มารยาทของผู้ศึกษาหาความรู้
  จำนวนคนเข้าชม  11133

 

มารยาทของนักเรียนนักศึกษา

มุหัมมัด อัต-ตุวัยญิรีย์

ท่านั่งของนักเรียนนักศึกษา

1- จากอุมัร บินอัลค็อฏฏ็อบเราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

بَيْنَمَا نَحْنُ عِنْدَ رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- ذَاتَ يَوْمٍ إِذْ طَلَعَ عَلَيْنَا رَجُلٌ شَدِيدُ بَيَاضِ الثِّيَابِ شَدِيدُ سَوَادِ الشَّعَرِ لاَ يُرَى عَلَيْهِ أَثَرُ السَّفَرِ وَلاَ يَعْرِفُهُ مِنَّا أَحَدٌ حَتَّى جَلَسَ إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- فَأَسْنَدَ رُكْبَتَيْهِ إِلَى رُكْبَتَيْهِ وَوَضَعَ كَفَّيْهِ عَلَى فَخِذَيْهِ ... متفق عليه .

           “ในขณะที่พวกเรากำลังอยู่พร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ในวันหนึ่งนั้น ก็ได้มีชายที่มีเสื้อผ้าขาวผ่อง ผมดำสนิทคนหนึ่งเข้ามาหาพวกเรา เขาไม่มีร่องรอยของการเดินทางไกล แต่ก็ไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเราที่รู้จักเขา จนกระทั่งเขาได้นั่งลงตรงหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  แล้วเขาก็ประกบหัวเข่าของเขากับหัวเข่าของท่าน และว่างสองฝ่ามือลงบนโคนขาของเขา ...

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 50  และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 8]

2- มีรายงานจากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่า :

 أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - خَرَجَ ، فَقَامَ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ حُذَافَةَ فَقَالَ مَنْ أَبِى فَقَالَ « أَبُوكَ حُذَافَةُ » . ثُمَّ أَكْثَرَ أَنْ يَقُولَ « سَلُونِى » . فَبَرَكَ عُمَرُ عَلَى رُكْبَتَيْهِ فَقَالَ رَضِينَا بِاللَّهِ رَبًّا ، وَبِالإِسْلاَمِ دِينًا ، وَبِمُحَمَّدٍ - صلى الله عليه وسلم - نَبِيًّا ، فَسَكَتَ . أخرجه البخاري

“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้ออกมา แล้วอับดุลลอฮฺ บินคุซาฟะฮฺก็ยืนขึ้นแล้วถามว่า “ใครคือพ่อของฉัน ?”

ท่านตอบว่า “พ่อของท่านคือคุซาฟะฮฺ” หลังจากนั้นท่านก็พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “จงถามฉันซิ ๆ ๆ ๆ”

อุมัรเลยคุกเข่าลงพร้อมกับกล่าวว่า “เราะฎีตุบิลลาฮิ รับบา วะบิลอิสลามิดีนา วะบิมุหัมมะดิน ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม นะบียา”

(แปลว่า เราพอใจแล้วกับการมีอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า กับการมีอิสลามเป็นศาสนา และกับการมีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  เป็นศาสดา) ท่านเลยจึงเงียบลง

[บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 93  ] 

 
          การให้ความสำคัญต่อการร่วมกลุ่มกับกลุ่มศึกษาวิชาและกลุ่มขัดสมาธิที่มีอยู่ตามมัสยิดต่าง ๆ และเขาควรจะนั่งลงตรงไหน หากมาถึงในขณะที่คนอื่นต่างนั่งอยู่ในกลุ่มเรียบร้อยแล้ว 

มีรายงานจากอบีวาฟิด อัลลัยซีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่า :

