มารยาทในการศึกษาหาความรู้
ความรู้ คือ อิบาดะฮฺ และการจะเป็นอิบาดะฮฺได้นั้นต้องประกอบด้วยสองเงื่อนไข คือ กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา และยึดปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ซึ่งบรรดาผู้รู้นั้นถือเป็นทายาทของเหล่าศาสดา และวิชาความรู้นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน โดยที่สูงที่สุด มีเกียรติมากที่สุด และบริสุทธิ์ที่สุดก็คือวิชาความรู้ที่บรรดาศาสดาและเราะสูลได้นำมา อันเป็นความรู้เกี่ยวกับอัลลอฮฺ พระนามของพระองค์ คุณลักษณะของพระองค์ การกระทำของพระองค์ ตลอดจนเกี่ยวกับศาสนา และกฎหมายของพระองค์
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวว่า :
ความว่า : ดังนั้น ก็จงทราบไว้เถิดว่าไม่มีพระเจ้าผู้ควรกราบไหว้อย่างแท้จริง นอกจากอัลลอฮฺ และจงกล่าวคำอิสติฆฟาร (ขออภัยโทษ) ในความผิดของตัวเจ้าเอง และของบรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งถึงความเคลื่อนไหวและที่พำนักของสูเจ้า [มุหัมมัด : 19]
สำหรับมารยาทในการศึกษาหาความรู้นั้นมีหลายประการด้วยกัน ซึ่งบางส่วนเกี่ยวกับตัวผู้สอน และบางส่วนเกี่ยวกับผู้เรียน โดยในลำดับต่อไปนี้ ใคร่ขอกล่าวในบางประการเท่านั้น
มารยาทของครูผู้สอนถ่อมตนและไม่ถือตัว
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวแก่นบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ของพระองค์ว่า :
ความว่า : และจงถ่อมตัวของเจ้าแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติตามเจ้า [อัชชุอะรออฺ : 215]
มีจรรยามารยาทที่งดงาม1- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวแก่นบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ของพระองค์ว่า :
ความว่า : และแท้จริง เจ้านั้นได้อยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ [อัลเกาะลัม : 4]
2- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ของพระองค์ว่า :
ความว่า : เจ้าจงยึดการอโหสิ และจงกระชับให้ทำดี และจงหลีกเลี่ยงจากพวกโฉดเขลาอวิชชาทั้งหลายเถิด [อัลอะร็อฟ : 199]
ผู้สอนจะต้องสอนแบบเว้นวันเพื่อคนจะได้ไม่เบื่อและปลีกหนีจากอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - يَتَخَوَّلُنَا بِالْمَوْعِظَةِ فِى الأَيَّامِ ، كَرَاهَةَ السَّآمَةِ عَلَيْنَا . متفق عليه
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะเว้นวันในการให้คำตักเตือนเพราะไม่อยากให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อพวกเรา [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 68 และมุสลิม หมายเลข 2821]
จะต้องสอนด้วยเสียงดัง และทวนคำพูดสองหรือสามครั้งเพื่อให้คนเข้าใจ1- จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า :
تَخَلَّفَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - عَنَّا فِى سَفْرَةٍ سَافَرْنَاهَا ، فَأَدْرَكَنَا وَقَدْ أَرْهَقَتْنَا الْصلاة ، فَجَعَلْنَا نَتَوَضَّأُ وَنَمْسَحُ عَلَى أَرْجُلِنَا ، فَنَادَى بِأَعْلَى صَوْتِهِ « وَيْلٌ لِلأَعْقَابِ مِنَ النَّارِ » . مَرَّتَيْنِ أَوْ ثَلاَثًا . متفق عليه
