهُ، فَسَلَّمْتُ عَلَيْهِ، فَقَالَ «مَنْ هَذِهِ»؟. فَقُلْتُ : أَنَا أُمُّ هَانِئٍ بِنْتُ أَبِى طَالِبٍ. فَقَالَ: «مَرْحَبًا بِأُمِّ هَانِئٍ». 

ความว่า ฉันได้ไปหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในปีอัล-ฟัตหฺ(ปีแห่งการเปิดเมืองมักกะฮฺ) ซึ่งฉันพบว่าท่านกำลังอาบน้ำอยู่ โดยมีฟาฏิมะฮฺ บุตรสาวของท่านกำลังกั้นฉากให้ท่าน ฉันเลยให้สลามแก่ท่าน และท่านถามว่า “ใครกันนี่ ?” ฉันตอบว่า “ฉันคืออุมมุ ฮานิอ์ บินตุ อบีฏอลิบ” ท่านจึงกล่าวว่า “ยินดีต้อนรับ อุมมุ ฮานิอ์” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6158 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 336)


การให้สลามขณะเข้าบ้าน

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

ความว่า “ดังนั้น เมื่อพวกเจ้าจะเข้าในบ้านหลังใดก็ตาม พวกเจ้าก็จงให้สลามแก่พวกท่านเอง(หมายถึงให้สลามแก่ผู้อยู่ในบ้านที่เป็นมุสลิม ซึ่งเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกันกับท่าน) เพื่อเป็นการอวยพรอันจำเริญพูนสุขจากอัลลอฮฺ”  (อัน-นูร : 61) 
 

ไม่ให้สลามแก่ชาวซิมมีย์(ผู้ไม่ใช่มุสลิมที่อยู่ในชุมชนมุสลิม)

1. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«لاَ تَبْدَءُوا الْيَهُودَ وَلاَ النَّصَارَى بِالسَّلاَمِ...»

ความว่า “พวกท่านจงอย่าเริ่มให้สลามแก่ชาวยะฮูดและนัศรอนีย์ก่อน ...” (มุสลิม : 2167)

2. อะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«إِذَا سَلَّمَ عَلَيْكُمْ أَهْلُ الْكِتَابِ فَقُولُوا وَعَلَيْكُمْ»

ความว่า “เมื่อชาวคัมภีร์ให้สลามแก่พวกท่าน ก็จงตอบว่า “วะอะลัยกุม”” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6258, มุสลิม : 2163)


ผู้ใดผ่านกลุ่มคนที่มีทั้งมุสลิมและกาเฟรก็จงให้สลามโดยมุ่งเจตนาต่อคนมุสลิม

มีรายงานจากอุสามะฮฺ บิน ซัยด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า :

أَنَّ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم عادَ سَعْدَ بْنَ عُبَادَةَ ... وفيه : حَتَّى مَرَّ بِمَجْلِسٍ فِيهِ أَخْلاَطٌ مِنَ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُشْرِكِينَ عَبَدَةِ الأَوْثَانِ وَالْيَهُودِ ... فَسَلَّمَ عَلَيْهِمُ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم ثُمَّ وَقَفَ فَنَزَلَ فَدَعَاهُمْ إِلَى اللَّهِ وَقَرَأَ عَلَيْهِمُ الْقُرْآنَ. 

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ไปเยี่ยมสะอัด บิน อุบาดะฮฺ  (ในระหว่างทาง) ท่านได้ผ่านกลุ่มคนที่ปะปนกันซึ่งมีทั้งคนมุสลิม คนมุชริกผู้กราบไหว้รูบปั้น และคนยะฮูด... ท่านจึงให้สลามแก่พวกเขา แล้วท่านก็หยุดลงพัก ซึ่งท่านได้เรียกร้องพวกเขาสู่อัลลอฮฺ และอ่านอัลกุรอานให้พวกเขาฟัง (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 5663, มุสลิม : 1798 สำนวนเป็นของท่าน)


การให้สลามในตอนเข้า-ออก

1. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم : «إِذَا انْتَهَى أَحَدُكُمْ إِلَى الْمَجْلِسِ فَلْيُسَلِّمْ، فَإِذَا أَرَادَ أَنْ يَقُومَ فَلْيُسَلِّمْ، فَلَيْسَتِ الأُولَى بِأَحَقَّ مِنَ الآخِرَةِ».

ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “เมื่อผู้ใดไปถึงยังที่ชุมนุม ก็จงให้สลาม และเมื่อต้องการจะปลีกตัวออกมาก็จงให้สลามเช่นกัน เพราะไม่ใช่ว่าการให้สลามครั้งแรกนั้นจะมีความพิเศษ(ควรกระทำ)มากกว่าการให้สลามครั้งหลัง” (หะดีษมีสายรายงานที่ดี บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5208 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4340, อัต-ติรมิซีย์ : 2706 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2177, อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 183)


ไม่ต้องโค้งตัวเมื่อพบกัน

จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

قَالَ رَجُلٌ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، الرَّجُلُ مِنَّا يَلْقَى أَخَاهُ أَوْ صَدِيقَهُ أَيَنْحَنِى لَهُ؟، قَالَ: «لاَ». قَالَ: أَفَيَلْتَزِمُهُ وَيُقَبِّلُهُ؟، قَالَ: «لاَ». قَالَ: أَفَيَأْخُذُ بِيَدِهِ وَيُصَافِحُهُ؟، قَالَ: «نَعَمْ». 

ความว่า ชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! คนหนึ่งในหมู่พวกเราที่เจอกับพี่น้องเขา หรือเพื่อนของเขา เขาต้องโค้งตัวให้เขาด้วยหรือไม่ ?” ท่านตอบว่า ”ไม่ต้อง” เขาถามต่อว่า “แล้วเขาต้องโอบกอดและจุมพิตด้วยหรือไม่ ?” ท่านตอบว่า “ไม่ต้อง” เขาถามต่อว่า “แล้วเขาต้องจับมือเขาหรือ ?” ท่านจึงตอบว่า “ใช่แล้ว” (เป็นหะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ : 2728 สำนวนนี้เป็ฯของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2195, อิบนุ มาญะฮฺ : 3702 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 2987)


คุณค่าของการจับมือกัน

จากอัล-บัรรออ์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«مَا مِنْ مُسْلِمَيْنِ يَلْتَقِيَانِ فَيَتَصَافَحَانِ إِلاَّ غُفِرَ لَهُمَا قَبْلَ أَنْ يَفْتَرِقَا».

ความว่า “ไม่มีมุสลิมสองคนใดที่เจอกัน แล้วต่างยื่นมือจับระหว่างกัน นอกจากทั้งสองนั้นจะได้รับการอภัยโทษก่อนที่จะพรากจากกัน” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5212 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4343, อัต-ติรมิซีย์ : 2727 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2197)


การจับมือพร้อมกับการโอบกอดให้กระทำกันเมื่อใด ?

ท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า :

كَانَ أصْحابُ النَّبِيِّ  إِذَا تَلاَقُوا تَصَافَحُوْا وَإِذَا قَدِمُوْا مِنْ سَفَرٍ تَعانَقُوا.

ความว่า เหล่าสหายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อพวกเขาเจอกัน พวกเขาก็จะจับมือกัน และเมื่อพวกเขากลับจากการเดินทางไกล พวกเขาก็จะโอบกอดกัน (เป็นสายรายงานที่ดี บันทึกโดย อัต-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-เอาส็อฏ : 97, ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2647)


ลักษณะการตอบสลามแก่ผู้ที่ไม่อยู่ต่อหน้า

1. ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับเธอว่า :

«يَا عَائِشَةُ، هَذَا جِبْرِيلُ يَقْرَأُ عَلَيْكِ السَّلاَمَ» . فَقَالَتْ : وَعَلَيْهِ السَّلاَمُ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ . تَرَى مَا لاَ أَرَى. 