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - بَيْنَمَا هُوَ جَالِسٌ فِى الْمَسْجِدِ وَالنَّاسُ مَعَهُ ، إِذْ أَقْبَلَ ثَلاَثَةُ نَفَرٍ ، فَأَقْبَلَ اثْنَانِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وَذَهَبَ وَاحِدٌ ، قَالَ فَوَقَفَا عَلَى رَسُولِ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - فَأَمَّا أَحَدُهُمَا فَرَأَى فُرْجَةً فِى الْحَلْقَةِ فَجَلَسَ فِيهَا ، وَأَمَّا الآخَرُ فَجَلَسَ خَلْفَهُمْ ، وَأَمَّا الثَّالِثُ فَأَدْبَرَ ذَاهِبًا ، فَلَمَّا فَرَغَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « أَلاَ أُخْبِرُكُمْ عَنِ النَّفَرِ الثَّلاَثَةِ أَمَّا أَحَدُهُمْ فَأَوَى إِلَى اللَّهِ ، فَآوَاهُ اللَّهُ ، وَأَمَّا الآخَرُ فَاسْتَحْيَا ، فَاسْتَحْيَا اللَّهُ مِنْهُ ، وَأَمَّا الآخَرُ فَأَعْرَضَ ، فَأَعْرَضَ اللَّهُ عَنْهُ » . متفق عليه 

           “ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   กำลังนั่งอยู่ในมัสยิดพร้อม ๆ กับคนอื่นนั้น ก็มีคนสามคนเดินตรงเข้ามา แล้วสองคนก็เข้ามายังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ส่วนอีกหนึ่งคนได้หายไป แล้วสองคนนั้นได้หยุดตรงหน้าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ซึ่งคนหนึ่งได้เห็นมีที่ว่างอยู่ในวงล้อม เขาจึงนั่งลง ส่วนอีกคนหนึ่งได้นั่งลงที่ท้ายวง ในขณะที่คนที่สามได้หันหลังจากไป ครั้น เมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  เสร็จ (จากการสั่งสอนอบรม)

 ท่านก็ได้กล่าวว่า “เอาไหมล่ะ ฉันจะบอกพวกท่านเกี่ยวกับคนสามคนนี้ ?

คนหนึ่งได้เข้าหาอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็เลยทรงให้ความคุ้มครอง

ส่วนอีกคนนั้น เขาอาย อัลลอฮฺก็เลยทรงอายต่อเขาเหมือนกัน

และสำหรับอีกคนหนึ่งนั้น เขาได้หันหลังจากไป อัลลอฮฺก็เลยทรงเพิกเฉยต่อเขา” 

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 66  และมุสลิม หมายเลข 2176]


การนั่งเป็นวงกลมในทึ่ชุมนุมเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺหรือศึกษาหาความรู้

     มีรายงานจากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวว่า :

« إِذَا مَرَرْتُمْ بِرِيَاضِ الْجَنَّةِ فَارْتَعُوا ». قَالُوا وَمَا رِيَاضُ الْجَنَّةِ قَالَ « حِلَقُ الذِّكْرِ ». أخرجه أحمد والترمذي 

“เมื่อพวกท่านผ่านหน้าลานสวรรค์ก็จงหยุดแวะ” พวกเขาถามว่า “ลานสวรรค์คืออะไรล่ะ ?”

ท่านตอบว่า “คือ วงรำลึกถึงอัลลอฮฺ”

[หะสัน  บันทึกโดยอัหมัด หมายเลข 12551  ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 2562  และ บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 3510  เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2787  ]


การให้เกียรติต่ออุลามาอฺ (นักวิชาการ) และผู้อาวุโส

1- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  ได้ทรงกล่าวว่า :

          " โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย สูเจ้าจงอย่าพูดดังกว่าเสียงของนบี และจงอย่าพูดกับเขาด้วยเสียงดังอย่างที่สูเจ้าบางคนพูดเสียงดังกับคนอื่น เพราะเกรงว่าการงานต่าง ๆ ของสูเจ้าจะต้องสูญเสียไปโดยที่สูเจ้าไม่รู้สึกตัว "

(อัลหุญุร็อต : 2)

2- จากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า:

