สงครามบะดัร
ดร.อัดุลลอฮฺ อิบนุ อับดิรเราะฮ์มาน อัลค็อรอาน
ประมาณ5ปีแรกหลังจากการฮิจญ์เราะห์ ชาวกุเรชได้นำกองทหารเข้าสู่นครมะดีนะฮ์ โดยมีความมุ่งหวังจะทำลายรัฐอิสลามให้ราบคาบลง ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้สู้รบกันหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งจะนำเสนอโดยสรุปที่สำคัญๆ ได้แก่ สงครามบะดัร สงครามอุฮุด และสงครามอัลอะฮฺซ๊าบ ฯลฯ
สงครามบะดัร เป็นสงครามแรกที่จำแนกระหว่างบรรดามุสลิมกับบรรดามุชริก ซึ่งจากสาเหตุของสงคราม ตลอดจนขั้นตอน ทำให้ทราบได้ว่า แท้จริง อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงมีพระประสงค์ที่จะขจัดความอ่อนแอของบรรดามุสลิมที่ดำเนินวิถีชีวิตตามรูปแบบในมักกะฮ์ และพวกมุชริกได้กระทำต่อชาวมุสลิมอย่างทารุณโหดเหี้ยม เช่นเดียวกันกับที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้เป็นบทเรียนอันเจ็บปวดแก่บรรดาชาวกุเรช ตลอดจนการสลายอำนาจของพวกเขา และให้เป็นบทเรียนแก่คนทั่วไปว่า พลังที่แท้จริงนั้น คือพลังแห่งศรัทธา แท้จริงแล้ว อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงช่วยเหลือคุ้มครองท่านนะบี รวมถึงศาสนาของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจน
หลังจากที่ท่านเราะซูล ได้จัดระบบภายในของเมืองมะดีนะฮ์เรียบร้อยแล้ว จึงหันมาเพื่อทำการตอบโต้พวกกุเรชบ้าง และทวงสิ่งที่ถูกยึดจากบรรดาผู้อพยพกลับคืน ซึ่งมีทั้งทรัพย์สินและที่พักอาศัย
โอกาสได้มาถึง ในขณะที่ท่านทราบว่ากองคาราวานสินค้าของชาวกุเรชได้ออกมุ่งหน้าไปยังเมืองชาม ท่านจึงรอคอยกองคาราวานที่บรรทุกสินค้าต่างๆที่กำลังเดินทางกลับมา ครั้นเมื่อกองคาราวานมาถึงท่านจึงออกไปพร้อมกับบรรดาศอฮาบะฮ์ที่มีความสามารถ เพื่อกั้นขวางกองคาราวานนั้นอย่างรวดเร็ว ท่านนะบี ได้กล่าวว่า :
(( فَمَنْ كَانَ ظَهْرُهُ حَاضِرًا فَلْيَرْكَبْ مَعَنَا ))
“ใครที่มีพาหนะพร้อม ก็ให้รีบออกไปกับเราทันที” (*1*)
ท่านเราะซูล ได้ออกไปพร้อมกับศอฮาบะฮ์เพื่อสกัดกองคาราวานนั้น แต่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงมีพระประสงค์อื่น กองคารวานจึงได้หลุดรอดไป ผู้นำกองคารวานคือ อบูซุฟยาน ได้ส่งคนมาตรวจเส้นทางและรู้ว่าบรรดามุสลิมได้ออกมาสกัดกั้นเส้นทางนั้น เขาจึงหลบเลี่ยงเปลี่ยนไปเส้นทางอื่นด้านชายฝั่งทะเลแดงแทน พร้อมทั้งส่งคนไปบอกพวกกุเรช ให้ออกมาอารักขากองคาราวานสินค้าของพวกเขา จึงได้มีชาวกุเรชพากันออกมาเป็นจำนวนมากมีประมาณ 1300 นาย และหลังจากที่ได้ทราบข่าวการรอดพ้นของกองคาราวาน บางกลุ่มจึงเห็นว่าสมควรกลับสู่มักกะฮ์ แต่ อบูญะฮัล ได้หลงตนเองจึงคิดแผนการออกอุบาย แล้วเขาจึงพูดว่า :
