ดุนยา บัรซัค อาคิเราะฮ์
  จำนวนคนเข้าชม  46779

 

โดย อ. อับดุลเราะมัน จะอารง


إنَّ الحمْدَ لله نحْمَدُه ونسْتعِينُه ونسْتهْدِيه ونسْتغْفِرُه ونتوبُ إليه ، ونعوذُ باللهِ مِن شُرورِ أنْفسِنا ومِن سيِّئات أعْمالِنا ، مَن يهْدِه الله فلا مضلَّ له ومَن يضْلِل فلا هادِيَ له ، وأشْهدُ أن لا إله إلا الله وحدَه لا شريكَ له وأشْهدُ أن محمَّداً عبدُه ورسولُه ، بلَّغَ الرِّسالةَ وأدَّى الأمانةَ ونصَحَ الأمَّة ، اللهمَّ صلِّ وسلِّمْ وبارِكْ على عبدِك ورسولك محمَّدٍ وعلى أله وصحبِه ، أما بعْد :
 
          โลกตามทัศนะของอิสลาม และที่มีการกล่าวถึงในคัมภีร์อัล-กุรอานมี 3 โลกด้วยกัน คือโลกดุนยา โลกบัรซัคและโลกอาคีเราะฮ์


 โลกดุนยา


           โลกดุนยาคือ โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ปัจจุบันนี้ เริ่มต้นจากพระองค์อัลลอฮ์ทรงสร้างโลกและทรงสร้างมนุษย์คู่แรกคือ อาดัมและฮาวาอ์(อาดัมและอีฟ)อาศัยอยู่ มีลูกหลานมากมายเป็นเผ่าพันธุ์ ตั้งหลักแหล่งเป็นที่อยู่อาศัยและแตกกระจายไป เพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพในที่ต่าง ๆ บนทุกตารางนิ้ว ทุกประเทศ ทุกทวีปบนพื้นโลกนี้ พระองค์ได้ตรัสเกี่ยวกับโลกดุนยานี้ไว้ว่า

أَلَمْ نجْعَلِ الأرْضَ مِهاداً والجِبالَ أوْتاداً وخلَقْناكم أزْواجاً وجعلْنا نومَكم سُباتاً وجعلْنا اللَّيْلَ لِباساً وجعَلْنا النَّهارَ مَعاشاً وبَنَيْنا فوقَكمْ سبْعاً شِدادًا وجعلْنا سِراجاً وهَّاجاً  وأنْزَلْنا مِن المعْصِراتِ ماءً ثجَّاجاً لِنخْرِجَ بِه حبًّا ونباتاً وجنَّاتٍ ألفافاً (النَّبأ/6-14)

 ความว่า “เรามิได้ทำให้แผ่นดินเป็นพื้นราบดอกหรือ และมิได้ให้เทือกเขาเป็นหลักตรึงไว้ดอกหรือ และเราได้บังเกิดพวกเจ้าให้เป็นคู่ครองกัน และเราได้ทำให้การนอนของพวกเจ้าเป็นการพักผ่อน และเราได้ทำให้กลางคืนคล้ายเครื่องปกปิดร่างกาย และเราได้ทำให้กลางวันเป็นที่แสวงหาเครื่องยังชีพ และเราได้สร้างเหนือพวกเจ้าสิ่งที่แข็งแรงทั้งเจ็ด(ชั้นฟ้า) และเราได้ทำให้ดวงประทีปหนึ่งมีแสงสว่างจ้า และเราได้หลั่งน้ำลงมาอย่างมากมายจากเมฆฝน เพื่อว่าเราจะให้งอกเงยด้วยน้ำนั้นซึ่งเมล็ดพืชและพืชผัก และบรรดาเรือกสวนอันหนาแน่น(คือเราได้ให้น้ำฝนหลั่งลงมาจากก้อนเมฆ เพื่อให้น้ำฝนนั้นไหลกระจายออกไปเพื่อทำให้เมล็ดพืชและพืชผักต่างๆ 9 ชนิด เป็นการบ่งชี้ถึงเดชานุภาพของพระองค์ เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ยืนยันถึงความสามารถของพระองค์ที่จะให้มีการฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้ใดที่สามารถกระทำสิ่งต่าง ๆเหล่านี้ได้ย่อมมีความสามารถที่จะให้มีการคืนชีพอีกครั้งหนึ่งได้)”
 

