ขอความเท่าเทียมทางมรดกของผู้หญิง ?
  จำนวนคนเข้าชม  306

ขอความเท่าเทียมทางมรดกของผู้หญิง ?

 

ดาวุด ธิยัน แปลเรียบเรียง

 

          ในระยะเวลาไม่นานมานี้ มีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับสิทธิของผู้หญิงในการรับมรดก โดยฝ่ายตรงข้ามศาสนาอิสลาม และผู้ที่คล้อยตามพวกเขาจากลูกหลานมุสลิมเองก็ตาม ได้แสดงความเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยอ้างว่าศาสนาอิสลามไม่ได้ให้ความเท่าเทียมกับผู้หญิงเมื่อเทียบกับผู้ชายที่จะได้รับมรดกมากกว่าผู้หญิง 

 

          พวกเขายังกล่าวหาว่าสิทธิของผู้หญิงถูกเอาเปรียบ และผู้หญิงควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับผู้ชายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงการได้รับมรดก โดยปราศจากการยึดมั่นตามกฎเกณฑ์ที่ศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้สำหรับเรื่องนี้

         ข้อกล่าวหานี้ได้ปรากฏชัดเจนหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิงในการรับมรดก และเกิดเสียงแตกในบรรดาประเทศอาหรับ และมุสลิมก็เริ่มเรียกร้องให้มีการทำเช่นนั้น โดยอ้างว่ากฎหมายอิสลามได้กดขี่ผู้หญิงและไม่ให้ความยุติธรรมกับเธอ นี่เป็นการกล่าวหาที่ยิ่งใหญ่และโกหกอย่างเปิดเผย อัลลอฮ์ตรัสว่า: 

 

( قُلْ أَأَنْتُمْ أَعْلَمُ أَمِ اللَّهُ ﴾ [البقرة: 140].)

"จงกล่าวเถิด พวกท่านรู้ดีกว่าอัลลอฮ์หรือ?" 

[อัล-บะเกาะเราะฮ์: 140]

 

          กฎหมายมรดกในกฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่ดีที่สุดที่ควบคุมสิทธิระหว่างชายและหญิง และผู้หญิงอาจได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากับผู้ชายหรือมากกว่านั้นในหลายกรณี จากการสำรวจกรณีและปัญหามรดก มีมากกว่าสามสิบกรณี ที่ผู้หญิงจะได้รับมรดกเท่ากับผู้ชาย หรือมากกว่าผู้ชาย หรือผู้หญิงจะได้รับมรดก ในขณะที่ผู้ชายคนนั้นไม่ได้รับมรดกเลย เมื่อเทียบกับสี่กรณีเฉพาะที่ผู้หญิงจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ชาย

 

          นี่คือข้อสงสัยที่บางคนได้หยิบยกขึ้นมาเกี่ยวกับมรดกของผู้หญิง และการอ้างว่าอิสลามได้ละเมิดสิทธิของเธอเมื่อกำหนดให้เธอได้รับครึ่งหนึ่งของสิ่งที่กำหนดไว้สำหรับผู้ชาย - บ่งบอกถึงการไม่รู้กฎและกฎเกณฑ์ของการแบ่งมรดกในศาสนาอิสลามโดยรวม และการแบ่งมรดกของผู้หญิงโดยเฉพาะจากบรรดาผู้ที่ดูถูกศาสนาอิสลามและตรรกะของวิชาความรู้ที่เกิดขึ้นจริง

 

          อิสลามยกย่องสถานะของผู้หญิงและให้ความเคารพแก่เธออย่างที่ศาสนาอื่นไม่เคยทำมาก่อน ผู้หญิงในอิสลามเปรียบเสมือนพี่น้องชายของผู้ชาย(เท่าเทียมกัน) คนที่ดีที่สุดคือคนที่ดีที่สุดต่อครอบครัวของเขา และนี่คือคำสอนสุดท้ายของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แก่ประชาชาติของท่านด้วยกับการให้เคารพและปฏิบัติต่อเธออย่างดี

 

ส่วนดำรัสที่อัลลอฮ์ตรัสว่า:

 

يُوصِيكُمُ اللَّهُ فِي أَوْلَادِكُمْ لِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الْأُنْثَيَيْنِ

 

"อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในลูก ๆของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับ เท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน"

(ซูเราะฮ์อัล-นิสาอ์: 11)

          กฎที่กำหนดไว้ในโองการนี้ไม่ได้ใช้กับทุกกรณีของการรับทอดมรดก แต่เป็นเพียงแค่ภาพหนึ่งของสถานการณ์เฉพาะเท่านั้น บางครั้งผู้หญิงอาจได้รับมรดกมากกว่าผู้ชาย บางครั้งผู้หญิงอาจได้รับมรดกในขณะที่ผู้ชายไม่ได้รับมรดก และบางครั้งผู้หญิงอาจได้รับมรดกเท่ากับผู้ชาย