ความว่า  “โอ้ อาอิชะฮฺ ! มลาอิกะฮฺญิบรีลนี่ได้ให้สลามแก่เธอ” เธอจึงตอบว่า “วะอะลัยฮิสสะลาม วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านมองเห็นในสิ่งที่ฉันมองไม่เห็น (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 3217 สำนวนนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 2447)

2. ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า :

إِنَّ أَبِى يُقْرِئُكَ السَّلاَمَ. فَقَالَ: «عَلَيْكَ وَعَلَى أَبِيكَ السَّلاَمُ»

ความว่า “พ่อของฉันฝากสลามแก่ท่านด้วย” แล้วท่านก็ตอบว่า “อะลัยกะ วะอะลา อบีกัส สะลาม (ขอความสันติประสบแด่ท่านและพ่อของท่าน)” (หะดีษ หะสัน, บันทึกโดย อะห์มัด : 23492, อบู ดาวูด : 5231 สำนวนนี้เป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4358) 


หะดีษเกี่ยวกับการยืนต้อนรับผู้มาเยือนเพื่อช่วยเหลือเขา หรือเพื่อให้เกียรติแก่เขา

1. มีรายงานจากอบู สะอีด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :

أَنَّ أَهْلَ قُرَيْظَةَ نَزَلُوا عَلَى حُكْمِ سَعْدٍ بنِ مُعَاذٍ، فَأَرْسَلَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم  إِلَيْهِ، فَجَاءَ فَقَالَ: «قُومُوا إِلَى سَيِّدِكُمْ أَوْ قَالَ خَيْرِكُمْ». 

ความว่า ชาวเผ่ากุร็อยเซาะฮฺได้ตกลงจะยอมรับการติดสินคดีของสะอัด บิน มุอาซ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงส่งคนไปเชิญให้สะอัดมาพบ เมื่อสะอัดมาถึงท่านนบีก็กล่าวว่า “พวกท่านจงลุกขึ้นไปหาหัวหน้าของพวกท่าน – หรือท่านได้กล่าวว่า - คนที่ดีที่สุดของพวกท่าน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6262 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 1768)

وَفِي لَفْظٍ : «قُوْمُوا إِلَى سَيِّدِكُمْ فَأَنْزِلُوهُ».

และในสำนวนอื่นรายงานว่า “พวกท่านจงลุกขึ้นไปยังหัวหน้าของพวกท่านแล้วพยุงเขาลงมา” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอะห์มัด : 25610 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 67)

2. อาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้กล่าวว่า :

مَا رَأَيْتُ أَحَدًا كَانَ أَشْبَهَ سَمْتًا وَهَدْيًا وَدَلاًّ  بِرَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مِنْ فَاطِمَةَ كَرَّمَ اللَّهُ وَجْهَهَا، كَانَتْ إِذَا دَخَلَتْ عَلَيْهِ قَامَ إِلَيْهَا فَأَخَذَ بِيَدِهَا وَقَبَّلَهَا وَأَجْلَسَهَا فِى مَجْلِسِهِ، وَكَانَ إِذَا دَخَلَ عَلَيْهَا قَامَتْ إِلَيْهِ فَأَخَذَتْ بِيَدِهِ فَقَبَّلَتْهُ وَأَجْلَسَتْهُ فِى مَجْلِسِهَا.