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทิ้งท้ายหายจากพวกเราไปในการเดินทางครั้งหนึ่งที่เราได้ร่วมเดินทางไป แล้วท่านก็ตามเราทันเนื่องจากการละหมาดได้ประวิงเราไว้ เราจึงทำน้ำละหมาดและเช็ดเท้า ท่านเลยตะโกนอย่างสุดเสียงว่า วัยลุน ลิลอะกอบิ มินันนารฺ สอง หรือ สามครั้ง (แปลว่า ความหายนะในรูปของไฟนรกจะเกิดกับส้นเท้าที่ถูกล้างอย่างไม่ทั่วถึง) [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 60 และมุสลิม หมายเลข 241]
2- อนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :
أَنَّهُ كَانَ إِذَا تَكَلَّمَ بِكَلِمَةٍ أَعَادَهَا ثَلاَثًا حَتَّى تُفْهَمَ عَنْهُ ، وَإِذَا أَتَى عَلَى قَوْمٍ فَسَلَّمَ عَلَيْهِمْ سَلَّمَ عَلَيْهِمْ ثَلاَثًا. أخرجه البخاري
ความว่า : เมื่อท่านพูดคำหนึ่ง ท่านจะทวนสามครั้งจนกระทั่งคนเข้าใจ และเมื่อท่านมาหาคนกลุ่มหนึ่ง ท่านก็จะกล่าวสลามแก่พวกเขาสามครั้งเช่นกัน [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 95]
การแสดงความโกรธในขณะการสอนและตักเตือนเมื่อเห็นหรือได้ยินสิ่งไม่ดี
จากอบีมัสอูด อัลอันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
قَالَ رَجُلٌ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، لاَ أَكَادُ أُدْرِكُ الصَّلاَةَ مِمَّا يُطَوِّلُ بِنَا فُلاَنٌ ، فَمَا رَأَيْتُ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - فِى مَوْعِظَةٍ أَشَدَّ غَضَبًا مِنْ يَوْمِئِذٍ فَقَالَ « أَيُّهَا النَّاسُ ، إِنَّكُمْ مُنَفِّرُونَ ، فَمَنْ صَلَّى بِالنَّاسِ فَلْيُخَفِّفْ ، فَإِنَّ فِيهِمُ الْمَرِيضَ وَالضَّعِيفَ وَذَا الْحَاجَةِ » . متفق عليه
ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า : โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! ฉันเกือบจะไม่ร่วมละหมาด(ญะมาอะฮฺ)เหตุเพราะจากคนหนึ่งที่นำละหมาดพวกเรานานมาก
ซึ่งฉันยังไม่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กริ้วโกรธในตอนอบรมสั่งสอนครั้งใดมากยิ่งไปกว่าวันนั้น โดยท่านกล่าวว่า :
โอ้ มนุษย์เอ๋ย ! พวกท่านนี้ คือผู้ที่ขับไล่ตะเพิดผู้อื่น ฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่นำคนอื่นละหมาด เขาก็จงทำให้เบา เพราะในหมู่พวกเขามีผู้ป่วย คนอ่อนแอ และผู้ที่มีธุระอยู่ [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 90 และมุสลิม หมายเลข 466]
ต้องอธิบายคำตอบยาวกว่าคำถามในบ้างครั้งมีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า :
أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- مَا يَلْبَسُ الْمُحْرِمُ مِنَ الثِّيَابِ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « لاَ تَلْبَسُوا الْقُمُصَ وَلاَ الْعَمَائِمَ وَلاَ السَّرَاوِيلاَتِ وَلاَ الْبَرَانِسَ وَلاَ الْخِفَافَ إِلاَّ أَحَدٌ لاَ يَجِدُ النَّعْلَيْنِ فَلْيَلْبَسِ الْخُفَّيْنِ وَلْيَقْطَعْهُمَا أَسْفَلَ مِنَ الْكَعْبَيْنِ وَلاَ تَلْبَسُوا مِنَ الثِّيَابِ شَيْئًا مَسَّهُ الزَّعْفَرَانُ وَلاَ الْوَرْسُ ». متفق عليه
ความว่า : ชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า ผู้ครองอิหรอมนั้น (ผู้ประสงค์จะทำอุมเราะฮฺหรือฮัจญ์) สามารถสวมเสื้อผ้าอะไรได้บ้าง ?
