< 40 หะดีษ >
สร้างครอบครัวคุณธรรม สู่สังคมอุดมสุข
เรียบเรียงโดย : อาบู อัดนาน อาหมัด อัลฟารีตีย์
Part 4
31.ครอบครัวมุสลิมต้องซื่อสัตย์ สุจริต
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : مَنْ غَشَّنَا فَلَيْسَ مِنَّا وَالْمَكْرُ وَالْخِدَاعُ فِى النَّارِ
( صحيح الجامع : 6408)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ไม่สุจริตต่อเรา เขาไม่ใช่จากพวกเราและ (ผู้ที่) ล่อลวง ฉ้อโกง นั้นจะตกลงไปในนรก"
ข้อคิดจากหะดีษ1.การหลอกลวงเป็นคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ในอิสลาม
2.ท่านนบี ได้ตักเตือนผู้ที่มีนิสัยไม่ดี หลอกลวงคนอื่น หรือทุจริต ไม่ว่าในการทำธุรกิจ การค้าขาย หรือในเรื่องอื่นๆ
3.ท่านนบี ไม่ยอมรับผู้ที่หลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตว่าป็นประชาชาติของท่าน
4.ผู้ที่หลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต จะถูกลงโทษอย่างใหญ่หลวงในวันอะคีเราะฮฺคือต้องเข้านรก
32.ครอบครัวมุสลิมต้องไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ يَجْتَمِعَانِ فِى قَلْبِ عَبْدٍ الإِيْمَانُ وَالْحَسَدُ
(صحيح الجامع 5633)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า มีสองอย่างที่ไม่อาจจะอยู่ร่วมกันได้ในหัวใจของบ่าวคนหนึ่งคือการศรัทธาและการอิจฉาริษยา"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.หัวใจของมนุษย์เป็นศูนย์รวมของคุณลักษณะต่างๆทั้งที่ดีงามและที่ชั่วร้าย
2.หัวใจคนดีจะต้องมีแต่อีหม่านและมีตักวา อย่าให้โรคกลับหลอก เคียดแค้นและขัดเคืองอยู่ด้วยกัน
3.คนที่มีอีหม่านที่แท้จริงอยู่ในหัวใจ เขาจะไม่อิจฉาคนอื่นอย่างเด็ดขาดจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม
4.ความประเสริฐของคนที่มีอีหม่านและไม่มีการอิจฉาคนอื่น
33.ครอบครัวมุสลิมต้องเป็นผู้ชี้นำทำความดีให้แก่สังคม
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : مَنْ دَلَّ عَلَى خَيْرٍ فَلَهُ مِثْلُ أَجْرِ فَاعِلِهِ
( رواه مسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ผู้ใดได้ชี้นำคนอื่นให้กระทำในสิ่งที่ดี ผู้นั้นจะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกับผลตอบแทนของผู้กระทำความดีนั้นด้วย"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.ท่านรสูล ได้ส่งเสริมให้มุสลิมมีการเชิญชวนผู้อื่นกระทำความดี พูดและปฏิบัติในสิ่งที่ก่อประโยชน์
2.ครอบครัว สังคมจะอยู่ในความดีงาม และสงบสุขอย่างยันยืนหากการเชิญชวนในทางที่ดีเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
3.ผู้ที่ทำหน้าที่เชิญชวนผู้อื่นให้ทำความดีนั้นย่อมได้รับการตอบแทนผลบุญเหมือนกับคนที่ปฏิบัติความดีตามที่เขาเชิญชวนให้ทำ
34. ครอบครัวมุสลิมต้องสร้างสิ่งที่จะได้มาซึ่งผลบุญที่มิขาดสายในวันอะคีเราะฮฺ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : إِذَا مَاتَ الإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَمَلُهُ إِلاَّ مِنْ ثَلاَثٍ: صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ
( رواه مسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า เมื่อมนุษย์ตายการงานของเขาก็จะขาดไป (และก็จะไม่มีผลบุญให้) เว้นที่มาจากการปฏิบัติสามประการ คือ การบริจาคทานที่ผู้คนใช้ประโยชน์ได้ตลอด ความรู้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือ ลูกที่ดีที่ขอพรให้แก่เขาอย่างสม่ำเสมอ"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.มนุษย์ทุกคนล้มลองความตาย เมื่อถึงเวลาที่ถูกกำหนดไว้
2. เมื่อมนุษย์ตายแล้วการงาน หรือการกระทำของเขาไม่ว่าความดีงาม หรือความชั่วร้ายจะขาด
