มารยาทของผู้ศึกษาหาความรู้ 2
  จำนวนคนเข้าชม  4286

มารยาทของผู้ศึกษาหาความรู้  2


มุหัมมัด อัต-ตุวัยญิรีย์

 

การมุ่งมั่นตักตวงวิชา

อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، مَنْ أَسْعَدُ النَّاسِ بِشَفَاعَتِكَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - « لَقَدْ ظَنَنْتُ يَا أَبَا هُرَيْرَةَ أَنْ لاَ يَسْأَلَنِى عَنْ هَذَا الْحَدِيثِ أَحَدٌ أَوَّلُ مِنْكَ ، لِمَا رَأَيْتُ مِنْ حِرْصِكَ عَلَى الْحَدِيثِ ، أَسْعَدُ النَّاسِ بِشَفَاعَتِى يَوْمَ الْقِيَامَةِ مَنْ قَالَ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ ، خَالِصًا مِنْ قَلْبِهِ أَوْ نَفْسِهِ » . أخرجه البخاري

มีคนถามว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ใครเล่าคือผู้ที่มีความสุขมากที่สุดกับการช่วยเหลือของท่านในวันกิยามะฮฺ ?

       ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ตอบว่า “ฉันนึกแล้วเชียวว่าคงไม่มีใครถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนกว่าท่าน เพราะฉันเห็นความใฝ่รู้ของท่านในเรื่องนี้สูงมาก ผู้ที่ความสุขมากที่สุดกับการช่วยเหลือของฉันในวันกิยามะฮฺคือผู้ที่กล่าวคำว่า "ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ อย่างจริงใจหรือบริสุทธิ์ใจ”

[บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 99]

 


การบันทึกความรู้  

1- จากอบีญุหัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

قُلْتُ لِعَلِىٍّ هَلْ عِنْدَكُمْ كِتَابٌ قَالَ لاَ ، إِلاَّ كِتَابُ اللَّهِ ، أَوْ فَهْمٌ أُعْطِيَهُ رَجُلٌ مُسْلِمٌ ، أَوْ مَا فِى هَذِهِ الصَّحِيفَةِ . قَالَ قُلْتُ فَمَا فِى هَذِهِ الصَّحِيفَةِ قَالَ الْعَقْلُ ، وَفَكَاكُ الأَسِيرِ ، وَلاَ يُقْتَلُ مُسْلِمٌ بِكَافِرٍ .  أخرجه البخاري 

“ฉันได้ถามอะลีย์ว่า ท่านมีหนังสือใด ๆ (ที่บันทึกจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  )ไหม ?

เขาตอบว่า “ไม่มี มีก็เพียงแต่คัมภีร์ของอัลลอฮฺ หรือคำอธิบายที่ให้กับชายมุสลิม หรือสิ่งที่บันทึกอยู่ในหน้ากระดาษนี้เท่านั้น”

ฉันถามว่า “แล้วสิ่งที่บันทึกอยู่ในกระดาษนี้คืออะไรกัน ?”

        เขาตอบว่า “คือ (คำอธิบายเกี่ยวกับกฎของ) เชือก (หมายถึงการจ่ายค่าสินไหมชดแทน) การปลดปล่อยเชลย และ (คำอธิบายเกี่ยวกับการที่) มุสลิมต้องไม่ถูกประหารเพราะ (การฆ่า) กาฟิร” 

[บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 111]

 

2- จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

مَا مِنْ أَصْحَابِ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - أَحَدٌ أَكْثَرَ حَدِيثًا عَنْهُ مِنِّى ، إِلاَّ مَا كَانَ مِنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو فَإِنَّهُ كَانَ يَكْتُبُ وَلاَ أَكْتُبُ . تَابَعَهُ مَعْمَرٌ عَنْ هَمَّامٍ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ . أخرجه البخاري

          “ไม่มีสหายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   คนไหนที่รายงานหะดีษจากท่านมากไปกว่าฉัน นอกจากสิ่งที่มีอยู่กับอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เพราะว่าเขานั้นเขียนเป็น ในขณะที่ฉันเขียนไม่เป็น”

[บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 113] 

 

การเข้าประชิดอิหม่ามในเวลาอบรมสั่งสอน

  มีรายงานจากสะมุเราะฮฺ บินญุนดุบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านนบีของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา   ได้กล่าวว่า :

« احْضُرُوا الذِّكْرَ وَادْنُوا مِنَ الإِمَامِ فَإِنَّ الرَّجُلَ لاَ يَزَالُ يَتَبَاعَدُ حَتَّى يُؤَخَّرَ فِى الْجَنَّةِ وَإِنْ دَخَلَهَا ».  أخرجه أبوداود

          “พวกท่านจงเข้าร่วมในสถานพบปะเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงเข้าใกล้อิหม่าม เพราะว่าคน ๆ หนึ่ง อาจจะอยู่ห่าง ๆ เป็นอาจิณจนทำให้เขาต้องถูกให้อยู่ในที่ท้าย ๆ ในสวรรค์ แม้ว่าเขาจะได้เข้าก็ตาม” 

