60 คำถาม เกี่ยวกับรอบเดือน(หัยฎ์) และน้ำคาวปลา(นิฟาส)
โดย: เชคมุหัมมัด อิบนุ ศอลิห์ อัลอุษัยมีน
(31) คำถาม มีสุภาพสตรีถามว่า ได้มีรอบเดือนหลังจากถึงเวลาละหมาดแล้ว เธอจะต้องละหมาดทดแทนหรือไม่ ? และในกรณีเดียวกันเมื่อรอบเดือนหยุดก่อนจะหมดเวลาละหมาด จะปฏิบัติตนอย่างไร ?
คำตอบ
ในกรณีแรก เมื่อมีรอบเดือนหลังจากได้เวลาละหมาดแล้ว ต้องละหมาดทดแทนการละหมาดนั้น ถ้ายังไม่ละหมาดก่อนที่จะมีรอบเดือน ท่านนะบี ได้ กล่าวว่า :
من أدرك ركعة من الصلاة فقد أدرك الصلاة ) رواه : مسلم )
ผู้ใดที่ทันละหมาดเพียงหนึ่งรอกอัต ก็ถือว่าทันละหมาดทั้งหมด
ฉะนั้นเมื่อมีเลือดรอบเดือนในขณะที่ยังมีเวลาพอที่จะละหมาดแม้แต่เพียงรอกอัตเดียว แต่เธอไม่ยอมละหมาด เธอต้องละหมาดทดแทน
ในกรณีที่สอง เมื่อเธอหมดรอบเดือนก่อนหมดเวลาละหมาด ต้องละหมาดทดแทนเช่นเดียวกัน ถ้าหมดรอบเดือนก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเพียงระยะเวลาทันที่จะละหมาดหนึ่งรอกอัต ก็ต้องละหมาดทดแทนการละหมาดรุ่งอรุณ(ซุบฮิ) นั้น หากหมดรอบเดือนก่อนพระอาทิตย์ตกดินเพียงระยะเวลาทันที่จะละหมาดหนึ่งรอกอัต ก็ต้องละหมาดชดทดแทนของอัสริ และหากหมดรอบเดือนก่อนเที่ยงคืนเพียงระยะเวลาทันที่จะละหมาดหนึ่งรอกอัต เธอต้องละหมาดชดทดแทนของอีซาอ์ แต่ถ้าหมดรอบเดือนหลังจากเที่ยงคืนแล้ว เธอไม่ต้องละหมาดอีซาอ์ แต่ต้องละหมาดซุบฮิ เมื่อถึงเวลา อัลลอฮ์ ทรงตรัสไว้ในอายะฮ์หนึ่งว่าครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัยแล้ว ก็จงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ฉะนั้นการละหมาด จำเป็นต้องกระทำภายในเวลาที่ถูกกำหนด ไม่อนุญาตให้กระทำหลังหมดเวลาและก่อนเวลาละหมาด
(32) คำถาม เมื่อดิฉันมีรอบเดือนในช่วงกำลังละหมาด ดิฉันจะปฏิบัติตนอย่างไร ? ต้องละหมาดทดแทนหรือไม่อย่างไร ?
คำตอบ เมื่อมีรอบเดือนหลังเข้าเวลาละหมาดแล้ว ก็ต้องละหมาดทดแทนการละหมาดนั้น เมื่อหมดรอบเดือน เพราะอัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า
แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ส่วนการมีรอบเดือนในช่วงเวลากำลังละหมาดนั้น ไม่จำเป็นต้องทดแทนการละหมาดดังกล่าว เพราะท่านนะบี ได้กล่าวไว้ว่า :
أليس إذا حاضت لم تصل ولم تصم ) متفق عليه )
เมื่อสตรีมีรอบเดือน นางก็ไม่ต้องละหมาดและไม่ต้องถือศิลอดมิใช่หรือ ?
