"40 หะดีษ" สร้างครอบครัวคุณธรรม สู่สังคมอุดมสุข 3
  จำนวนคนเข้าชม  36379

 

<  40 หะดีษ  >
สร้างครอบครัวคุณธรรม  สู่สังคมอุดมสุข

 เรียบเรียงโดย : อาบู  อัดนาน อาหมัด  อัลฟารีตีย์

Part 3


21.ครอบครัวมุสลิมสามีต้องเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุด

قَالَ رَسُوْلُ اللهِخَيْرُكُمْ خَيْرُكُمْ لأَِهْلِهِ وَأَنَا خَيْرُكُمْ لأَِهْلِيْ
 
                                                    (صحيح الجامع : 3266)

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่านได้แก่บุคคลที่ปฎิบัติทำดีที่สุดต่อครอบครัวของเขาและฉันเป็นผู้ปฎิบัติทำดีที่สุดต่อครอบครัวของฉันในหมู่พวกท่าน"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.นบี ได้ทำแบบอย่างที่ดีในการปฎิบัติต่อครอบครัว พร้อมกล่าวยกย่องผู้ที่ปฎิบัติดีต่อครอบครัวของเขา
2.การทำดีต่อครอบครัวหมายถึงการปฏิบัติตามที่กฎหมายอิสลามกำหนดไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่บกพร่องและไม่ละเลยต่อหน้าที่เว้นแต่ที่เกินความสามารถที่จะปฏิบัติได้
3.สามีต้องพยายามเรียนรู้และเอาแบบอย่างจากนบีเกี่ยวกับบทบาทของท่านต่อครอบครัว


22.ครอบครัวมุสลิมต้องมีจริธรรมที่งดงามที่สุด

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ  :  أَكْمَلُ الْمُؤْمِنِيْنَ إِيْمَانًا أَحْسَنُهُمْ خُلُقًا 

                                           ( صحيح الجامع :1230 )

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า บรรดามุอฺมินที่มีความศรัทธาที่สมบูรณ์ที่สุด คือ บุคคลที่มีมารยาทดีที่สุดในหมู่พวกเขา"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.อิสลามให้ความสำคัญกับความสมบูณ์ของอีหม่านและความดีงามของจริธรรม 
2.การมีจรรยามารยาทที่ดีงามสามารถยกระดับอีหม่านให้อยู่ในความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.บุคคล ครอบครัวที่ประเสริฐที่สุดคือผู้ที่มีทั้งอีหม่านและจริยธรรม คุณธรรมอยู่ในตัว


23.ครอบครัวมุสลิมต้องสุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : إِذَا أَرَادَ اللهُ بِأَهْلِ بَيْتٍ خَيْرًا أَدْخَلَ عَلَيْهِمْ الرِّفْقَ 

                                                              ( صحيح الجامع : 303 )

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า เมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ความดีให้แก่ครอบครัวหนึ่งครอบครัวใด พระองค์จะทรงให้พวกเขามีความประพฤติดี สุภาพอ่อนโยน"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.เป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺที่จะทรงประสงค์ให้แก่ครอบครัวหนึ่งครอบครัวใดได้รับความดีและประทานคุณลักษณะความดีงาม
2.เอกลักษณ์สำคัญของครอบครัวคุณธรรมและอุดมสุขคือครอบครัวที่มีคุณลักษณะละมุนละม่อม นุ่มนวล
3.สามีภรรยาต้องแสวงหาความดีให้แก่ครอบครัวด้วยการพึ่งอัลลอฮฺและต้องประดับประดาจริธรรมอันงดงามโดยเฉพาะความสุภาพ อ่อนโยน


24.ครอบครัวมุสลิมต้องรู้จักให้ให้เกียรติแขกผู้เยี่ยม

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ  :   مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ باللهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ

                                                                               ( متفق عليه)