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงตอบว่า พวกท่านจงอย่าสวมเสื้อยาว ผ้าโผกศรีษะ กางเกง เสื้อที่มีส่วนหัวใช้ครอบศรีษะ และรองเท้าบูท นอกจากว่า จะมีคนใดที่ไม่มีรองเท้าแตะ ก็ขอให้เขาสวมรองเท้าหุ้มบูทได้ แต่เขาจะต้องตัดขาของมันให้อยู่ใต้ตาตุ่ม และจงอย่าสวมผ้าใด ๆ ที่ชุบด้วยซะอฺฟะรอนหรือวัสรฺ
(ซะอฺฟะรอน คือ พืชชนิดหนึ่งในแถบตะวันกลาง ใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีเหลือง ส่วนวัสรฺ คือ พืชชนิดหนึ่งในแถบตะวันออกกลาง ใช้ย้อมผ้าไหมให้เป็นสีแดง ผู้แปล) [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1542 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 1177]
ผู้สอนตั้งคำถามเพื่อทดสอบวิชาความรู้ของผู้เรียนมีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِنَّ مِنَ الشَّجَرِ شَجَرَةً لاَ يَسْقُطُ وَرَقُهَا ، وَإِنَّهَا مَثَلُ الْمُسْلِمِ ، فَحَدِّثُونِى مَا هِىَ » . فَوَقَعَ النَّاسُ فِى شَجَرِ الْبَوَادِى . قَالَ عَبْدُ اللَّهِ وَوَقَعَ فِى نَفْسِى أَنَّهَا النَّخْلَةُ ، فَاسْتَحْيَيْتُ ثُمَّ قَالُوا حَدِّثْنَا مَا هِىَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ « هِىَ النَّخْلَةُ » متفق عليه
ความว่า : แท้จริงแล้ว ในจำนวนต้นไม้ต่าง ๆ มีต้นไม้ต้นหนึ่งที่ไม่พลัดใบ ซึ่งมันเหมือนกับคนมุสลิม ดังนั้น พวกท่านก็จงตอบฉันซิว่ามันคือต้นอะไร ? ผู้คนเลยต่างคิดว่าเป็นต้นไม้ที่อยู่ในโอเอซิส อับดุลลอฮฺเล่าว่า ฉันนึกในใจว่ามันจะต้องเป็นต้นอินทผลัมแน่ ๆ แต่ฉันก็อายที่จะตอบ หลังจากนั้น พวกเขาก็กล่าวว่า จงเฉลยให้พวกเราซิ โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! ว่ามันคือต้นอะไร ? ท่านตอบว่า มันคือต้นอินทผลัมอย่างไงล่ะ [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 61 และมุสลิม หมายเลข 2811]
ไม่บอกสิ่งที่คลุมเครือต่อหน้าสาธารณะชนทั่วไป แต่ควรจัดประเภทผู้เรียนเป็นคณะ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน
มีรายงานจากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขี่พาหนะโดยมีมุอาซนั่งอยู่ข้างหลัง ท่านกล่าวว่า :
« يَا مُعَاذُ بْنَ جَبَلٍ » . قَالَ لَبَّيْكَ يَا رَسُولَ اللَّهِ وَسَعْدَيْكَ . قَالَ « يَا مُعَاذُ » . قَالَ لَبَّيْكَ يَا رَسُولَ اللَّهِ وَسَعْدَيْكَ . ثَلاَثًا . قَالَ « مَا مِنْ أَحَدٍ يَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ صِدْقًا مِنْ قَلْبِهِ إِلاَّ حَرَّمَهُ اللَّهُ عَلَى النَّارِ » . قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، أَفَلاَ أُخْبِرُ بِهِ النَّاسَ فَيَسْتَبْشِرُوا قَالَ « إِذًا يَتَّكِلُوا » . وَأَخْبَرَ بِهَا مُعَاذٌ عِنْدَ مَوْتِهِ تَأَثُّمًا . متفق عليه
ความว่า : โอ้ มุอาซ บินญะบัล ! เขาตอบว่า ครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ด้วยความยินดียิ่ง
ท่านกล่าวอีกว่า โอ้ มุอาซ บินญะบัล ! เขาตอบว่า ครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ด้วยความยินดียิ่ง เป็นจำนวนสามครั้งด้วยกัน
ท่านกล่าวว่า ผู้ใดก็แล้วแต่ที่กล่าวคำปฏิญานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ว่า อัลลอฮฺเท่านั้น คือ พระเจ้าที่ควรเคารพกราบไหว้ และมุหัมมัด คือ ศาสนทูตของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็จักปกป้องเขามิให้ต้องไฟนรก
เขาถามว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แล้วไม่ให้ฉันบอกแก่คนอื่นหรือ พวกเขาจะได้ดีใจ ?