นักวิชาการมีความเห็นว่า สตรีไม่ต้องทดแทนการละหมาดที่ขาดในช่วงระยะเวลาที่มีรอบเดือน แต่ถ้าหมดรอบเดือนในช่วงของเวลาละหมาดแค่หนึ่งรอกอัตหรือมากกว่านั้น เธอต้องละหมาดทดแทนการละหมาดของเวลานั้น ท่านนะบี ได้กล่าวไว้ว่า
من أدرك ركعة من العصر قبل أن تغرب الشمس فقد أدرك العصر) رواه مسلم )
ใครก็ตามที่ทันละหมาดอัสริในเวลาของมันเพียงหนึ่งรอกอัตก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ถือว่าเขาทันกับเวลาอัสริ
ดังนั้นเมื่อสตรีสะอาดจากรอบเดือนในช่วงเวลาอัสริ หรือเวลาซุบฮิ และทันที่จะละหมาดอัสริหรือซุบฮิ แม้เพียงหนึ่งรอกอัต เธอจะต้องละหมาดในวันนั้น
(33) คำถาม ชายคนหนึ่งได้ถามว่า ข้าพเจ้ามีแม่อายุ 65 ปี และในระยะเวลา 19 ปีแล้วเธอไม่เคยตั้งครรภ์ กระทั่งตอนนี้เธอมีเลือดออกมาไม่หยุดเป็นเวลา 3 ปีแล้ว และอีกไม่กี่วันก็จะถึงเวลาถือศีลอด เธอจะปฏิบัติอย่างไร ?
คำตอบ สตรีที่มีปัญหาลักษณะนี้ จะต้องงดการละหมาดและการถือศีลอด เท่ากับระยะเวลาปกติที่เคยมีรอบเดือนก่อนหน้านี้ เช่นปกติเธอเคยมีรอบเดือนทุกๆเดือนระยะเวลา 6 วัน เธอต้องงดการละหมาดและการถือศีลอด 6 วัน ครั้นเมื่อครบกำหนดแล้ว ต้องอาบน้ำ ถือศีลอดและละหมาดตามปกติ ส่วนวิธีการละหมาดของสตรีประเภทนี้คือ เธอต้องล้างอวัยวะเพศให้สะอาด และใช้ผ้าหรือสิ่งใดก็ได้ปิดให้แน่น เพื่อไม่ให้เลือดไหลออกมา และอาบน้ำละหมาด แต่ทั้งหมดนี้ต้องกระทำหลังจากเข้าเวลาละหมาดแล้ว ในกรณีเช่นนี้เธอสามารถที่จะละหมาดรวมระหว่างละหมาดดุฮ์ริกับอัสริ และมัฆริบกับอีซาอ์ได้ เสมือนสองละหมาดเป็นหนึ่งละหมาด เท่ากับละหมาดร่วมกันวันละ 3 เวลา ดุฮ์ริกับอัสริ มัฆริบกับอีซาอ์ และซุบฮิ โดยจะละหมาดร่วมก่อนหรือหลัง ก็ได้ แต่ไม่อนุญาตให้ทำการละหมาดย่อหรือกอซัร(قصر)
(34) คำถาม สตรีที่มีรอบเดือนเข้าไปนั่งอยู่ในมัสญิดอัลฮะรอม เพื่อฟังคุฏบะห์และการบรรยายธรรม มีข้อบัญญัติไว้อย่างไร ?