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอะคิเราะฮฺเขาจงให้เกียรติแก่แขกของเขา"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.ความสำคัญของการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อวันอะคีเราะฮฺ
2.อิสลามสอนศรัทธาชนให้มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
3.การให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยี่ยมเป็นสัญญาณหนึ่งแห่งความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอะคีเราะฮฺ
4.การไม่เอาใจใส่ต่อแขกผู้มาเยี่ยมเป็นสัญญาณแห่งความบกพร่องในอีหม่าน


25.ครอบครัวมุสลิมต้องเอาใจใส่กับเพื่อนบ้าน

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ لَيْسَ الْمُؤْمِنُ بِالَّذِىْ يَشْبَعُ وَجَارُهُ جَائِعٌ إِلَى جَنْبِه 

                                                                 (صحيح الجامع : 5382)

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ไม่เป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงสำหรับผู้ที่อิ่มเอิบ ในขณะเพื่อนบ้านของเขาหิวโหย"

ข้อคิดจากหะดีษ

1. อีหม่านที่สมบูรณ์จำเป็นต้องเสริมด้วยจริยธรรม คุณธรรมที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ
2.สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อีหม่านไม่สมบูรณ์คือการไม่เอาใจใส่กับเพื่อนบ้าน
3. ผู้ศรัทธาที่ประเสริฐจะไม่ยอมให้เพื่อนบ้านของเขาอยู่ในความอดยากไม่มีกินในขณะเขานั้นนอนหลับค้างคืนด้วยท้องอิ่มเอิบ


26.ครอบครัวมุสลิมต้องมีความสัมพันธ์ดีกับเครือญาติ

قَالَ رَسُوْلُ اللهِلاَ يَدْخُلِ الْجَنَّةَ قَاطِعُ رَحِمٍ

                                         ( متفق عليه )

ความว่า "ท่านรสูล   ได้กล่าวว่า ผู้ที่ตัดขาดความสัมพันธ์จากเครือญาติจะไม่ได้เข้าสวรรค์"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.อัลลอฮฺทรงได้เตรียมสวรรค์และนรกไว้แล้วสำหรับมนุษย์
2.มนุษย์มีทั้งคนที่มีสิทธิเข้าสวรรค์และผู้ที่ไม่มีสิทธิด้วยสาเหตุต่างๆ
3.สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ไม่ได้เข้าสวรรค์คือละเว้นการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือญาติ
4. มุสลิมจะต้องไม่ตัดขาดจากเครือญาติจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ยิ่งเครือญาติที่เป็นพ่อและแม่ พี่และน้อง


27.ครอบครัวมุสลิมต้องรู้ว่าการอดทนคือความสำเร็จ

قَالَ رَسُوْلُ اللهِالنَّصْرُ مَعَ الصَّبْرِ وَالْفَرَجُ مَعَ الْكَرْبِ وَإِنَّ مَعَ الْعُسْرِ يُسْراً 

                                                                     ( صحيح الجامع :6806)

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ชัยชนะจะมากับความอดทนเสมอ  ความบรรเท้าทุกข์จะมากับความยากลำบากและความยากจะมาพร้อมๆกับความง่ายเสมอ"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.การใช้ชีวิตในโลกนี้เราอาจจะเผชิญปัญหาอุปสรรค์และความยากลำบากต่างๆนานาซึ่งเป็นกฎเกณฑ์และการทดสอบจากอัลลอฮฺ
2.ท่านนบี  ได้ให้หลักการต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรค์ วิกฤต และความทุกข์ในชีวิตคือการใช้ความอดทน อดกลั้นและความมั่นใจต่อสัญญาของอัลลอฮฺ
3. ความสำเร็จ ความสงบสุข และความง่ายมักจะเกิดขึ้นพร้อมๆกับความยากลำบาก และความทุกข์เสมอ


28.ครอบครัวมุสลิมต้องสามัคคีกัน

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ تَخْتَلِفُوْا، فَإِنَّ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ اخْتَلَفُوْا فَهَلَكُوْا  