“เรายังจะไม่กลับเข้ามักกะฮ์ จนกว่าเราจะได้ไปที่บะดัรเสียก่อน ไปอยู่สักสามวัน เราจะเชือดอูฐหนุ่มและกินดื่มสุราเลี้ยงฉลอง มีทั้งนักร้องนักเต้นให้เราได้ชม เพื่อว่าชาวอาหรับจะได้กล่าวขวัญถึงชื่อเสียงและความเป็นอยู่ของพวกเราอย่างยิ่งใหญ่ และพวกเขาจะได้มีความเกรงกลัวพวกเราตลอดไป”
มีคนจำนวนมากหลงเชื่อ ส่วนที่กลับมักกะฮ์มีประมาณ 300 นาย อบูญะฮัลได้พาพรรคพวกเดินทางไปจนไปถึงแหล่งน้ำที่บะดัร กองคาราวานของกุเรชได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมีจำนวนมากของกุเรชได้มุ่งหน้าสู่บะดัรเพื่อเป็นการแสดงพลังของพวกตนเพื่อข่มขู่บรรดามุสลิม ท่านนะบีมุฮัมหมัด จึงมีคำสั่งสำหรับสถานการณ์นี้ ท่านได้เรียกบรรดาศอฮาบะฮ์มาร่วมประชุมหารือกันในการที่จะต้องไปประจัญหน้ากับพวกกุเรชและทำการสู้รบ บรรดาผู้อาวุโสของมุฮาญิรีนจึงได้กล่าวสนับสนุนให้ออกไปต่อสู้และใช้คำพูดเพื่อปลุกเร้าทำให้เกิดความจูงใจ ท่านเราะซูล จึงกล่าวชมเชยและขอดุอาอ์ให้แก่พวกเขา และให้คนทั้งหลายเสนอความคิดเห็นอีก โดยท่านต้องการทราบท่าทีของชาวอันศ็อร เพราะพวกเขามีจำนวนมากกว่า และการทำสัตยาบันที่ “อะกอบะฮ์” ครั้งที่ 2 นั้น มิได้ระบุให้พวกเขาต้องออกทำสงครามพร้อมกับท่านที่นอกเมืองมะดีนะฮ์ แต่ชาวอันศ็อรมีความเข้าใจดีถึงเจตนาของท่านนะบี ผู้ที่ถือธงนำทัพมีชื่อว่า : สะอด์ บิน มุอ๊าซ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ จึงได้พูดว่า :-
واللهِ لَكَأَنَّكَ تُرِيْدُنَا يَا رَسُوْلَ الله ؟ قَالَ : أَجَل . فَقَالَ سَعْد : فَقَدْ آمَنَّا بِكَ وَ صَدَّقْنَاكَ ، وَشَهِدْنَا أَنَّ مَا جِئْتَ بِهِ هُوَ الْحَقُّ ، وَأَعْطيْنَاكَ عَلىَ ذلِكَ عُهُوْدَنَا وَمَوَاثِيْقَنَا عَلىَ السَّمْعِ وَالطَّاعَةِ ، فَامْضِ يَا رَسُوْلَ الله لِمَا أَرَدْتَ ، فَوَالَّذيْ بَعَثَكَ بِالحَقِّ لَوْ اسْتَعْرَضْتَ بِنَا هذا البَحْرَ فَخُضْتَهُ لَخُضْنَاهُ مَعَكَ مَا تَخَلَّفَ مِنَّا رَجُلٌ وَاحِدٌ ، وَمَا نَكْرَهُ أَنْ تَلْقىَ بِنَا عَدُوُّنَا غَدًا ، إِنَّا لَصُبُرٌ فِي الحَرْبِ ، صُدُقٌ عِنْد َ اللِّقَاءِ ، وَلَعَلَّ اللهَ يُرِيْكَ مَا تَقِرُّ بِهِ عينُكَ ، فَسِرْ بشنَا علىَ بَرَكَةِ اللهِ
فَسُرَّ بِذلِكَ رَسُوْلُ الله صلى الله عليه وسلم فَقَالَ : سِيْرُوْا وَأَبْشِرُوْا
ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ครับ ดูเหมือนว่าท่านหมายถึงพวกเรา
ท่านเราะซูลุลลอฮ์ จึงตอบว่า : ใช่แล้ว