คำตอบ ไม่อนุญาตให้สตรีที่มีรอบเดือนนั่งอยู่ในมัสญิดอัลฮะรอมและมัสญิดอื่นๆ แต่อนุญาตให้เดินผ่านและกระทำกิจที่จำเป็นเท่านั้น ท่านนะบี ได้สั่งให้ท่านหญิงอาอีชะฮ์ นำผ้าคลุมศรีษะมาให้ ท่านหญิงอาอีซะฮ์ได้ตอบว่า ผ้านั้นอยู่ในมัสญิด และขณะนี้ดิฉันกำลังมีรอบเดือน ท่านนะบี กล่าวว่า:
( رواه مسلم إن حيضتك ليس في يدك )
"ประจำเดือนของเธอนั้น มันมิได้อยู่ในมือของเธอหรอก"
หมายความว่า เมื่อสตรีมีรอบเดือนเดินผ่านบริเวณมัสญิด และป้องกันการไหลหยดของเลือดได้ ก็สามารถที่จะผ่านไปได้ แต่ไม่อนุญาตให้เข้าไปนั่งในมัสญิด เพราะท่านนะบี ได้เคยสั่งให้บรรดาสตรีที่มีรอบเดือนในวันอีด(عيد)ให้ออกห่างจากสถานที่ละหมาด
(35) คำถาม น้ำที่ไหลออกมาจากอวัยวะเพศสตรีนั้น จะมีสีขาวหรือสีเหลือง เป็นสิ่งที่สะอาดหรือนะญิส(نجس) จะต้องอาบน้ำละหมาดหรือไม่อย่างไร ?โดยเฉพาะในกรณีที่รู้ว่ามันออกมาเป็นประจำ สตรีส่วนใหญ่โดยเฉพาะนักศึกษาได้ถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการเปียกตามธรรมชาติ ไม่ทำให้น้ำละหมาดเสีย ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ การกระทำเช่นนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร ?
คำตอบ หลังจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นดังนี้ น้ำที่ออกมาจากสตรีนั้น ถ้าเป็นน้ำที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะนับได้ว่าเป็นนะญิส แต่หากเป็นน้ำที่ออกมาจากมดลูกถือว่าสะอาด ในสองกรณีนี้ล้วนแล้วแต่ทำให้น้ำละหมาดเสียทั้งสองกรณี จะต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ แต่ถ้ามันออกมาตลอดเวลาไม่ขาด จะต้องปฏิบัติเหมือนกับคนที่มีโรคปัสสาวะออกตลอดเวลา กล่าวคือต้องอาบน้ำละหมาดทุกๆ เวลาละหมาดหลังจากเข้าเวลาละหมาดนั้น และสามารถที่จะละหมาดทั้งฟัรฎูและสุนัต อ่านอัลกุรอาน และอื่นๆที่ไม่อนุญาตให้ทำนอกจากจะมีน้ำละหมาด
มีสตรีบางคนเข้าใจว่าไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดตามทัศนะของนักวิชาการบางคน ความจริงแล้วทัศนะนี้ไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ ฉะนั้นพวกเธอต้องเกรงกลัวอัลลอฮ์ และระมัดระวังความสะอาด เนื่องจากอัลลอฮ์ จะไม่ทรงรับการละหมาดที่ปราศจากน้ำละหมาด ถึงแม้เธอจะละหมาดถึง 100 ครั้งก็ตาม นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า
แท้จริงผู้ที่ละหมาดโดยปราศจากน้ำละหมาดนั้น ถือว่าเขาเป็นกาฟิร์ (ผู้ปฏิเสธ) เพราะเข้าข่ายการเย้ยหยันศาสนาของอัลลอฮ์
(36) คำถาม เมื่อสตรีที่อยู่ในภาวะมีน้ำออกมาทางอวัยวะเพศตลอดเวลาได้อาบน้ำละหมาดสำหรับการละหมาดฟัรฏู เธอจะละหมาดสุนัตหรืออ่านอัลกุรอาน โดยอาศัยน้ำละหมาดนั้นได้หรือไม่ ?
คำตอบ เมื่อเธออาบน้ำละหมาดสำหรับการละหมาดฟัรฏู ก็สามารถที่จะละหมาดสุนัต และอ่านอัลกุรอานได้ จนถึงเวลาการละหมาดต่อไป
(37) คำถาม สตรีที่อยู่ในภาวะมีน้ำออกมาทางอวัยวะเพศตลอดเวลานั้น จะละหมาดฏุฮาโดยใช้น้ำละหมาดที่ละหมาดซุบฮิได้หรือไม่ ?