                                                                   ( رواه البخارى )

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า พวกเจ้าอย่าขัดแย่งกัน  แท้จริงชนรุ่นก่อนหน้านี้พวกเขาเคยขัดแย่งกันและพวกเขาได้พินาศไปแล้ว"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.อิสลามกำชับและส่งเสริมความสมัคคีและสมานฉันท์ในครอบครัวและสังคม
2.ความขัดแย่งกันเป็นสิ่งที่ห้ามในอิสลามเพราะจะนำมาซึ่งความแตกแยก ความเสียหาย และความหายนะแก่ประชาชาติ
3.ความหายนะและความพินาศเคยเกิดขึ้นกับชนรุ่นก่อนเนื่องจากความขัดแย่งกัน
4.มุสลิมต้องพยายามสร้างความเป็นเอกภาพ ปรองดองและหลีกเหลี่ยงความแตกแยก


29.ครอบครัวมุสลิมต้องพอเพียง


قَالَ رَسُوْلُ اللهِ :   إِذَا نَظَرَ أَحَدُكُمْ إِلَى مَنْ فُضِّلَ عَلَيْهِ فِى الْمَالِ وَالْخَلْقِ فَلْيَنْظُرْ إِلَى مَنْ هُوَ أَسْفَلَ مِنْهُ

                                                                                                                      ( رواه البخارى )

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า  เมื่อคนหนึ่งจากพวกเจ้ามองเห็นคนที่มีทรัพย์สินและรูปร่างหน้าตาดีกว่าเขาก็จงให้มองดูผู้ที่ต่ำกว่าเขา"

ข้อคิดจากหะดีษ

1.ในสังคมมีทั้งคนที่มีฐานะดีและรูปร่างตาหน้าตาดีและมีคนที่ด้อยกว่า
2.การที่นบี  ได้แนะนำให้เรามองดูคนที่ต่ำกว่าเรานั้นก็เพื่อให้เกิดความสำนึกต่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺซึ่งเรานั้นยังดีกว่าคนอื่นและไม่อิจฉาต่อผู้ที่ดีกว่าเรา
3.ครอบครัวมุสลิมต้องสร้างจิตใจให้พึ่งพอใจในสิ่งที่ตนเองมีและรู้จักชุโกรกับสิ่งอัลลอฮฺกำหนดให้โดยไม่รู้สึกอิจฉาคนอื่น พร้อมไม่ละความพยายามและใช้ความสามารถที่จะให้ดีกว่านั้น


30.ครอบครัวมุสลิมต้องรู้จักความร่ำรวยที่แท้จริง

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ  :  لَيْسَ الْغِنَى عَنْ كَثْرَةِ الْعَرَضِ وَلَكِنَّ  الْغِنَى غِنَى النَّفْسِ

                                                                                         (متفق عليه )

ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ความร่ำรวย ( ที่แท้จริง) ไม่ใช่เพราะมีทรัพย์สินที่มากมาย แต่ความร่ำรวย ( ที่แท้จริง) นั้นคือความร่ำรวยทางจิตใจ"

ข้อคิดจากหะดีษ

1. ท่านนบี ได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามความร่ำรวยที่ถูกต้อง
2. ผู้ที่มีทรัพย์สินอันมากมายมักจะถือว่าเป็นคนร่ำรวย แต่ตามทัศนะของท่านนบี ยังไม่ถือเป็นคนร่ำรวยที่แท้จริง หากขาดความอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3. ผู้ที่ร่ำรวยที่สุดคือคนรวยด้วยน้ำใจ เห็นอกเห็นใจและเมตตาต่อคนอื่นถึงแม้ว่าเขาไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายก็ตาม
 

โปรดติดตามตอนต่อไป


 "40 หะดีษ" สร้างครอบครัวคุณธรรม สู่สังคมอุดมสุข