ดังนั้น สะอด์จึงพูดต่อไปว่า : แน่นอน พวกเราได้มีศรัธาต่อท่าน เชื่อตามท่านและเราได้ยืนยันแล้วว่าสิ่งที่ท่านนำมานั้นเป็นเรื่องจริง แล้วเราได้ให้คำมั่นสัญญาในการเชื่อฟังท่าน ดังนั้นขอท่านจงออกไปสู้เถิด ท่านเราะซูล ของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตามความประสงค์ของท่าน ฉันขอสาบานด้วยผู้ซึ่งที่ได้ส่งท่านมาพร้อมกับความจริง หากท่านนำพาพวกเราไปสู่ท้องทะเล แล้วท่านข้ามไป แน่นอนพวกเราก็จะข้ามไปพร้อมกับท่าน จะไม่มีใครจากพวกเราขาดหายไปแม้เพียงสักคนเดียว แล้วเราไม่รังเกียจต่อการที่พวกเราจะไปเผชิญหน้ากับศัตรูของพวกเราในวันพรุ่งนี้ พวกเราอดทนอย่างแน่นอน ในสภาวะสงครามที่เต็มไปด้วยความจริงใจในขณะประจัญบานและหวังว่าอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะให้ท่านได้เห็นสิ่งที่ตาทั้งสองของท่านจะมีความสุข ดังนั้น ท่านจงพาเราไปด้วยกับความจำเริญของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เถิด
ท่านเราะซูลลุลลอฮ์ มีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งกับคำพูดนั้น แล้วท่านได้พูดว่า : พวกท่าน จงออกไปพร้อมกับข่าวดีได้เลย
การสู้รบในสงครามบะดัร
บรรดามุสลิมได้ออกไปประจัญหน้ากับพวกมุชริกีนที แหล่งน้ำบะดัร และเพื่อว่าอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะทรงให้มีการสู้รบเกิดขึ้น พระองค์ทรงทำให้บรรดามุสลิมมองเห็นจำนวนของมุชริกีนมีจำนวนเพียงเล็กน้อย และทำให้ในสายตาพวกมุชริกีนมองเห็นบรรดามุสลิมีนมีจำนวนมาก
พระองค์ ทรงตรัสไว้ว่า :
“และจงรำลึกขณะที่พระองค์ให้พวกเจ้าเห็นพวกเขามีจำนวนน้อยในสายตาของพวกเจ้าขณะที่พวกเจ้าเผชิญหน้ากัน และทรงให้พวกเจ้ามีจำนวนมากในสายตาของพวกเขา เพื่อที่อัลลอฮ์ จะทรงให้งานหนึ่งเสร็จสิ้นไป ซึ่งงานนั้นได้ถูกกระทำไว้แล้ว และยังอัลลอฮ์นั้น กิจการทั้งหลายจะถูกนำกลับไป”
(อัลอันฟาล 8:44)
การสู้รบได้เริ่มขึ้นโดยการดวลดาบกันของแต่ละฝ่าย แล้วได้จบสิ้นลงด้วยชัยชนะของฝ่ายมุสลิม ต่อมาการสู้รบอันรุนแรงได้ปะทุขึ้นอย่างหนักหน่วง ส่งผลให้พวกมุชริกีนได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก พวกเขาถูกสังหารไปถึง 70 ศพ ในจำนวนนั้นมีระดับหัวหน้ารวมอยู่ด้วย ได้แก่ อบูญะฮัล และถูกจับเป็นเชลยอีก 70 คน ส่วนบรรดามุสลิมีนได้เสียชีวิตในสงคราม (ชะฮีด) จำนวน 14 ท่านเท่านั้น
ชัยชนะในสงครามบะดัร
ผลของการทำสงครามที่บะดัรทำให้ชาวกุเรช รวมถึงเผ่าต่างๆที่เป็นมุชริกต้องเสียขวัญ และเป็นความแปลกประหลาดที่พวกวัตถุนิยมที่ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้นี้ แต่นี่เป็นสิ่งยืนยันแล้วแก่บรรดาผู้ยอมรับแนวทางแห่งพระเจ้าในจักรวาล สาเหตุที่ชัดเจนแห่งชัยชนะของบรรดามุสลิมมีดังนี้ ;