โลกดุนยาที่กล่าวมานี้มีลักษณะดังนี้คือ
 

1.1 เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว ไม่ถาวร

 ความเป็นที่พักชั่วคราวที่ไม่ถาวรของโลกนี้ พระองค์ได้ทรงอธิบายขยายเพิ่มเติมอีกว่า

قالَ اهْبِطوا بعْضُكم لِبَعْضٍ عَدُوٌّ ولكُم في الأرْضِ مسْتَقَرٌّ ومتاعٌ إلى حِينٍ قالَ فيها تحْيَونَ وفيها تموتونَ ومنْها تخْرَجونَ (الأعراف/24-25)
 
ความว่า “พระองค์ตรัสว่า พวกเจ้า(อาดัม ฮาวาอ์และอิบลีส)จงลง(ออกจากสวนสวรรค์ไปสู่โลก) โดยที่บางส่วนของพวกเจ้าคือศัตรูกับอีกบางส่วน และในแผ่นดินนั้นมีที่พำนักและสิ่งอำนวยประโยชน์สำหรับพวกเจ้าจนถึงระยะเวลาหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า ในแผ่นดินนั้นแหละพวกเจ้าจะมีชีวิตอยู่ และในแผ่นดินนั้นแหละพวกเจ้าจะตาย และในแผ่นดินนั้นแหละพวกเจ้าจะถูกให้ออกมาอีก”

          ท่านเราะซูล  ได้อธิบายความไม่ถาวรของโลกนี้ในหะดีษบทหนึ่งที่รายงานโดย        อับดุลลอฮ์ บุตรอุมัรว่า

أخَذَ رسولُ الله صلَّى الله عليهِ وسلَّمَ بِمنْكِبَيَّ فقالَ : كُنْ في الدُّنْيا كأنَّكَ غريبٌ أو عابِرُ سبيلٍ . وكانَ ابْنُ عمرَ يقولُ : إذا أمْسَيْتَ فلا تنْتظِرِ الصَّباحَ وإذا أصْبَحْتَ فلا تنْتظِرِ المساءَ وخُذْ مِن صحَّتِك لِمرضِك ومِن حياتِك لِموتِك (رواه البخاري رقمُ الحديث 6416)

 ความว่า “วันหนึ่งท่านเราะซูล  ได้จับไหล่ของข้าพเจ้าและกล่าวว่า เธอจงอยู่บนโลกนี้เสมือนกับคนแปลกหน้า หรือเสมือนผู้ที่กำลังเดินทาง และอับดุลลอฮ์ บุตรอุมัรได้อธิบายประโยคที่ท่านรสูลได้กล่าวไว้ว่า เมื่อคุณมีชีวิตอยู่ในตอนเย็น(คุณจงปฏิบัติหน้าที่) และอย่ารอจนเช้ารุ่งขึ้น และเมื่อคุณมีชีวิตอยู่ในตอนเช้า คุณอย่ารอช่วงเย็น และจงฉกฉวยโอกาสของการมีสุขภาพดีเพื่อวันเจ็บป่วย และจงฉกฉวยโอกาสของการมีชีวิตอยู่เพื่อวันตาย”

1.2 เป็นที่พักอาศัยที่ดึงดูดให้มนุษย์เพลิดเพลิน

          โลกดุนยาเป็นที่สถานที่สนุกสนาน รื่นเริง ความฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่ไม่ศรัทธาในโลกหน้าจะหลง ระเริงกับความสุขสบาย การโอ้อวดกัน พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

