กฎการอนุญาตการพลีชีพในอิสลาม
ในอัลกุรอานกล่าวถึงผู้พลีชีพไว้ดังนี้
“ และในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้ที่ขายตัวของเขา ทั้งนี้เพื่อแสวงหาความพอพระทัยของอัลลอฮ์
และอัลลอฮ์ นั้นเป็นผู้ทรงปรานีแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย ”
อัล-บะกอเราฮฺ 2 : 207
หมายความว่าคนที่ยอมพลีชีพตนเองด้วยศรัทธาที่เข้มแข็ง ด้วยเพราะรักในอัลลอฮ์และ ร่อซูลของพระองค์ และเพื่อผลประโยชน์โดยรวมต่อศาสนาแล้ว ถือได้ว่าเป็นสิ่งควรค่า
นักนิติศาสตร์อิสลามได้กำหนดเงื่อนไขการพลีชีพไว้ดังต่อไปนี้
1. เจตนาผู้ปฏิบัติการต้องบริสุทธิ์ใจในการเชิดชูพจนารถของอัลลอฮ์
2. ผู้ปฏิบัติการพลีชีพต้องแน่ใจว่า ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะประกันความปลอดภัยให้แก่ชีวิตของเขาได้ ในการบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ
3. ผู้ปฏิบัติการพลีชีพต้องแน่ใจในการสร้างความสูญเสียให้ศัตรู หรือทำให้มุสลิมเกิดความกล้าหาญ เข้มแข็ง
4. ผู้ปฏิบัติการพลีชีพต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางยุทธศาสตร์สงครามโดยเฉพาะผู้บัญชาการสงคราม
เพราะฉะนั้นเจตจำนงที่บริสุทธิ์ ถือเป็นเงื่อนไขใหญ่ในการประกอบภารกิจดังกล่าว ร่วมด้วยเงื่อนไขต่างๆที่กล่าวมา หากเขาไม่มั่นใจในผลที่จะได้รับ หรือหากมันไม่ส่งผลดีใดๆต่อสังคมมุสลิม การพลีชีพดังกล่าวก็ไม่เป็นที่สนับสนุน เพราะการปลิดชีวิตตัวเองโดยเจตนาถือเป็นเรื่องที่ศาสนาห้าม
เหตุใดอิสลามจึงไม่กำหนดห้ามการสู้รบ ?
หากเราพิจารณาตามหลักความเป็นจริงบนสังคมโลกแล้ว มนุษย์ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบันต่างแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น และมีความเห็นแก่ตัวเป็นทุนเดิมอันเป็นความจริงที่ไม่อาจหาคำปฏิเสธหรือข้อแก้ต่างใดๆได้ แน่นอนเมื่อต่างฝ่ายต่างห้ำหั่นกันเองจะด้วยเหตุผลหรืออารมณ์ ต่างก็หมายจะให้ฝ่ายตรงข้ามเพลี่ยงพล้ำและสิ้นอำนาจด้วยกันทั้งนั้น
ดังกล่าวนี้คือ ธรรมชาติความเป็นมนุษย์ที่ไม่อาจหาสิ่งใดมาลบล้างแก้ไข นอกเสียจากการวางกฎแห่งคุณธรรมและมนุษยธรรมเท่านั้น และกฎกติกาใดจากมนุษย์หน้าไหนอีกเล่าที่จะสมบูรณ์แบบ ครอบคลุมและรัดกุมเท่ากับกฎหมายจากพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า
ดำรัสของพระองค์ต่อไปนี้เป็นคำตอบที่เพียงพอแล้วสำหรับคำถามข้างต้น
"และหากว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงป้องกันมนุษย์ ซึ่งบางส่วนของพวกเขาด้วยอีกบางส่วนแล้วไซร้
แผ่นดินก็จะเสื่อมเสียอย่างแน่นอน แต่ทว่าอัลลอฮ์นั้น ทรงเป็นผู้มีพระคุณแก่โลกทั้งหลาย"
อัล-บะกอเราะฮ์ 2 :251
"และหากว่าอัลลอฮ์ ไม่ทรงป้องกันมนุษย์ ซึ่งบางส่วนของพวกเขาด้วยกับอีกบางส่วนแล้วไซร้
บรรดาหอสวด และโบสถ์(ของคริสต์ )และสถานที่สวด(ของยิว) และมัสยิดทั้งหลาย
ที่พระนามของอัลลอฮ์ ถูกกล่าวรำลึกอย่างมากมาย ต้องถูกทำลายอย่างแน่นอน
และแน่นอนอัลลอฮ์ จะทรงช่วยเหลือผู้สนับสนุนศาสนาของพระองค์