ท่านตอบว่า (ไม่ต้องหรอก) เพราะถ้าอย่างนั้น พวกเขาก็คงจะมอบตัวแก่อัลลอฮฺโดยไม่ทำการใด ๆ ละซิ แต่ในตอนที่ท่านได้เสียชีวิตลง มุอาซก็ได้บอกสิ่งนี้แก่คนอื่นเพราะเกรงว่าจะเกิดความผิดบาปกับตัวเขา [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข128 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 32]
เว้นการห้ามปรามความชั่วเมื่อเกรงจะเกิดภัยที่อันตรายกว่ามีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับนางว่า :
« يَا عَائِشَةُ لَوْلاَ أَنَّ قَوْمَكِ حَدِيثُ عَهْدٍ بِجَاهِلِيَّةٍ لأَمَرْتُ بِالْبَيْتِ فَهُدِمَ ، فَأَدْخَلْتُ فِيهِ مَا أُخْرِجَ مِنْهُ وَأَلْزَقْتُهُ بِالأَرْضِ ، وَجَعَلْتُ لَهُ بَابَيْنِ بَابًا شَرْقِيًّا وَبَابًا غَرْبِيًّا ، فَبَلَغْتُ بِهِ أَسَاسَ إِبْرَاهِيمَ » . متفق عليه
ความว่า : โอ้ อาอิชะฮฺ หากไม่ใช่เป็นเพราะพรรคพวกของเธอนี้เพิ่งพ้นผ่านยุคสมัยญาฮิลิยะฮฺมาหมาด ๆ ฉันคงจะสั่งให้คนรื้อกะบะฮฺ แล้วก็เอาสิ่งที่เคยถูกเอาออกเข้าไป และฉันจะทำให้มันติดอยู่กับพื้น และทำให้มีสองประตู หนึ่งประตูด้านตะวันออกและและหนึ่งประตูด้านตะวันตก จนกระทั่งฉันสามารถใช้มันเพื่อไปยังแท่นวางเท้าของอิบรอฮีมได้ [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1586 และมุสลิม หมายเลข 1333]
ทุ่มเทวิชาความรู้ให้แก่บุรุษและสตรีเมื่อเห็นพวกนางมีความพร้อม
จากอบีสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
قال قَالَتِ النِّسَاءُ لِلنَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - غَلَبَنَا عَلَيْكَ الرِّجَالُ ، فَاجْعَلْ لَنَا يَوْمًا مِنْ نَفْسِكَ . فَوَعَدَهُنَّ يَوْمًا لَقِيَهُنَّ فِيهِ ، فَوَعَظَهُنَّ وَأَمَرَهُنَّ ، فَكَانَ فِيمَا قَالَ لَهُنَّ « مَا مِنْكُنَّ امْرَأَةٌ تُقَدِّمُ ثَلاَثَةً مِنْ وَلَدِهَا إِلاَّ كَانَ لَهَا حِجَابًا مِنَ النَّارِ » . فَقَالَتِ امْرَأَةٌ وَاثْنَيْنِ فَقَالَ « وَاثْنَيْنِ » . متفق عليه
ความว่า : พวกสตรีได้กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า พวกบุรุษได้เอาชนะท่านเหนือพวกเราแล้ว ดังนั้น ขอให้ท่านสละเวลาของท่านหนึ่งวันให้กับพวกเราด้วย
แล้วท่านก็กำหนดหนึ่งวันเพื่อพบปะกับพวกนาง โดยท่านได้อบรมและกำชับพวกนาง ซึ่งหนึ่งในประโยคที่ท่านกล่าวกับพวกนางก็คือ ผู้หญิงคนใดก็ตามในหมู่พวกเธอที่เสียสละลูกสามคน (หมายถึง ลูกเสียชีวิตสามคน) ย่อมจะได้รับสิ่งขวางกั้นไฟนรกอย่างแน่นอน
แล้วหญิงนางหนึ่งก็ได้ถามว่า แล้วถ้าสองคนล่ะ จะได้ไหม ?