اعْلَموا أنَّما الحياةَ الدُّنْيا لعِبٌ ولَهْوٌ وزينَةٌ وتفاخُرٌ بينَكم وتكاثُرٌ في الأمْوالِ والأوْلادِ (الحديد/20)

ความว่า “พึงทราบเถิดว่าแท้จริงการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกสนานร่าเริง และเครื่องประดับและความโอ้อวดระหว่างพวกเจ้า และการแข่งขันกัน สะสม
ในทรัพย์สินและลูกหลาน”

1.3 โลกนี้เปรียบเสมือนน้ำฝนลงมาจากฟากฟ้า

         พระองค์ทรงอธิบายการเปรียบเทียบนี้ใน  อายะฮ์

إنَّما مثلُ الحياةِ الدُّنْيا كماءٍ أنْزَلْناه مِن السَّماءِ فاخْتَلَطَ بِه نباتُ الأرْضِ ممَّا يأكُلُ الناسُ والأنْعامُ حتى إذا أخَذتِ الأرْضُ زُخْرُفَها وازَّيَّنَتْ وظنَّ أهلُها أنَّهم قادِرونَ عليْها أتاها أمرُنا ليْلاً أو نهاراً فجَعَلْناها حصيداً كأنْ لم تغْنَ بالأمْسِ كذلكَ نفصِّلُ الآياتِ لِقومٍ يتَفَكَّرون (يونُس/ 24)

ความว่า “แท้จริง อุปมาชีวิตบนโลกนี้ดั่งน้ำฝนที่เราได้หลั่งมันลงมาจากฟากฟ้า พืชของแผ่นดินได้คละเคล้ากับน้ำนั้น บางส่วนของมันมนุษย์และปศุสัตว์ใช้กินเป็นอาหาร จนกระทั่งเมื่อแผ่นดินได้เริ่มพรากความงดงามของมันและถูกประดับด้วยพืชผลอย่างสวยงาม เจ้าของของมันก็คิดว่า แท้จริงพวกเขามีอำนาจเหนือมัน คำบัญชาของเราได้มายังมันในเวลากลางคืน หรือเวลากลางวันแล้วเราได้ทำให้มันถูกเก็บเกี่ยว เสมือนกับว่าไม่มีการหว่านมาแต่วันวาน(อันเนื่องมาจากความหยิ่งผยองของมนุษย์ที่เป็นเจ้าของที่ดิน เรือกสวนไร่นา มนุษย์บางคนคิดว่า พืชผลที่เขาเก็บเกี่ยวได้นั้นเป็นผลมาจากน้ำพักน้ำแรงของเขา ถ้าเขามีสติปัญญาคิดบ้างว่า หากมิใช่ความเอ็นดู เมตตาของอัลลอฮ์พระเจ้าของพวกเขาแล้ว พืชผลเหล่านี้จะมีสภาพเป็นอย่างไร เมื่อคำบัญชาของพระองค์ให้เรือกสวนไร่นาของเขากลายสภาพที่โล่งเตียน)เช่นนั้นแหละ เราจำแนกโองการต่าง ๆแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ”

1.4 ความแตกต่างระหว่างโลกนี้กับโลกอาคีเราะฮ์

เราไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้เลยระหว่างโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮ์แม้พียงน้อยนิด ท่านเราะซูล   ได้กล่าวไว้ว่า

مَوْضِعُ سَوطِ الجنَّةِ خيرٌ من الدُّنْيا وما فيها ولغَدْوَةٌ في سبيلِ الله أو رَوْحةٌ خيرٌ من الدنْيا وما فيها (رواه البخاري رقم الحديث 6415)

ความว่า “ที่วางไม้เท้าในสวรรค์ดีกว่าโลกนี้และสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ แท้จริง เวลากลางวันเสี้ยวหนึ่งของผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ หรือช่วงบ่ายเสี้ยวหนึ่งดีกว่าโลกนี้และสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ "

ตอนที่ 2 โลกบัรซัค >>>>Click