1. ความพอใจในสิ่งตัวเองที่มีอยู่ ท่านเราะซูล ได้ใช้อาวุธที่สำคัญยิ่ง คือการฝึกเหล่าซอฮาบะฮ์ให้มีความพอใจในสิ่งตัวเองมีในการสู้รบกับฝ่ายศัตรู ซึ่งจะชดเชยกับกำลังพลของฝ่ายมุสลิมีนที่มีน้อยกว่า และกำลังใจได้ตั้งมั่นอยู่บนความปรารถนาในสิ่งที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงจัดเตรียมไว้ให้แก่บรรดานักต่อสู้ด้วยกับผลบุญอันยิ่งใหญ่ จะเห็นตัวอย่างจาก เรื่องราวของ อุมัยร์ บิน อัลฮัมมาม รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ในขณะที่ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ได้ปลุกเร้าให้บรรดาซอฮาบะฮ์ ทำการต่อสู้โดยท่านกล่าวว่า :
قُوْمُوْا إِلىَ جَنَّةٍ أَرْضُهَا السَمَاوَاتُ والأَرْضِ
فَقَالَ عُمَيّرمُتَعَجِّبًا : يَارَسُوْلَ الله ، أَجَنَّةٌ عَرْضُهَا السَمَاوَاتُ والأَرْضِ ؟
قَالَ : نَعَمْ فَأَخْرَجَ تَمْرَاتٍ كَانَتْ مَعَهُ وَأَكَلَ مِنْهَا
ثُمَّ قَالَ : لَئِنْ أَنَا حُيِّيْتُ حَتىَ آكُلَ تَمَرَاتِي هذه إِنَّهَا لَحيَاةٌ طَوِيْلَة ، فَرَمىَ مَا تَبْقىَ مَعَهُ ثُمَّ قَاتَلَ حَتَّى قُتِلَ
“พวกท่านทั้งหลายจงไปสู่สวรรค์กันเถิด ซึ่งความกว้างใหญ่ไพศาลของสวรรค์นั้นดั่งบรรดาชั้นฟ้าและผืนดิน”
อุมัยร์ จึงได้พูดด้วยความปีติยินดีว่า : “โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ สวรรค์ที่มีความกว้างดั่งบรรดาชั้นฟ้าและผืนแผ่นดินกระนั้นหรือ?!”
ท่านตอบว่า : “ใช่แล้ว”
แล้วเขาได้เอาผลอินทผลัมหลายผลที่ติดตัวอยู่ออกมาและรับประทานไปบ้าง หลังจากนั้นเขากล่าวว่า : “แน่นอน หากฉันมีชีวิตอยู่ต่อไปจนกินอินทผลัมนี้หมด มันช่างเป็นชีวิตที่ยาวนานมาก”
แล้วเขาได้ขว้างผลอินทผลัมที่เหลือทิ้งไปและทำการสู้รบจนเขาถูกสังหารในที่สุด (*2*)
2. การขอดุอาอฺ ท่านเราะซูล ได้ใช้อาวุธอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผลให้ได้รับชัยชนะ คือ การขอดุอาอ์ ซึ่งในดุอาอ์นั้นจะนำมาซึ่งชัยชนะจากผู้ที่ให้ชัยชนะ
ดังคำตรัสของพระองค์ที่ ว่า :
“หากว่าอัลลอฮ์ ทรงช่วยเหลือพวกเจ้า ก็จะไม่มีผู้ใดชนะพวกเจ้าได้ และหากพระองค์ทรงทอดทิ้งพวกเจ้าแล้ว ก็ผู้ใดเล่าจะช่วยเหลือพวกเจ้าได้หลังจากพระองค์ และแด่อัลลอฮ์นั้น ผู้ศรัทธาทั้งหลายจงมอบหมายเถิด ”
(อาละอิมรอน 3 160)