ท่านตอบว่า สองคน ก็เช่นกัน" [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 101 และมุสลิม หมายเลข 2633]
การอบรมสั่งสอนผู้อื่นในเวลากลางคืน หรือกลางวัน ทั้งบนพื้น หรือบนยานพาหนะ1- จากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า :
اسْتَيْقَظَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - ذَاتَ لَيْلَةٍ فَقَالَ « سُبْحَانَ اللَّهِ مَاذَا أُنْزِلَ اللَّيْلَةَ مِنَ الْفِتَنِ وَمَاذَا فُتِحَ مِنَ الْخَزَائِنِ أَيْقِظُوا صَوَاحِبَاتِ الْحُجَرِ ، فَرُبَّ كَاسِيَةٍ فِى الدُّنْيَا عَارِيَةٍ فِى الآخِرَةِ » . أخرجه البخاري
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตกใจตื่นในคืนหนึ่งพร้อมกับกล่าวว่า : ซุบฮานัลลอฮฺ คืนนี้ ไม่ทราบว่ามีฟิตนะฮฺอะไรได้ลงมา และมีขุมทรัพย์อะไรได้ถูกเปิดออก ? จงปลุกบรรดาหญิงเจ้าของห้องเหล่านี้ให้ตื่นขึ้นมาซิ เพราะบางทีผู้หญิงที่สวมเสื้อผ้าในสมัยอยู่ในโลกดุนยาอาจต้องกลายเป็นคนไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ในโลกอาคิเราะฮฺ [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 115]
2- จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า:صَلَّى بِنَا النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - الْعِشَاءَ فِى آخِرِ حَيَاتِهِ ، فَلَمَّا سَلَّمَ قَامَ فَقَالَ « أَرَأَيْتَكُمْ لَيْلَتَكُمْ هَذِهِ ، فَإِنَّ رَأْسَ مِائَةِ سَنَةٍ مِنْهَا لاَ يَبْقَى مِمَّنْ هُوَ عَلَى ظَهْرِ الأَرْضِ أَحَدٌ » . متفق عليه
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้นำพวกเราละหมาดอิชาอฺในช่วงสุดท้ายของชีวิตท่าน และหลังจากท่านให้สลาม ท่านก็ได้ยืนขึ้นแล้วกล่าวว่า พวกท่านสังเกตุดูคืนนี้ของพวกท่านหรือเปล่า ? เพราะเมื่อครบหนึ่งร้อยปีนับจากนี้ไป คงไม่มีผู้ใดที่อยู่บนโลกในวันนี้หลงเหลืออีกแล้ว [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 116 และมุสลิม หมายเลข 2537]
3- จากมุอาซ บินญะบัล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :قَالَ كُنْتُ رِدْفَ رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلَى حِمَارٍ يُقَالُ لَهُ عُفَيْرٌ قَالَ فَقَالَ « يَا مُعَاذُ تَدْرِى مَا حَقُّ اللَّهِ عَلَى الْعِبَادِ وَمَا حَقُّ الْعِبَادِ عَلَى اللَّهِ ». قَالَ قُلْتُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَعْلَمُ. قَالَ « فَإِنَّ حَقَّ اللَّهِ عَلَى الْعِبَادِ أَنْ يَعْبُدُوا اللَّهَ وَلاَ يُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَحَقُّ الْعِبَادِ عَلَى اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ أَنْ لاَ يُعَذِّبَ مَنْ لاَ يُشْرِكُ بِهِ شَيْئًا ». قَالَ قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَفَلاَ أُبَشِّرُ النَّاسَ قَالَ « لاَ تُبَشِّرْهُمْ فَيَتَّكِلُوا ». متفق عليه
ความว่า : ฉันเคยอยู่ข้างหลังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม บนลาตัวหนึ่งที่ชื่อว่า อุฟัยรฺ
แล้วท่านก็ได้ถามว่า โอ้ มุอาซ ! ท่านรู้หรือเปล่า ว่าอะไรคือสิทธิของอัลลอฮฺเหนือปวงบ่าว และอะไรคือสิทธิของปวงบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺ ?