ความว่า ฉันไม่เคยเห็นใครที่ละม้ายคล้ายคลึงกับท่านรอซูลุลลอฮฺในด้านบุคลิกความเป็นผู้ดี การดำเนินชีวิต และท่าทางมากไปกว่าฟาฏิมะฮฺ – ขออัลลอฮฺทรงให้เกียรติเธอ - ซึ่งเมื่อเธอเข้าหาท่าน ท่านจะลุกขึ้นไปต้อนรับเธอ แล้วจูงมือและจุมพิตเธอ แล้วให้เธอนั่งลงบนที่นั่งของท่าน และเมื่อท่านเข้าหาเธอ เธอก็จะลุกขึ้นไปต้อนรับท่าน แล้วจูงมือแล้วจุมพิตท่าน และพาท่านนั่งลงบนที่นั่งของเธอ (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5217 สำนวนนี้เป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4347, อัต-ติรมิซีย์ : 3872 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 3039)


ไม่บังควรที่จะยืนเพื่อทำความเคารพต่อผู้หนึ่ง

1. ท่านมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานว่าท่านได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  กล่าวว่า :

«مَنْ سَرَّهُ أَنْ يَتَمَثَّلَ لَهُ الرِّجَالُ قِيَامًا فَلْيَتَبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ».  .

ความว่า  “ผู้ใดที่ชื่นชอบให้คนอื่นๆ ยืนขึ้นเพื่อให้ทำความเคารพเขา เขาจงเตรียมที่พำนักของเขาได้ในนรก” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5229 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4357, อัต-ติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ : 2755 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2212)


การให้สลามสามครั้งเมื่อไม่มีคนได้ยิน

ท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :

أَنَّهُ كَانَ إِذَا تَكَلَّمَ بِكَلِمَةٍ أَعَادَهَا ثَلاَثًا حَتَّى تُفْهَمَ عَنْهُ، وَإِذَا أَتَى عَلَى قَوْمٍ فَسَلَّمَ عَلَيْهِمْ سَلَّمَ عَلَيْهِمْ ثَلاَثًا 

ความว่า ท่าน(นบี)นั้น เมื่อพูดคำใด ท่านจะทวนซ้ำสามครั้งจนคนเข้าใจ และเมื่อท่านมาหาคนกลุ่มใด ท่านก็จะให้สลามแก่พวกเขา ท่านจะให้สลามแก่พวกเขาสามครั้ง (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 95)


การให้สลามแก่กลุ่มคน

จากอะลี บิน อบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يُجْزِئُ عَنِ الْجَمَاعَةِ إِذَا مَرُّوا أَنْ يُسَلِّمَ أَحَدُهُمْ، وَيُجْزِئُ عَنِ الْجُلُوسِ أَنْ يَرُدَّ أَحَدُهُمْ».

ความว่า “เพียงพอสำหรับชนกลุ่มหนึ่งเมื่อพวกเขาผ่าน(กลุ่มคนอื่นๆ)ด้วยการให้สลามของคนคนเดียวในหมู่พวกเขา และเพียงพอสำหรับชนกลุ่มหนึ่งที่นั่งอยู่ด้วยการตอบสลามเพียงคนเดียวในหมู่พวกเขา” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5210 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4342 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 1412 และ ดู อัล-อิรวาอ์ : 778)


ไม่กล่าวหรือตอบสลามในขณะกำลังถ่ายทุกข์

1. อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้รายงานว่า :

أَنَّ رَجُلاً مَرَّ وَرَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَبُولُ فَسَلَّمَ فَلَمْ يَرُدَّ عَلَيْهِ.

ความว่า มีชายคนหนึ่งได้ผ่านมาขณะที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กำลังถ่ายปัสสาวะอยู่ แล้วเขาก็ให้สลาม แต่ท่านไม่ได้ตอบสลามแก่เขา (บันทึกโดยมุสลิม : 370)

2. จากอัล-มุฮาญิร บิน กุนฟุซ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ได้รายงานว่า :

أَنَّهُ أَتَى النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم وَهُوَ يَبُولُ فَسَلَّمَ عَلَيْهِ فَلَمْ يَرُدَّ عَلَيْهِ حَتَّى تَوَضَّأَ ثُمَّ اعْتَذَرَ إِلَيْهِ فَقَالَ «إِنِّى كَرِهْتُ أَنْ أَذْكُرَ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلاَّ عَلَى طُهْرٍ». 