جَاءَ شَيْخٌ يُرِيدُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- فَأَبْطَأَ الْقَوْمُ عَنْهُ أَنْ يُوَسِّعُوا لَهُ فَقَالَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- « لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يَرْحَمْ صَغِيرَنَا وَيُوَقِّرْ كَبِيرَنَا ». أخرجه الترمذي والبخاري في الأدب المفرد 

มีชายชราคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ปรากฏว่ากลุ่มคนที่ห้อมล้อมท่านได้ขยายวงเพื่อให้เขานั่งลงช้าไป

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  จึงกล่าวว่า “ผู้ใดที่ไม่ปรานีต่อผู้เยาว์ของเราและไม่ให้เกียรติต่อผู้อาวุโสของเรา ผู้นั้นไม่ใช่คนของเรา” 

[เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1919  เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 1565 บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ในอัลอะดับ อัลมุฟร็อด หมายเลข 363  เศาะหีหฺอัลอะดับ อัลมุฟร็อด หมายเลข 272 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 2196]

3- มีรายงานจากอุบาดะฮฺ บิบอัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวว่า :

 « لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يُجِلَّ كَبِيرَنَا وَيَرْحَمْ صَغِيرَنَا ويَعْرِفْ لِعَالِمِنا ». أخرجه الحاكم 

 “ผู้ใดที่ไม่ยกย่องผู้อาวุโสของเรา ไม่ปรานีต่อผู้เยาว์ของเรา และไม่ให้เกียรติต่อผู้รู้ของเรา ผู้นั้นไม่ใช่คนของเรา” 

[เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลหากิม หมายเลข 421  ดู เศาะฮีหฺ อัลตัรฆีบ วะอัลตัรฮีบ หมายเลข 95]


การเงียบเพื่อสดับฟังคำพูดของอุลามาอฺ

         มีรายงานจากญะรีร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวกับเขาในตอนหัจญ อัลวะดาอฺ (หัจญ์สุดท้าย ครั้งอำลาของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ) ว่า :

« اسْتَنْصِتِ النَّاسَ » فَقَالَ « لاَ تَرْجِعُوا بَعْدِى كُفَّارًا يَضْرِبُ بَعْضُكُمْ رِقَابَ بَعْضٍ » . متفق عليه

 “จงทำให้คนเงียบเสียงซิ” แล้วท่านก็พูดขึ้นว่า

“หลังจากที่ฉันสิ้นชีวิตแล้ว พวกท่านจงอย่าได้หวนกลับสู่นิสัยของพวกปฏิเสธศรัทธา โดยที่บางคนในหมู่พวกท่านต่างฟันคอฆ่ากันเอง” 

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 121  และมุสลิม หมายเลข 65]


เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เข้าใจ ก็จงไต่ถามผู้รู้จนเข้าใจ

มีรายงานจากอิบนุอบีมุลัยกะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่า :

أَنَّ عَائِشَةَ زَوْجَ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - كَانَتْ لاَ تَسْمَعُ شَيْئًا لاَ تَعْرِفُهُ إِلاَّ رَاجَعَتْ فِيهِ حَتَّى تَعْرِفَهُ ، وَأَنَّ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « مَنْ حُوسِبَ عُذِّبَ » . قَالَتْ عَائِشَةُ فَقُلْتُ أَوَ لَيْسَ يَقُولُ اللَّهُ تَعَالَى ( فَسَوْفَ يُحَاسَبُ حِسَابًا يَسِيرًا ) قَالَتْ فَقَالَ « إِنَّمَا ذَلِكَ الْعَرْضُ ، وَلَكِنْ مَنْ نُوقِشَ الْحِسَابَ يَهْلِكْ » . متفق عليه

“ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภริยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   นั้น ทุกครั้งที่นางได้ฟังสิ่งที่นางไม่เข้าใจ นางก็จะไต่ถามจนกระทั่งได้เข้าใจ

