ราชวงค์อับบาสิยะฮ์ (The Abbasid Dynasty)
ผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคมโลกของ ราชวงค์อับบาสียะฮ์
ส่วนในด้านนิติศาสตร์ในสมัยอับบาสียะฮ์เกิดสำนักทางฟิกฮ์หรือที่เรียกว่ามัซฮับขึ้นสี่สำนัก ซึ่งมีท่านอิมามอบู หะนีฟะฮ์ ท่านอิมามมาลิก ท่านอิมามชาฟิอีย์ และท่านอิมามอะห์มัด อิบนุ ฮัมบัลเป็นผู้นำของแต่ละสำนัก จึงกล่าวได้ว่านักปราชญ์และผู้รู้ของมุสลิมในสมัยอับบาสียะฮ์มีอยู่ในทุกสาขาวิชาการและเป็นทองแห่งศิลปวิทยาการอิสลามการปกครองในสมัยอับบาสียะฮ์เป็นยุคที่มีความรุ่งเรืองในแง่ของวิชาการได้มีการพัฒนาถึงขั้นสุดยอดของศาสตร์อิสลาม ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและไม่ใช่ศาสนา รวมทั้งวัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งได้มีการพัฒนาวิชาการใน 3 ด้านคือ
1.ด้านการแต่งตำรา
2.ด้านการจำแนกสาขาวิชาอย่างเป็นระบบ
3.ด้านการแปลหนังสือหรือตำราต่างๆจากภาษาอื่นเป็นภาษาอาหรับ
1.ด้านการแต่งตำรา
อุลามาอฺที่โดดเด่นในยุคนี้ที่ได้เริ่มมีการแต่งตำราขึ้น ไดแก่ อีมามมาลิก ได้ แต่งตำราอัลมุวัฎเฎาะ เป็นตำราเกี่ยวกับวิชาหะดิษ อิบนุ อิซฮาก ได้แต่งตำราประวัติศาสตร์อิสลาม และอาบูฮานีฟะฮ์ได้แต่งตำราฟิกฮ์ เป็นต้น
2.ด้านการจำแนกสาขาวิชาอย่างเป็นระบบ
ในยุคนี้วิชาการอิสลามได้มาถึงระดับที่สูงขึ้น มีการจัดสาขาวิชาอย่างละเอียดและเป็นระบบอันได้แก่
1. สาขาวิชาตัฟซีร ได้มีการแยกออกจากวิชาหะดิษ โดยแยกเป็นวิชาหะดิษ วิชาตัฟซีร ผู้ที่มีชื่อเสียงในสาขาวิชาตัฟซีรในสมัยนี้ คือ อัล เฏาะบะรี
2. สาขาวิชาฟิกฮ์ อีมามของมัษฮับทั้ง 4 ก็ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ คือ อิมามฮานาฟี มาลิกี ชาฟีอีและ ฮัมบาลี
3. สาขาวิชาหะดิษอีมามทั้ง 6 ก็ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ คือ อีมามบุคอรี มุสลิม อบูดาวูด ติรมีษี อิบนุมาญะฮ์ และ นะซาอี
4. สาขาวิชาปรัชญา สมัยนี้ได้ถือกำเนิดนักปรัชญาโลกมุสลิม คือ อัล กินดี ถือเป็นนักปรัชญามุสลิมท่านแรกในสมัยอับบาซียะฮ์ และ อันฟารอบี ก็เป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียง
5.ทางด้านสาขาวิชาประวัติศาสตร์ได้แยกวิชาประวัติศาสตร์ออกจากวิชาหะดิษ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สมัยนี้ได้ถือกำเนิดนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น อิบนุ กุฏอยบะฮ์ อัล เฎาะบะรี อิบนุ คอนดูน อิบนุอิสฮาก เป็นต้น
6. ทางด้านวิชาภาษาศาสตร์อาหรับ ก็มี 2 สำนัก คือ สำนักบัสเราะฮ์ และ สำนักกูฟะฮ์
7. สาขาวิชาคนิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ผู้ที่มีชื่อเสียงในสาขานี้ คือ อัล เคาะวาริซมีย์
8. สาขาวิชาการแพทย์ ผู้ที่เขียนตำราแพทย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือ อะลี อัล-เฏาะบะรี อัลรอซี อัลมะญูซี และอิบนุ ซีนา เป็นต้น
นอกจากสาขาวิชาต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีสาขาวิชาอื่นๆอีกมากมายที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนี้ เช่น จริยศาสตร์ ศูฟี อิลมุกาลาม วรรณกรรมอาหรับ เป็นต้น
3.ด้านการแปลหนังสือหรือตำราต่างๆจากภาษาอื่นเป็นภาษาอาหรับ
เคาะลีฟะฮ์ให้ความสำคัญล่งเสริมและสนับสนุน บรรดาอุลามาอฺ ให้มีการแปลตำราจากภาษาอื่นๆให้เป็นภาษาอาหรับ ได้มีการตอบรับจากบรรดาอุลามาอฺส่วนใหญ่และผู้ที่โดดเด่นที่สุด คือ อิบนุมุขฟี อีกทั้งในยุคนี้ ได้มีการจัดตั้ง บัยตุลอิกมะฮ์ ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวิชาการด้านต่างๆเป็นทั้งหอสมุดประชาชนและสถาบันการแปลหนังสือ
ในศตวรรษที่ 9 อำนาจทางการเมืองของราชวงศ์อับบาสียะฮ์เริ่มสั่นคลอนโดยการประกาศตั้งตัวเป็นรัฐเอกราชของราชวงศ์อุมัยยะฮ์แห่งสเปน ราชวงศ์ตุลูน แห่งอียิปต์ ราชวงศ์ตอฮิรีย์ แห่งคูรอซาน ราชวงศ์สามานีย์ แห่งแทรนโซเซียนาและคูรอซาน ราชวงศ์สัฟฟารีย์ แห่งซิสถานในศตวรรษที่ 10 กลุ่มชีอะฮ์ได้ขยายอิทธิพลอย่างกว้างขวางและมีบทบาททางการเมืองมาก ดินแดนแอฟริกาเหนือถูกยึดครองโดยกลุ่มชีอะฮ์แห่งราชวางศ์ฟาติมีย์ ต่อมาได้ขยายอำนาจสู่อียิปต์และซีเรีย พร้อมกับประกาศตั้งตนเป็นรัฐอิสระที่อียิปต์แข่งกับราชวงศ์อับบาสียะฮ์แห่งแบกแดด
นอกจากนี้ในปี ค . ศ . 845 กลุ่มชีอะฮ์ราชวงศ์บูไวยฮีย์ ได้บุกเข้ายึดกรุงแบกแดด และกุมอำนาจราชวงศ์อับบาสีย์ไว้ได้สำเร็จ ต่อมาในปี ค . ศ . 1055 ชาวเซลจูกเข้ามามีบทบาทและกุมอำนาจในราชวงศ์อับบาสียะฮ์แทน ถึงแม้ว่าราชวงศ์อับบาสียะฮ์ จะพยายามกอบกู้อำนาจคืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสุลต่านอัลมุกตาฟีย์และสุลต่านอันนาศิร จนกระทั่งได้อำนาจคืนจากชาวเซลจูกในปี ค . ศ . 1194 แต่ต้องเผชิญมรสุมลูกใหญ่จากการรุกรานของทหารมงโกล ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ไม่สามารถต้านการรุกรานของมงโกลได้ จนกระทั่งในปี ค . ศ . 1258 ( ฮ . ศ .656) มงโกลสามารถเข้ายึดเมืองแบกแดดได้ และได้สังหารสุลต่านองค์สุดท้ายของราชวงศ์อับบสิยะฮ์แห่งแบกแดด จนสิ้นสุดราชวงศ์อับบาสียะฮ์แห่งแบกแดดที่เรืองอำนาจมาเกือบ 6 ศตวรรษ
ที่มา : Islamic information center of psu Fathoni
Part 1 >>>> Click