ท่านนะบี ได้ลุกขึ้นในยามค่ำคืนของสงคราม ในขณะที่ผู้คนทั้งหลายกำลังนอนหลับสนิท ท่านได้เฝ้าขอดุอาอ์ต่อพระเจ้าของท่านด้วยการวิงวอนต่อพระองค์ให้ได้รับชัยชนะ และเป็นอยู่เช่นนั้นจนกระทั่งรุ่งเช้า ท่านอบูบักร รอฎิยัลลอฮุอันฮุ รู้สึกสงสาร เห็นใจท่าน และกล่าวกับท่านนะบี ว่า :
(( يَا رَسُوْلَ الله : كَفَاكَ مُنَاشَدَتُكَ رَبَّكَ فَإِنَّهُ سَيُنْجِزُ لَكَ مَا وَعَدَكَ ))
“โอ้ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ท่านพอได้แล้วจากการขอต่อพระผู้อภิบาลของท่าน แท้จริง พระองค์จะทรงประทานให้กับท่านตามที่พระองค์ได้ทรงให้สัญญาไว้” (*3*)
3.การเข้าร่วมรบของบรรดามลาอิกะฮ์ อีกสาเหตุหนึ่งแห่งชัยชนะของบรรดาผู้ศรัทธาได้แก่ อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงส่งบรรดามลาอิกะฮ์มาเป็นกำลังเสริม ทำให้หัวใจของพวกเขามั่นคง เหล่ามลาอิกะฮ์ได้สู้รบกับศัตรูพร้อมกับพวกเขาด้วย ดังมีหลักฐานจากอัลกุรอานได้บ่งชี้ไว้ ตลอดจนมีหะดีษที่ซอเฮี๊ยะที่ระบุว่า บรรดามลาอิกะฮ์มาร่วมรบพร้อมกับบรรดาผู้ศรัทธา(*4*) สงครามบะดัรจบลงตามเป้าหมายที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงประสงค์
ดังคำตรัสของพระองค์ ว่า :
และจงรำลึกขณะที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงสัญญาไว้กับพวกเจ้า ซึ่งหนึ่งในสองกลุ่มว่ามันเป็นของพวกเจ้าและพวกเจ้าชอบที่จะให้กลุ่มที่ไม่มีกำลังอาวุธนั้นเป็นของพวกเจ้า แต่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงต้องการให้ความจริงเป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้นด้วยพจนารถของพระองค์ และจะทรงตัดขาดซึ่งคนสุดท้ายของผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย
"เพื่อพระองค์จะทรงให้สิ่งที่เป็นจริงได้เป็นที่ประจักษ์ และให้สิ่งเท็จได้เป็นที่ประจักษ์ชัดและแม้ว่าบรรดาอาชญากรผู้กระทำความผิดจะเกลียดชังไม่พอใจก็ตาม”
(อัล อันฟาล 8 : 7-8)
...ประเด็นต่างๆในการศึกษาชีวประวัตินะบีมุฮัมมัด
-
ดูซอฮี๊ฮฺ มุสลิม กิตาบ อิมาเราะฮ์ บาบ ษุบูตุ้ลญันนะฮ์ ลิชชะฮีด
-
เรื่องของอุมัยรฺ ดูที่หนังสือซอฮี๊ฮฺ มุสลิม เล่ม 3 15091510 หะดีษที่ 1901 ซีเราะตุบนิฮิชาม หน้า 267-268 อิบนุ สะอ์ดฺ อัฏฏอบะก็อต อัลกุบรอ เล่ม 2 หน้า 25
-
การขอดุอาอฺของท่านนบีและการสำรวมของท่านในสงครามบะดัร ดู ซอฮี๊ฮฺ อัลบุคอรีย์ กิตาบ อัล มะฆอซีย์ บาบ “อิซตัษตะฆีษูนะร็อบบะกุม” หะดีษที่ 3959 ซอฮี๊ฮฺ มุสลิม กิตาบ อัล ญิฮาด บาบ อัล อิมดาดบิลมลาอิกะฮฺ ซีเราะฮฺ อิบนิ ฮิชาม หน้า 267
-
คัดมาจากหะดีษซอฮี๊ฮฺของอัลบุคอรีย์ กิตาบ อัล มะฆอซีย์ บาบ ซุฮูบุลมลาอิกะฮ์บัดรอน และซอฮี๊ฮฺมุสลิม กิตาบุ้ลญิฮาด บาบ อัลอิมดาดบิลมลาอิกะฮฺ