โดยครั้งหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถูกสอบสวนเขาก็จะต้องถูกลงโทษ”

อาอิชะฮฺเล่าว่า “ฉันจึงถามว่า “แล้วอัลลอฮฺมิได้ทรงกล่าวว่า : ดอกหรือ ? (แปลว่า : แล้วในภายภาคหน้าเขาก็จะถูกสอบสวนอย่างง่ายดาย) (อัลอินชิกอก : 8)

แล้วท่านก็ตอบว่า (อายัต) ดังกล่าวนั้นหมายถึงการนำเสนอ (ไม่ใช่การถูกสอบสวน) แต่หากผู้ใดถูกสอบสวนแล้วเขาก็จะต้องมีอันเป็นไป”

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 103  และมุสลิม หมายเลข 2876]


การทบทวนความจำที่เป็นอายัตอัลกุรอานหรือสิ่งอื่น ๆ

1- มีรายงานจากอบีมูสา อะลัยฮิสสลาม ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม   ได้กล่าวว่า :

« تَعَاهَدُوا الْقُرْآنَ فَوَالَّذِى نَفْسِى بِيَدِهِ لَهُوَ أَشَدُّ تَفَصِّيًا مِنَ الإِبِلِ فِى عُقُلِهَا » متفق عليه

          “พวกท่านจงหมั่นทบทวนอัลกุรอานอยู่เสมอ ซึ่งฉันขอสาบานด้วยพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า มัน (การจำอัลกุรอาน) นั้น ช่างเปรียวยิ่งกว่าอูฐที่ถูกล่ามเชือกเสียอีก ” 

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5033  และมุสลิม หมายเลข 791]

2- จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่า :

حَفِظْتُ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وِعَاءَيْنِ ، فَأَمَّا أَحَدُهُمَا فَبَثَثْتُهُ ، وَأَمَّا الآخَرُ فَلَوْ بَثَثْتُهُ قُطِعَ هَذَا الْبُلْعُومُ .  أخرجه البخاري

          “ฉันจดจำคำพูดของท่านเราะสูลุลลอฮฺสองประเภทด้วยกัน โดยประเภทหนึ่งฉันได้เปิดเผยแก่คนอื่น ส่วนอีกประเภทหนึ่งนั้น หากฉันเปิดเผยแล้ว หลอดอาหาร (ลำคอ) นี้ ก็คงต้องถูกฟันขาด”

     (นักอธิบายได้กล่าวว่า คำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ที่อบูฮุรัยเราะฮฺไม่เปิดเผยต่อผู้อื่นเพราะเกรงจะเป็นอันตรายต่อตัวเองนั้น เป็นคำพูดที่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้นหลังจากท่านนบีเสียชีวิตไป อย่างไรก็ตาม ในบั้นปลายชีวิตของเขา  เขาก็ได้เปิดเผยสิ่งเหล่านี้อย่างอ้อม ๆ โดยเลี่ยงที่จะระบุชื่อบุคคล เช่น ผ่านคำดุอาของเขาว่า ฉันขอหลีกไกลจากต้นปีที่ 60 และจากการปกครองของเด็ก ๆ อันหมายถึงการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะฮฺ เมื่อปีที่ 60 ฮ.ศ. ซึ่งอัลลอฮฺได้ตอบรับดุอาด้วยการให้เขาเสียชีวิตในปี 59 หนึ่งปีก่อนที่ยะซีด บินมุอาวิยะฮฺจะขึ้นปกครองรัฐอิสลาม ดู อัลฟัตหฺ อัลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 261 – ผู้แปล)

[บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 120]


ต้องตั้งสมาธิและตั้งใจฟัง

อัลลอฮฺ   ได้ทรงกล่าวว่า :

" แท้จริงแล้วในสิ่งดังกล่าวนั้นย่อมเป็นบทเรียน แก่ผู้ที่มีหัวใจหรือสดับฟังอย่างตั้งใจ"

(ก้อฟ : 37)