3. มีสามประการที่ผลบุญของมันนั้นจะไม่ขาด ถึงแม้ว่าเขาตายจากโลกไปแล้ว คือ การบริจาคทานที่ผู้คนใช้ประโยชน์ได้ตลอด ความรู้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น และลูกที่ดีที่ขอพรให้แก่พ่อแม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้รับความโปรดปราน ความเมตตาปรานีจากอัลลอฮฺ
4. ความประเสริฐของผู้ที่บริจาคทำกุศล ผู้มีความรู้ที่ผู้อื่นได้รับประโยชย์จากเขาและผู้ที่มีลูกที่มีคุณธรรมที่คอยช่วยเหลือพ่อแม่ด้วยการดูอาต่ออัลลอฮฺ
35.ครอบครัวมุสลิมต้องไม่บ่อนทำลายแก่ตัวเองและคนอื่น
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ ضَرَرَ وَلاَ ضِرَار
(صحيح الجامع : 7517)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ไม่อนุญาติสร้างความเดือดร้อน ทำลายให้กับตัวเองและผู้อื่น"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.หะดีษนี้เป็นหลักการสำคัญในการรักษาและปกป้องผลประโยชน์พื้นฐานของมนุษย์โดยเฉพาะชีวิต ทรัพย์สิน สติปัญญาและเกียรติยศของมนุษย์เพื่อความเป็นอยู่เปี่ยมสุข
2.อิสลามสอนไม่ให้สร้างความเดือดร้อนและทำลายตัวเองและคนอื่นด้วยวิธีใดก็ตาม
3.สามีภรรยาต้องยึดมั่นหลักการอันดีงามนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของครอบครัวสู่สังคมอุดมสุข เปี่ยมคุณภาพ
36.ครอบครัวมุสลิมต้องหมั่นขอดุอา
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : الدُّعَاءُ هُوَ الْعِبَادَةُ
( صحيح الجامع : 3407 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า การร้องขอ (การดุอา ) คือ การเคารพภักดี ( การอิบาดะฮฺ ต่ออัลลอฮฺ )"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.การดุอาขอพรต่ออัลลอฮฺ ไม่ว่าดุอาในทางโลก หรือในทางอะคีเราะฮฺ ไม่ว่าดุอาที่ขอนั้นสำหรับตัวเอง หรือ ครอบครัว สำหรับคนอื่น ก็ถือเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ
2.อิสลามส่งเสริมให้ทุกคนขอดุอาต่ออัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอซึ่งพระองค์ทรงสัญญาจะรับดุอาและให้ผลบุญสำหรับผู้ปฎิบัติ
3.ความประเสริฐของดุอา นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของอิบาดะฮฺ
37. ครอบครัวมุสลิมจะต้องเป็นดั่งคนเป็น
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : مَثَلُ الْبَيْتِ الَّذِيْ يُذْكَرُ اللهُ فِيْهِ وَالْبَيْتِ الَّذِيْ لاَ يُذْكَرُ اللهُ فِيْهِ مَثَلُ الْحَيِّ وَالْمَيِّتِ
( مسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า อุปมาบ้านที่มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ กับบ้านที่ไมมีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อุปมัยดั่งคนเป็นกับคนตาย"
ข้อคิดจากหะดีษ
1. ท่านนบี เอาใจใส่กับการสร้างบ้านเรือนเปิ่ยมสุขและครอบครัวคุณธรรม
2. ครอบครัวมุสลิมต้องเป็นดั่งคนเป็นด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ ควรให้เป็นกิจวัตรประจำวัน พยายามสร้างบรรยากาศในบ้านเรือนให้เกิดการภักดีต่ออัลลอฮฺด้วยกิจกรรมรำลึกที่หลากหลาย
3.การรำลึกถึงอัลลอฮฺกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่นการเรียน สอนหรืออ่านอัลกุรอาน การอ่านบทซิกิรเช้าเย็น การอ่านดุอา หรือ การละหมาดในโอกาสต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน อ่านตัฟสีร หรือคำแปลอัลกุรอาน หรือ หะดีษ หรือฟังการบรรยายเกี่ยวกับอิสลาม
4.บ้านเรือนของครอบครัวมุสลิมไม่ควรละทิ้ง หรือขาดการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อย่าให้เป็นเหมือนคนไร้วิญญาณ ไม่มีชีวิตชีวา ยิ่งกว่า นั้นอย่าให้บ้านเรือนเป็นรังของชัยฎอนจอมฝ่าฝืนอัลลอฮฺเสมอ
