ชาวอาหรับก่อนการแต่งตั้งศาสดา
  จำนวนคนเข้าชม  17397

สภาพของชาวอาหรับก่อนการแต่งตั้งศาสดา


ศาสนาของชาวอาหรับ

          ก่อนที่มุฮัมมัดจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา  ชนชาติอาหรับส่วนใหญ่เคารพบูชาเจว็ด(รูปปั้น) โดยพวกเขาเชื่อว่ามีพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและเป็นผู้บริหารจัดการ 

             
           และหากเจ้าถามพวกเขา ว่าใครเป็นผู้สร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และทำให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์ แน่นอน พวกเขาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์ แล้วทำไมเล่าพวกเขาจึงหันเหไปทางอื่น       
( อัลอังกะบู๊ต อายะห์ ที่ 61 )

          แต่การเคารพเจว็ดของพวกเขา  ทำให้มีการปฏิเสธการเคารพอัลลอฮ์  พวกเขาเอาเจว็ดมาเป็นภาคีในการทำอิบาดะฮ์  แต่ละเผ่าจึงมีเจว็ดไว้ทำการเคารพโดยเฉพาะ และพวกเขาปฏิเสธเรื่องการฟื้นคืนชีพหลังจากตายไปแล้ว ดังที่อัลลอฮ์   ตรัสไว้ในอัลกุรอาน ความว่า  :

           ไม่มีชีวิตอะไรอีก นอกจากการดำรงชีวิตของเราในโลกนี้เท่านั้น  เราจะตายไป และ (บางคนในพวก)เราก็จะมีชีวิตอยู่ และพวกเราจะไม่ถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก                                            
(อัลมุอฺมินูน  อายะห์ ที่ 37 )

          ความเชื่อเหล่านี้ได้ตกทอดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย  โดยพวกเขาไม่ได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองถึงความถูกต้องในเรื่องดังกล่าวเลย   เพียงแต่พูดว่า :

           เปล่าเลย พวกเขากล่าวว่า แท้จริง เราได้พบเห็นบรรพบุรุษของเราอยู่ในแนวทางนี้ ดังนั้น เราจึงดำเนินตามแนวทางของพวกเขาเท่านั้น 
(อัซซุครุฟอายะห์ ที่ 22)

          นอกจากพวกอาหรับที่เคารพเจว็ดแล้ว  ยังมีชนกลุ่มต่างๆ คือ พวกยะฮูดีย์  ที่เมืองยัซริบและเมืองคอยบัรส่วนทางเมืองนัจญ์รอน มีพวกนะซอรอ แต่มีจำนวนเพียงเล็กน้อยที่เข้าใจถึงความไม่ถูกต้องในการตั้งภาคีของชาวอาหรับชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นจึงเคารพพระเจ้าตามศาสนาของอิบรอฮีมพวกนี้เรียกว่า  المتحنثون


สภาพทางการเมือง การปกครอง

          ก่อนการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา มีหลายประเทศเกิดขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ  เช่น เยเมน ชาม และ อีรัก  แต่ประเทศต่างๆเหล่านั้นได้ล่มสลายไปก่อนที่ท่านนะบี  จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา จึงทำให้คาบสมุทรอาหรับมีระบบการปกครองที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การปกครองจึงเป็นในรูปแบบของแต่ละเผ่าแต่ละตระกูล ปกครองสมาชิกตามขนบธรรมเนียม  และกฎระเบียบของแต่ละเผ่า โดยที่พวกเขาพร้อมที่จะต่อสู้และปกป้องเกียรติยศ และศักดิ์ศรีของเผ่าตน   ซึ่งแต่ละเผ่าต้องรับผิดชอบในด้านการปกครองสมาชิก และยืนเคียงข้างเผ่าของพวกเขาไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม  จากผลลัพธ์ดังกล่าว จึงได้เกิดสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง บางสงครามก็ใช้เวลาสู้รบกันเป็นเวลาหลายปี อันเนื่องมาจากการขัดแย้งของสมาชิก เช่น ในสงคราม ( البسوس , داحس ، غبراء ) จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงถือว่าเป็นการปูทางเพื่อรับเอาศาสนาอิสลาม เพราะพวกเขาได้สูญเสียญาติพี่น้องไปเป็นจำนวนมาก และทำให้สภาพการต่างๆเลวร้ายลง จึงมีการถามหาทางออกที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากสภาพดังกล่าว  และแล้วศาสนาอิสลามจึงเป็น ทางออกให้กับพวกเขา


สภาพทางสังคม

           ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา สังคมชาวอาหรับมีจริยธรรมและประเพณีที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป
          
          ความประพฤติและประเพณีที่ไม่ดีได้แก่ การดื่มสุรา การเล่นการพนัน การฝังลูกผู้หญิงทั้งเป็นในบางตระกูล  อิสลามได้ห้ามสิ่งต่างๆโดยเด็ดขาด และให้ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดีให้หมด และนำสิ่งที่ดีกว่ามาให้พวกเขา สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้พวกอาหรับหันไปดื่มสุรา  ก็เพื่อต้องการขจัดความหวาดกลัว  ความเดือดร้อนที่มาประสบ การสูญเสียพวกพ้อง ญาติพี่น้อง  ที่ต้องตายไปในการต่อสู้สงครามระหว่างเผ่าพันธุ์ และการใช้ชีวิตที่ลำบากยากเข็ญ เมื่อศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ สุราเป็นสิ่งต้องห้าม  เพราะส่งผลเสียต่อร่างกายและสติปัญญา     และอิสลามได้มีทางออกในการแก้ปัญหาความกลัดกลุ้ม ด้วยการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ นำมาซึ่งความมั่นใจ และความสงบมาสู่กลุ่มชน
         
          อิสลามห้ามการฝังเด็กผู้หญิงทั้งเป็น เพราะว่าชาวอาหรับนั้นกลัวความอับอายเมื่อสตรีตกเป็นเชลย   เป็นที่รู้กันดีว่าคนอาหรับเมื่อถูกหยามเกียรติ เขาจะไม่ยอม  หรือไม่ก็ฝังเด็กผู้หญิงเพราะกลัวความยากจน  ด้วยเหตุนี้ คนอาหรับจำนวนไม่น้อยในสมัยนั้นไม่ชอบที่จะได้ลูกผู้หญิง   และจะดีใจมาก เมื่อเขาได้ลูกผู้ชาย ศาสนาอิสลามได้ห้ามการกระทำดังกล่าว และห้ามมองสตรีแบบเหยียดหยาม  อิสลามยกย่องให้เกียรติสตรีตามสถานที่เหมาะสมของนาง

          จริยธรรมอันดีงามของชาวอาหรับที่มีเหนือกว่าชนชาติอื่น คือ ความกล้าหาญ ความใจบุญ การรักษาสัญญา มีสติปัญญาที่ปราดเปรื่อง และมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย  อิสลามเน้นให้ยึดมั่นต่อจริยธรรมที่ดีงาม และใช้ให้ถูกต้องจากจริยธรรมที่ดีงามเหล่านี้  ชาวอาหรับจึงสมควรได้รับเกียรติในการอุ้มชูอิสลามและแบกรับภาระในการเผยแพร่อิสลามตั้งแต่เริ่มแรก

 

ดร.อัดุลลอฮฺ  อิบนุ อับดิรเราะฮ์มาน อัลค็อรอาน

 ...ประเด็นต่างๆในการศึกษาชีวประวัตินะบีมุฮัมมัด