         การออกเดินทางและยอมระกำลำบากเพื่อแสวงหาความรู้ ตลอดจนการพยายามตักตวงวิชาพร้อมกับแสดงกริยาน้อบน้อมถ่อมตนในทุกโอกาส

อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา  ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  กล่าวว่า :

« بَيْنَمَا مُوسَى فِى مَلإٍ مِنْ بَنِى إِسْرَائِيلَ ، جَاءَهُ رَجُلٌ فَقَالَ هَلْ تَعْلَمُ أَحَدًا أَعْلَمَ مِنْكَ قَالَ مُوسَى لاَ . فَأَوْحَى اللَّهُ إِلَى مُوسَى بَلَى ، عَبْدُنَا خَضِرٌ ، فَسَأَلَ مُوسَى السَّبِيلَ إِلَيْهِ ، فَجَعَلَ اللَّهُ لَهُ الْحُوتَ آيَةً ، وَقِيلَ لَهُ إِذَا فَقَدْتَ الْحُوتَ فَارْجِعْ ، فَإِنَّكَ سَتَلْقَاهُ ، وَكَانَ يَتَّبِعُ أَثَرَ الْحُوتِ فِى الْبَحْرِ ، فَقَالَ لِمُوسَى فَتَاهُ أَرَأَيْتَ إِذْ أَوَيْنَا إِلَى الصَّخْرَةِ فَإِنِّى نَسِيتُ الْحُوتَ ، وَمَا أَنْسَانِيهِ إِلاَّ الشَّيْطَانُ أَنْ أَذْكُرَهُ . قَالَ ذَلِكَ مَا كُنَّا نَبْغِى ، فَارْتَدَّا عَلَى آثَارِهِمَا قَصَصًا ، فَوَجَدَا خَضِرًا . فَكَانَ مِنْ شَأْنِهِمَا الَّذِى قَصَّ اللَّهُ - عَزَّ وَجَلَّ - فِى كِتَابِهِ » متفق عليه

“ในขณะที่มูสากำลังอยู่พร้อมกับคณะชาวอิสรออีลนั้น ก็มีชายคนหนึ่งเข้ามาหา แล้วถามว่า “ท่านทราบไหมว่ามีคนที่รู้ดีกว่าท่าน?

มูสาตอบว่า “ไม่ทราบ”

แล้วอัลลอฮฺก็ดลใจให้คำตอบแก่มูสาว่า “ยังมี เขาคือบ่าวของเราชื่อ “เคาะฎิร”

       แล้วมูสาก็ถามถึงวิธีที่จะไปหาผู้นั้น อัลลอฮฺจึงใช้ปลาใหญ่เป็นตัวชี้สัญญาณให้แก่เขา และเขาได้ถูกสั่งว่า “เมื่อเจ้าไม่พบปลาใหญ่เจ้าก็จงย้อนกลับ แล้วเจ้าก็จะได้พบกับเขา”

       ซึ่งท่านก็ได้สะกดรอยตามปลาใหญ่ในทะเล .. แล้วคนรับใช้ของมูสาก็บอกแก่มูสาว่า “ท่านสังเกตุเห็นไหมว่าในตอนที่เราได้แวะพักที่โขดหิดนั้น ฉันได้ลืมจะสังเกตุดูปลาใหญ่ และที่ฉันลืมบอกไปก็เพราะมารชัยฏอนทำให้ฉันลืม”

       ท่านเลยกล่าวว่า “นั้นแหล่ะคือสิ่งที่เราค้นหา” แล้วทั้งสองจึงย้อนกลับตามทางเดิม แล้วก็ได้พบกับท่านเคาะฎิร ซึ่งเรื่องราวของคนทั้งสองก็เป็นไปตามที่อัลลอฮฺได้ทรงเล่าในคัมภีร์ของพระองค์ ” 

[มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 74  และมุสลิม หมายเลข 2380]

 

 


มารยาทของผู้ศึกษาหาความรู้  ตอน 2 >>>>Click