ความว่า ท่านได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ขณะที่ท่านกำลังถ่ายปัสสาวะอยู่ ท่านได้ให้สลามแก่ท่าน แต่ท่านไม่กล่าวตอบจนกระทั่งได้ทำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด)เสร็จ แล้วท่านก็ขอโทษโดยกล่าวว่า “ฉันไม่อยากที่จะเอ่ยนามของอัลลอฮฺที่สูงส่งนอกจากในสภาพที่สะอาด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูดตามสำนวนนี้ : 17 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 13, อัน-นะสาอีย์ : 38 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 37)

 

          ส่งเสริม (อิสติห์บาบ) ให้สร้างความคุ้นเคยกับผู้มาเยือนและสอบถามเกี่ยวกับตัวตนของคนแปลกหน้าเพื่อที่จะได้รู้จักและให้การต้อนรับได้ถูกต้องตามสถานะของเขา

จากอบู ญัมเราะฮฺ กล่าวว่า :

كُنْتُ أُتَرْجِمُ بَيْنَ ابْنِ عَبَّاسٍ وَبَيْنَ النَّاسِ، فَقَالَ : إِنَّ وَفْدَ عَبْدِ الْقَيْسِ أَتَوْا النَّبِىَّ  صلى الله عليه وسلم  فَقَالَ: «مَنِ الْوَفْدُ - أَوْ مَنِ الْقَوْمُ». قَالُوا: رَبِيعَةُ. فَقَالَ: «مَرْحَبًا بِالْقَوْمِ - أَوْ بِالْوَفْدِ - غَيْرَ خَزَايَا وَلاَ نَدَامَى».

ความว่า ฉันเคยเป็นล่ามระหว่างอิบนุอับบาสกับคนอื่นๆ โดยท่านเล่าว่า เคยมีคณะของอับดุลก็อยส์มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านจึงถามว่า “คณะนี้เป็นใครกัน หรือพวกเขาเป็นใคร?” พวกเขาตอบว่า คือ “(เผ่า)เราะบีอะฮฺ” ท่านจึงกล่าวว่า “ยินดีต้อนรับชนเผ่า(เหล่าคณะ) โดยไม่ต้องเขินอาย(เกรงใจ)และเสียดาย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 87 ตามสำนวนนี้, มุสลิม : 17)


          อิสติห์บาบ คือ ระดับหนึ่งของมาตรการกวดขันให้กระทำ หมายถึงการสนับสนุนหรือการเร่งเร้าให้กระทำ แต่ไม่ถึงขั้นบังคับ โดยผู้ที่กระทำจะได้ผลบุญที่ล้ำเลิศในขณะที่ผู้ที่ไม่กระทำจะไม่ได้รับบาปแต่อย่างใด(ผู้แปล)

ไม่ส่งเสริมให้เริ่มสลามด้วยคำว่า “อะลัยกัสสลาม”

1.จากญาบิร บิน สุลัยม์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

أَتَيْتُ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم فَقُلْتُ: عَلَيْكَ السَّلاَمُ. فَقَالَ: «لاَ تَقُلْ عَلَيْكَ السَّلاَمُ، وَلَكِنْ قُلِ السَّلاَمُ عَلَيْكَ».

ความว่า ฉันได้ไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วฉันก็กล่าวว่า “อะลัยกัสสลาม” ท่านจึงตอบว่า “ท่านจงอย่ากล่าวว่า อะลัยกัสสลาม แต่จงกล่าวว่า อัสสลามุอะลัยกะ” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด ตามสำนวนนี้ : 5209 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4341, อัต-ติรมีซีย์ : 2722 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2189)

2. และในสำนวนอื่น ระบุว่า :

«فَإِنَّ عَلَيْكَ السَّلاَمُ تَحِيَّةُ الْمَوْتَى».

ความว่า “เพราะแท้จริงแล้วคำว่า อะลัยกัสสลาม เป็นคำทักทายแก่คนตาย” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5209  ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4341)


มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

แปลโดย: สุกรี นูร จงรักสัตย์

Islam House