[หะสัน บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข1108  เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 980]

จากอะลีย์  เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

كُنْتُ رَجُلاً مَذَّاءً وَكُنْتُ أَسْتَحْيِى أَنْ أَسْأَلَ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- لِمَكَانِ ابْنَتِهِ فَأَمَرْتُ الْمِقْدَادَ بْنَ الأَسْوَدِ فَسَأَلَهُ فَقَالَ « يَغْسِلُ ذَكَرَهُ وَيَتَوَضَّأُ ». متفق عليه

          “ฉันเป็นคนที่มีน้ำกำหนัดออกอยู่เสมอ และฉันก็อายที่จะถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม   อันเนื่องมาจากสถานะของบุตรสาวของท่าน (ที่เป็นภรรยาของฉัน) ฉันเลยใช้ให้อัลมิกดาด บินอัลอัสวัดช่วยถามให้

แล้วท่านก็ตอบว่า “ให้เขาล้างอวัยวะเพศของเขา แล้วเอาน้ำละหมาด”

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 269  และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 303]

 

การมีมารยาทที่ดีในที่ชุมนุม

1- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  ได้ทรงกล่าวว่า :

          " โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อมีคนบอกสูเจ้าว่า “จงขยับขยายในที่ชุมนุม” สูเจ้าก็จงขยับขยาย เพราะอัลลอฮฺจะทรงขยับขยายที่อันกว้างขวางแก่สูเจ้า (ในวันกิยามะฮฺ) และเมื่อมีคนบอกสูเจ้าว่า “จงแยกย้าย” สูเจ้าก็จงแยกย้าย เพราะอัลลอฮฺจะทรงเลื่อนชั้นแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่สูเจ้าและบรรดานักวิชาการหลายระดับชั้น และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่สูเจ้ากระทำ"

(อัลมุญาดะละฮฺ : 11)

2- มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา  ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวว่า :

 “ชายคนหนึ่งจงอย่าทำให้ชายอีกคนหนึ่งลุกออกจากที่ของเขา แล้วเขากลับนั่งแทนที่เขาคนนั้น

แต่ (เขาจงกล่าวว่า) “พวกท่านจงขยับขยายให้กว้างด้วยเถิด”

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6270  และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2177]

3- มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวว่า :

« مَنْ قَامَ مِنْ مَجْلِسِهِ ثُمَّ رَجَعَ إِلَيْهِ فَهُوَ أَحَقُّ بِهِ ».  أخرجه مسلم

“ ผู้ใดที่ลุกออกจากที่นั่งของเขา หลังจากนั้น เขาได้หวนกลับมาใหม่ เขาก็ย่อมมีสิทธิในที่นั่งนั้นมากกว่าคนอื่น ” 

[บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2179]

 4- จากญาบิร บินสะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

 “พวกเรานั้น เมื่อมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม   ต่างคนก็จะนั่งลง ณ  ที่ซึ่งเขาหยุด(นั่นคือที่ๆคนสุดท้ายนั่ง)”

[เศาะฮีหฺ  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 4825  เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4040  และบันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2725  เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2193]

 

5-มีรายงานจากอัมรฺ บินชุอัยบฺ จากพ่อของเขา จากลุงของเขา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวว่า :

عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ - قَالَ ابْنُ عَبْدَةَ - عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ « لاَ يُجْلَسُ بَيْنَ رَجُلَيْنِ إِلاَّ بِإِذْنِهِمَا ». أخرجه أبوداود

 “คน ๆ หนึ่งจะต้องไม่ถูกให้นั่งระหว่างชายสองคน ยกเว้นด้วยการอนุญาตของคนทั้งสอง ” 

[หะสัน  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 4844  เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4054  ]

 
6-
จากอัชชะรีด บินสุวัยดฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เดินผ่านตัวฉันในขณะที่ฉันกำลังนั่งอย่างนี้อยู่ โดยฉันได้วางมือซ้ายที่ด้านหลังและตะแคงบนฝ่ามือ

ท่านจึงกล่าวว่า “ท่านนั่งในท่าทางของผู้ที่ถูกกริ้วโกรษ (หมายถึงชาวยิว) หรือ ?” 

 [เศาะฮีหฺ  บันทึกโดยอัหมัด หมายเลข 19683  และบันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 4848  เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4058 ]

 
7-
มีรายงานจากอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวว่า :

 “เมื่อพวกท่านอยู่ด้วยกันสามคน ก็จงอย่ากระซิบกันระหว่างสองคนโดยไม่มีเพื่อนอีกคนเข้าร่วมด้วย

เพราะการกระทำดังกล่าวจะทำให้เขาเสียใจ ” 

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6290  และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2184]

 

 


หากละอายที่จะถาม ก็ให้คนอื่นช่วยถามแทน
 

แปลโดย: สุกรี นูร จงรักสัตย์ / Islam House

 

มารยาทของผู้ศึกษาหาความรู้ ตอน 1 >>>>Click