38.ครอบครัวมุสลิมสามีต้องช่วยเหลืองานของภรรยา
قَالَ الأَسْوَدُ : سَأَلْتُ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا مَاكَانَ النَّبِيُّ يَصْنَعُ فِى الْبَيْتِ؟ قََالَتْ: كَانَ يَكُوْنُ فِى مِهْنَةِ أَهْلِهِ، فَإِذَا سَمَعَ الأَذَانَ خَرَجَ
( رواه البخارى )
ความว่า "อัลอัสวัดกล่าวว่า ฉันได้ถามอาอิชะฮฺว่า นบี เคยทำอะไรบ้างในบ้านของท่าน? นางตอบว่า ท่านได้ช่วยเหลืองานของครอบครัวของท่าน แล้วเมื่อท่านได้ยินเสียงอะซานท่านก็ออกไปละหมาด"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.นบี เป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัวคุณธรรม
2.มุสลิมที่ดีต้องพยายามปฎิบัติหน้าที่อย่างครบถ้วน ทั้งที่เป็นสิทธิของครอบครัว เช่นช่วยเหลือภรรยาและที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺเช่นทำการละหมาด
3.การคบสมาคมที่ดีกับครอบครัวมีหลายวิธี ส่วนหนึ่งคือช่วยเหลืองานภรรยาในบ้าน
4.มุสลิมทุกคนต้องรู้จักหน้าที่ รู้จักบริหารเวลา ใช้โอกาสอย่างมีคุณค่าและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่ตัวเอง ครอบครัวและสังคม
39. ครอบครัวมุสลิมต้องไม่ประมาทและคำนึงถึงความปลอดภัยในบ้าน
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ تَتْرُكُوْا النَّارَ فِى بُيُوْتِكُمْ حَتَّى تَنَامُوا
(متفق عليه )
ความว่า "จงอย่าทิ้งไฟในบ้านของท่านก่อนท่านจะนอนหลับ"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.ไฟมีทั้งประโยชน์และให้โทษแก่มนุษย์
2.ประโยชน์ของไฟมีมากมายที่มนุษย์เอามาใช้ในชีวิต
3.สำหรับโทษของไฟนั้นคือถ้าเกิดความประมาทเมื่อไหรอาจเกิดอัคคีภัย สร้างความเสียหายและความเดือดร้อนแก่ตัวเองและคนอื่น
4.เพื่อไม่ประมาท และเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินควรดับไฟ ปิดไฟไว้ก่อนนอน และขณะเดียวกันทำให้ประหยัดเงินทองด้วย
40.ครอบครัวมุสลิมสามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : كَفَى بِالْمَرْءِ إِثْمًا أَنْ يَحْبَسَ عَمَّنْ يَمْلِكُ قُوْتَهُ
( رواه مسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า เป็นการเพียงพอที่จะรับบาปสำหรับบุคคลที่ไม่ย่อมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ผู้ที่อยู่ใต้ความดูแลของเขา"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.อิสลามได้กำหนดให้สามีมีหน้าที่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาและบุตร
2. บุคคลใดที่ปละละเลยไม่ยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ผู้ที่อยู่ใต้ความดูแลของเขาบุคคลนั้นย่อมจะต้องรับบาป
3. ผู้ที่มีภาระหน้าที่ แต่ละเว้นไม่ปฎิบัติ ถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณธรรมและไม่ความสำนึก
41.ครอบครัวมุสลิมต้องรำลึกถึงความตายอยู่เสมอ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : أَكْثِرُوْا ذِكْرَ هَاذِمِ الْلَذَّاتِ : اَلْمَوْتَ
( صحيح الجامع : 1210 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า จงรำลึกถึงสิ่งที่ทำลายความอร่อยต่างๆให้มากเถิด หมายถึงความตาย."
ข้อคิดจากหะดีษ
1. ชีวิตของมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ต้องพบกับความตายเมื่อถึงเวลาที่อัลลอฮฺทรงกำหนดไว้
2. ความเพลิดเพลินสนุกสนาน ความเอร็ดอร่อยทุกอย่างในโลกนี้จะดับสูญเมื่อความตายมาเยี่ยม
3. ครอบครัวมุสลิมจะต้องรำลึกถึงความตายอย่างสม่ำเสมอและเตรียมความพร้อมด้วยอีหม่านที่ถูกต้อง อมัลที่ดีและมารยาทที่ดีงามก่อนสิ้นชีวิตจากโลกนี้ไปสู่อะคีเราะฮฺ
โปรดติดตามตอนต่อไป
"40 หะดีษ" สร้างครอบครัวคุณธรรม สู่สังคมอุดมสุข