แท้จริง อัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงเดชานุภาพอย่างแท้จริง"
อัล-ฮัจญ์ 22 : 40
ดังกล่าวแสดงว่าหากไม่มีการกำหนดให้ต่อสู้เพื่อปกป้องแล้ว สถานที่สำคัญของศาสนาย่อมถูกทำลายจากผู้กอบโกยความเป็นใหญ่อย่างแน่นอน ดังนั้นอิสลามจึงอนุมัติและวางกฎเกณฑ์การทำศึกอย่างรัดกุมเพื่อประโยชน์และสันติสุขของมนุษยชาติทั้งมวล
อิสลามกับการทำศึก 1 >>>>Click
บรรณานุกรม
-- พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย มะดีนะฮ. : ศูนย์กษัตริย์ฟะฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน
-- ยะฮ.ยา อิบนิ ชัรฟฺ อัน-นะวะวียฺ , อิหม่าม ริยาฏุซซอลิฮีน มิน กะลามซัยยิดิ้ลมุรซะลีน เบรูต –เลบานอน :สำนักพิมพ์ - กิตาบุ้ลอะร่อบียฺ-หนังสืออาหรับ , 2004
-- อัซ-ซะฮะบียฺ , อิหม่าม กิตาบกะบาอิร ( บาปใหญ่ ) . พิมพ์ครั้งที่ 5 . ไคโร – อิยิปต์ สำนักพิมพ์ดารุสสลาม , 2002
-- เชค มุฮัมหมัดอะบู ซะฮฺเราะฮฺ กฏเกณฑ์อิสลามในการทำสงคราม. แปลโดย สายสัมพันธ์ .พิมพ์ครั้งที่ 2 พระนครศรีอยุธยา : สำนักพิมพ์สายสัมพันธ์ , 2549
-- สายสัมพันธ์ อุดมการณ์อิสลาม .กรุงเทพฯ : ประสานมิตรการพิมพ์,2523
-- ซัยยิด อบุล อะอฺลา เมาดูดีย์ ญิฮาดในอิสลาม . แปลโดย สมาคมนิสิตไทยมุสลิม กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์ ,2524
-- อับดุลลอฮ นาศิห์ อุลวาน, ดร. ญิฮาดภารกิจอันสูงส่งของผู้ศรัทธา . แปลโดย มันศูร อับดุลลอฮ .
-- มุนีร มุฮัมมัด “อิสลามกับการทำศึก” วารสารสายสัมพันธ์ ,อันดับที่ 259-260
-- เชค อาลี อีซา คำอธิบายอัลกุรอาร ซูเราะฮฺ อัตเตาบะฮฺ , เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ :จิรรัชการพิมพ์ , 2542
-- คุณครู “ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่มุสลิมจะแสดงบทบาทของตน” วารสารสายสัมพันธ์ ปีที่ 32 อันดับที่ 345- 346 ,2540
-- ยาสิร อีซา “ การอธรรม” วารสารสายสัมพันธ์ ปีที่ 37 อันดับที่ 413-414 ,2549
-- เชค อาลี อีซา “ศาสนาใดที่เผยแพร่ด้วยคมดาบ” วารสารสายสัมพันธ์ ปีที่ 42 อันดับที่ 459- 460,2550
-- อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา,ดร. อิสลามศาสนาแห่งสันติภาพ. แปลโดย ซุมอัม อุษมาน .พิมพ์ครั้งที่ 2 นราธิวาส : มูลนิธิฟื้นฟูมรดกอิสลามภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ประเทศไทย),2004
-- “ นักวิชาการอิสลามแนะใช้สานเสวนาดับการก่อการร้าย” กัมปง ( พฤศจิกายน -ธันวาคม 2549 ) : 8-9
-- อับดุลลอฮ กอดิรียฺ อัลอะฮฺดัล. มารยาทขณะทำสงคราม [ online ] Available : http://www. Said.net/Doat/ahda. [Accessed 25 /8/ 2007]
-- มัสสัน มาหะมะ. ความเข้าใจระหว่างศาสนาคือแนวทางในการดับไฟใต้ [ online ] Available : http://www.iqraonline.org
-- เชลยสงคราม [ online ] Available : http://www.Islamway.com
-- [ online ] Available : http://www. Aljabriabed.net/sensoccidentislam5.htm.