ฉันตอบว่า อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ย่อมรู้ดีกว่า
ท่านตอบว่า แท้จริงแล้ว สิทธิของอัลลอฮฺที่มีเหนือปวงบ่าวก็คือพวกเขาต้องกราบไหว้อัลลอฮฺและไม่เทียบเคียงพระองค์ด้วยสิ่งใด ๆ และสิทธิของปวงบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺ-อัซซะวะญัลลฺ-ก็คือพระองค์ต้องไม่ลงโทษผู้ที่ไม่เทียบเคียงพระองค์ด้วยสิ่งใด ๆ
ฉันกล่าวว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! แล้วฉันจะบอกคนอื่นไม่ได้หรือ ?
ท่านตอบว่า ท่านอย่าได้บอกพวกเขา เพราะจะทำให้พวกเขาปล่อยตัวปล่อยใจโดยไม่ทำการอะไรเลย [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2856 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 30]
ดุอาและคำที่ควรกล่าวปิดท้ายการพบปะหรือประชุม
จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า:
قَلَّمَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُومُ مِنْ مَجْلِسٍ حَتَّى يَدْعُوَ بِهَؤُلاَءِ الْكَلِمَاتِ لأَصْحَابِهِ « اللَّهُمَّ اقْسِمْ لَنَا مِنْ خَشْيَتِكَ مَا يَحُولُ بَيْنَنَا وَبَيْنَ مَعَاصِيكَ وَمِنْ طَاعَتِكَ مَا تُبَلِّغُنَا بِهِ جَنَّتَكَ وَمِنَ الْيَقِينِ مَا تُهَوِّنُ بِهِ عَلَيْنَا مُصِيبَاتِ الدُّنْيَا وَمَتِّعْنَا بِأَسْمَاعِنَا وَأَبْصَارِنَا وَقُوَّتِنَا مَا أَحْيَيْتَنَا وَاجْعَلْهُ الْوَارِثَ مِنَّا وَاجْعَلْ ثَأْرَنَا عَلَى مَنْ ظَلَمَنَا وَانْصُرْنَا عَلَى مَنْ عَادَانَا وَلاَ تَجْعَلْ مُصِيبَتَنَا فِى دِينِنَا وَلاَ تَجْعَلِ الدُّنْيَا أَكْبَرَ هَمِّنَا وَلاَ مَبْلَغَ عِلْمِنَا وَلاَ تُسَلِّطْ عَلَيْنَا مَنْ لاَ يَرْحَمُنَا ». أخرجه الترمذي
ความว่า : น้อยมากที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะลุกออกจากที่พบปะจนกว่าท่านจะกล่าวคำต่อไปนี้ต่อหน้าบรรดาสหายของท่าน :
อัลลอฮุมมักสิม ละนา มินค็อชยะติกะ มายะหูลุ บัยนะนา วะบัยนะ มะอาศีกะ วะมิน ฏออาติกะ มาตุบัลลิฆุนา บิฮี ญันนะตะกะ วะมินัลยะกีน มาตุเฮาวินุอะลัยนา มุศีบาติดดุนยา วะมัตตินา บิอัสมาอินา วะอับศอรินา วะกุววะตินา มาอัหยัยตะนา วัจอัลฮุลวาริซะ มินนา วัจอัลซะเราะนา อะลามันเซาะละมะนา วันศุรนา อะลา มันอาดานา วะลา ตัจอัล มุศีบะตะนา ฟีดีนินา วะลาตัจอะลิดดุนยา อักบะเราะฮัมมินา วะลา มับละเฆาะอิลมินา วะลาตุสัลลิฏ อะลัยนา มันลาหะมุนา
