ท่านจงละหมาดเถิด
  จำนวนคนเข้าชม  109

ท่านจง ล ะ ห ม า ด เถิด

 

เพจบันทึกฮัก...แปลเรียบเรียง

 

 

อิบนิ อุษัยมีน -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"ละหมาดซุบฮิ..ละหมาดดุฮฺริ..ละหมาดอัสริ..ละหมาดมักริบ..ละหมาดอิชา ทั้งหมดนี้คือละหมาดที่ถูกกำหนดเวลาแน่นอนไว้แล้ว"

     ดั่งที่อัลลอฮฺตรัสว่า:

"แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย"

     ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดล่าช้าจนเลยเวลา โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับ ถึงแม้จะละหมาดเป็นพันครั้งก็ตาม

     เพราะการละหมาด คือ อิบาดะฮฺที่ถูกกำหนดเวลาตายตัวไว้แล้ว เมื่อไม่อนุญาตให้ละหมาดก่อนเข้าเวลา ก็ไม่อนุญาตให้ละหมาดเมื่อเลยเวลาเช่นกัน"

 

 

 

     มีคนถาม ท่าน มัยมูน อิบนิ มะฮฺรอน ว่า : "ขั้นไหนกันที่(อนุญาต)ให้ผู้ป่วยสามารถละหมาดในท่านั่งได้ ?

     ท่านตอบว่า : ขั้นที่ว่าถ้าหากดุนยาถูกนำมาเสนอตรงหน้า แต่เขาก็ยังไม่สามารถที่จะลุกขึ้นมาหามันได้ (ถ้าถึงขั้นนั้น เขาสามารถนั่งละหมาดได้)"

مُصَنَّفُ إِبْنِ أَبِيٰ شَيْبَة ٤٦٤١

 

 

 

อิบนุ อุษัยมีน -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"เวลาของเราเหลือไม่มากแล้ว จงฉวยเวลาที่มีเอาไว้ให้ดีเถิด

แบ่งเวลาสักส่วนหนึ่งเพื่ออ่านอัลกุรอ่าน ให้เวลากับตัวเองเพื่อปฏิบัติการงานที่ดี

ตื่นขึ้นมาในช่วงสุดท้ายของเวลากลางคืน แม้จะแค่ครึ่งชั่วโมงก่อนละหมาดฟะญัร

เรียกหาอัลลอฮฺ วิงวอนขอต่อพระองค์ เพราะช่วงเวลานั้นพระองค์จะลงมายังชั้นฟ้าดุนยาและกล่าวว่า

''ผู้ใดเรียกหาข้า ข้าจะตอบรับเขา ผู้ใดขอต่อข้า ข้าจะประทานให้เขา และผู้ใดขออภัยโทษต่อข้า ข้าก็จะอภัยให้แก่เขา"

 

 

 

อิบนิ อุษัยมีน -ร่อฮิมะฮุลลอฮ-

 

     การรู้จักขอบคุณเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่มุสลิมจำเป็นต้องมี

     “หนึ่งในเรื่องราวอันน่าเศร้าและถือเป็นความผิด คือการที่มนุษย์เสวยสุขอยู่กับความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ทั้งสภาพยืน สภาพนั่ง สภาพนอน และสภาพตื่น เพลิดเพลินอยู่กับความปลอดภัยและความสุขสบาย ว้าวุ่นอยู่กับการสะสมทรัพย์สมบัติ ลูกหลานและมิตรสหาย แต่กลับไม่น้อมรับคำสั่งของพระองค์ นอนจนแสงตะวันโผล่โดยไม่ละหมาดฟะญัร ได้ยินเสียงอะซานแต่ไม่ลุกไปมัสยิด

[อัฎฎิยาอุล ลาเมียะอฺ 396/2]

 

 

 

ชัยคฺ ซอและห์ อัลอุศ็อยมียฺ -ฮะฟิซ่อฮุลลอฮฺ-

 

ลักษณะต่างๆของการละหมาดตะรอเวียะฮฺ

     สภาพที่หนึ่ง : สภาพที่ท่านนบีปฏิบัติ จำนวนร่อกาอัตน้อย แต่การอ่าน(อัลกุรอาน) ในละหมาดนาน

     สภาพที่สอง : สภาพของบรรดาสลัฟ  จำนวนร่อกาอัตมาก แต่การอ่าน(อัลกุรอาน) ในละหมาดน้อย

     สภาพที่สาม : สภาพของผู้คนในยุคสมัยหลังจากนั้น จำนวนร่อกาอัตน้อย และการอ่าน(อัลกุรอาน) ในละหมาดน้อยเช่นกัน ซึ่งการละหมาดในลักษณะนี้ถือเป็นสิ่งที่น่าตำหนิและควรออกห่าง

 

 

 

อบุล ฮะซัน อิบนิ บัฏฏ้อล -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     "ผู้ใดมีความผิดมาก และประสงค์จะให้อัลลอฮฺลบล้างความผิดเหล่านั้นให้แก่เขา โดยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยใดๆ

     จงพยายามอยู่ในที่ๆ มีการละหมาดจนกว่าการละหมาดจะเสร็จสิ้นเถิด ทั้งนี้เพื่อจะได้รับดุอาอันมากมายจากบรรดามลาอิกะฮฺ และการขออภัยโทษ(จากบรรดามลาอิกะฮฺ)ให้แก่เขา"

 

 

 

อัลอิหม่าม อิบนุ กุดามะฮฺ อัลมักดิซีย์ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"เมื่อใดที่หัวใจ ♥ ♥ ♥ เริ่มไม่จดจ่ออยู่กับละหมาด

พึงรู้เถิดว่า สาเหตุนั้นมาจากอีหม่านเริ่มอ่อนแอลง จงเพียรพยายามให้อีหม่านเข้มแข็งขึ้นเถิด"

 

 

 

ชัยคฺ บิน บาซ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"การละหมาดซุนนะห์มากๆ มีความดีงามอันมากมาย

อัลลอฮฺได้ทำให้การละหมาดนั้น เติมเต็มความบกพร่องของละหมาดฟัรฎู พร้อมกับรางวัลอันใหญ่หลวง"

 

 

 

ท่าน ฟุฎอยล์ อิบนิ อิยาฎ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     "หากไม่สามารถลุกละหมาดกิยามุลลัยล์ (ละหมาดในยามค่ำคืน) และไม่สามารถถือศีลอดในเวลากลางวัน (ถือศีลอดซุนนะห์)

     พึงรู้ไว้เถิดว่าท่านได้ถูกกีดกัน (ไม่ให้ปฏิบัติอิบาดะฮ์ด้วยความง่ายดาย)  ทั้งนี้เพราะความผิดได้มัดตัวท่านเอาไว้"

 

 

 

 

┈┈ ••••••✦✿✦•••••• ┈┈••┈┈ ••••••✦✿✦•••••• ┈┈••┈┈ ••••••✦✿✦•••••• ┈┈