คำตอบ ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น เพราะการละหมาดฏุฮานั้น มีเวลาที่ถูกกำหนดไว้เฉพาะของมัน ฉะนั้นเธอต้องอาบน้ำละหมาดใหม่สำหรับละหมาดฏุฮา เพราะเธออยู่ในภาวะเช่นเดี่ยวกับสตรีที่มีเลือดอิสติฮาเฎาะห์ ต้องอาบน้ำละหมาดก่อนทำการละหมาดทุกครั้ง ท่านนะบี ได้ใช้สตรีที่มีเลือดอิสติฮาเฎาะห์ให้อาบน้ำละหมาดของทุกๆการละหมาดตามเวลาละหมาดดังนี้
o (ดุฮ์ริ) เริ่มจากดวงอาทิตย์คล้อยจนถึงเวลาอัสริ
o (อัสริ) เริ่มจากหมดเวลาดุฮ์ริ จนถึงพระอาทิตย์ตกดิน
o (มัฆริบ) เริ่มจากพระอาทิตย์ตกดินจนถึงหมดแสงสีแดงจากขอบฟ้า
o (อีซาอ์) เริ่มจากเวลาหมดแสงสีแดงจากขอบฟ้าจนถึงเที่ยงคืน (ทัศนะเชคมุหัมมัด อิบนุ ศอลิห์ อัลอุษัยมีน )
(38) คำถาม สตรีที่อยู่ในภาวะมีน้ำออกมาทางอวัยวะเพศตลอดเวลานั้น จะละหมาดตะฮัจญุด(تهجد) หรือละหมาดอื่นๆอย่างเช่นการละหมาด กิยามุลลัยล์ ( قيام الليل ) หลังจากเที่ยงคืนโดยใช้น้ำละหมาดของการละหมาดอีซาอ์ได้หรือไม่ ?
คำตอบ ไม่สามารถทำได้ เธอต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ แต่มีนักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่าไม่ต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ ซึ่งทัศนะนี้มีหลักฐานค่อนข้างหนักแน่นกว่า
(39) คำถาม เวลาอีซาอ์จะสิ้นสุดเมื่อไร ? และเราจะทราบได้อย่างไร ?
คำตอบ การสิ้นสุดเวลาอีซาอ์คือเที่ยงคืน (ทัศนะเชคมุหัมมัด อิบนุ ศอลิห์ อัลอุษัยมีน ) โดยแบ่งเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกดินและช่วงแสงอรุณขึ้นเป็นสองช่วง เมื่อช่วงแรกสิ้นสุด ถือว่าสิ้นสุดของเวลาอีซาอ์ ส่วนช่วงที่เหลือเป็นฝากั้นระหว่างเวลาอีซาอ์กับซุบฮ์
(40) คำถาม เมื่อสตรีที่อยู่ในภาวะมีน้ำออกมาทางอวัยวะเพศตลอดเวลา และได้ขาดช่วง จนเมื่ออาบน้ำละหมาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีน้ำไหลออกมาจากอวัยวะเพศก่อนที่จะทำการละหมาด จะต้องปฏิบัติอย่างไร ?
คำตอบ เมื่อน้ำที่ออกมานั้นขาดช่วง ก็ต้องรอจนถึงเวลาการขาดช่วง แต่ถ้าขาดช่วงไม่แน่นอน เธอก็อาบน้ำละหมาดเมื่อเข้าเวลาละหมาด และละหมาดตามปกติ
คำถาม ข้อที่ 1-10 11-20 21-30 31-40 41-50 51-60
แปลและเรียบเรียง
อ.มีลีกอดียา จาปะกียา
อ.ซาอูเดาะห์ แฉ๊ะ
อ.ซูบัยดะห์ อูมา