(แปลว่า โอ้ อัลลอฮฺ ! ขอได้โปรดทรงประทานความรู้สึกเกรงกลัวต่อพระองค์ที่สามารถปิดกั้นระหว่างเรากับการล่วงละเมิดต่อพระองค์ให้แก่พวกเราด้วยเถิด ขอได้โปรดทรงประทานการกระทำความภักดีต่อพระองค์ที่สามารถเชื่อมเราไปยังสรวงสวรรค และความเชื่อมั่นที่สามารถใช้บรรเทาความทุกข์ยากลำบากของโลกดุนยาด้วยเถิด ขอได้โปรดทรงให้เรามีความสุขในการฟังของเรา การมองเห็นของเรา และพละกำลังของเรา ตราบใดที่พระองค์ยังทรงให้เรามีชีวิตอยู่ และขอโปรดทรงให้มันเป็นสิ่งที่คงอยู่กับพวกเราด้วยเถิด ขอได้โปรดทรงช่วยเหลือพวกเราให้มีชัยเหนือผู้ที่เป็นปรปกษ์กับเราด้วยเถิด และขอโปรดอย่าทรงให้ความทุกข์ยากของเราเกิดกับศาสนาของเรา และขอโปรดทรงอย่าทำให้โลกดุนยาเป็นสุดยอดความกังวลของพวกเรา หรือเป็นจุดสุดสิ้นความรู้ของพวกเรา และขอได้โปรดทรงอย่าให้พวกที่ไร้ปรานีต่อเราได้ควบคุมพวกเราเถิด [หะสัน บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 3502 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2783 ดู เศาะฮีหฺ อัลญามิอฺ หมายเลข 1268]
มีรายงานจากอบูฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَنْ جَلَسَ فِى مَجْلِسٍ فَكَثُرَ فِيهِ لَغَطُهُ فَقَالَ قَبْلَ أَنْ يَقُومَ مِنْ مَجْلِسِهِ ذَلِكَ سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ. إِلاَّ غُفِرَ لَهُ مَا كَانَ فِى مَجْلِسِهِ ذَلِكَ ». أخرجه أحمد والترمذي
ความว่า : ผู้ใดที่นั่งในที่พบปะแห่งหนึ่ง แล้วเกิดคำพูดที่ผิดพลาดขึ้นมากมายในที่นั้น และเขาได้กล่าวก่อนจะลุกออกจากที่พบปะดังกล่าวว่า
ซุบฮานะกัลลอฮุมมะ วะบิหาดิกะ อัชฮะดุอัลลา อิลาฮะ อิลลา อันตะ วะอะตูบุ อิลัยกะ
(แปลว่า ฉันขอสดุดีและสรรเสริญต่อพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ ! โอ้พระเจ้าของฉัน ฉันขอยืนยันว่าพระองค์เท่านั้น คือ พระเจ้าที่ควรกราบไหว้ ฉันขออภัยโทษและขอกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์) เขาก็ย่อมจะได้รับอภัยโทษในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ.ที่พบปะดังกล่าว [เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัหมัด หมายเลข 10420 และ บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3433 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2730 ]
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
แปลโดย: สุกรี นูร จงรักสัตย์
Islam House