 

          หนึ่งในเหตุผลที่นักวิชาการกล่าวถึงการที่สตรีได้รับครึ่งหนึ่งของมรดกชายในกรณีนี้คือสตรีไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตนเอง บ้าน หรือบุตรของตน และไม่มีหน้าที่จ่ายค่าสินสอดเมื่อแต่งงาน แต่ชายเป็นผู้รับผิดชอบสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ ชายยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเลี้ยงดูภรรยาของตน รวมทั้งการต้อนรับแขก การชดใช้ค่าเสียหาย และการการบริหารจัดการทรัพย์สิน เป็นต้น

 

          นักวิชาการได้กล่าวถึงกรณีของผู้หญิงและผู้ชายในเรื่องมรดก (ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีงามแด่พวกท่าน) ดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ และตำรานิติศาสตร์อิสลาม ดังนี้ :-

 

ประการแรก :  มีสี่กรณีที่ผู้หญิงจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ชาย ดังนี้

 

1. การมีลูกสาวร่วมกับลูกชาย 

 

     ดังที่อัลลอฮ์ตรัสว่า:

 

 يُوصِيكُمُ اللَّهُ فِي أَوْلَادِكُمْ لِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الْأُنْثَيَيْنِ ﴾ [النساء: 11])‏)

 "อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในลูก ๆของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับ เท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน"

 

 

2.การมีบิดาอยู่ร่วมกับมารดา(ของผู้ตาย)โดยไม่มีคนสืบสกุล(ลูกชายหรือลูกสาว)หรือสามีหรือภรรยา 

 

     ดังที่อัลลอฮ์ตรัสว่า:

 فَإِنْ لَمْ يَكُنْ لَهُ وَلَدٌ وَوَرِثَهُ أَبَوَاهُ فَلِأُمِّهِ الثُّلُثُ ﴾ [النساء: 11])

‏"ถ้าเขาไม่มีลูกและพ่อแม่ของเขาเป็นผู้รับมรดก มารดาของเขาจะได้รับหนึ่งในสาม

ในกรณีนี้ มารดาจะได้รับหนึ่งในสาม ส่วนที่เหลือจะตกเป็นของบิดา

 

 

3. การมีพี่น้องสาวร่วมบิดามารดา/หรือพ่อร่วมกับพี่น้องชายร่วมบิดามารดา/ หรือพี่น้องร่วมบิดา (ของผู้ตาย)

  

     ‏ดังที่อัลลอฮ์ตรัสว่า:

 وَإِنْ كَانُوا إِخْوَةً رِجَالًا وَنِسَاءً فَلِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الْأُنْثَيَيْنِ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ أَنْ تَضِلُّوا وَاللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ ﴾ [النساء: 176])

     "แต่ถ้าพวกเขาเป็นพี่น้องหลายคนทั้งชายและหญิง สำหรับชายจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของหญิงสองคน ที่อัลลอฮฺทรงแจกแจงแก่พวกเจ้านั้น เนื่องจากการที่พวกเจ้าหลงผิด และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง

 

 

4. หากคู่สมรสคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต และมีบุตรหรือไม่มีบุตร 

 

หากสามีเสียชีวิต ภรรยาจะได้รับมรดกเป็น 1 ใน 4 หากภรรยาไม่มีบุตร 

และหากภรรยามีบุตร ภรรยาจะได้รับมรดกเป็น 1 ใน 8 ส่วน 

หากภรรยาเสียชีวิต สามีจะได้รับมรดกเป็น 1 ใน 2 หากสามีไม่มีบุตร 

และหากสามีมีบุตร สามีจะได้รับมรดกเป็น 1 ใน 4 

 

ดังที่อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า

 

وَلَكُمْ نِصْفُ مَا تَرَكَ أَزْوَاجُكُمْ إِنْ لَمْ يَكُنْ لَهُنَّ وَلَدٌ فَإِنْ كَانَ لَهُنَّ وَلَدٌ فَلَكُمُ الرُّبُعُ مِمَّا تَرَكْنَ مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصِينَ بِهَا أَوْ دَيْنٍ وَلَهُنَّ الرُّبُعُ مِمَّا تَرَكْتُمْ إِنْ لَمْ يَكُنْ لَكُمْ وَلَدٌ فَإِنْ كَانَ لَكُمْ وَلَدٌ فَلَهُنَّ الثُّمُنُ مِمَّا تَرَكْتُمْ مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ تُوصُونَ بِهَا أَوْ دَيْنٍ

‏[อัล-นิสาอฺ: 12]

และสำหรับพวกเจ้านั้นจะได้รับครึ่งหนึ่งของสิ่งที่บรรดาภรรยาของพวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากมิได้ปรากฏว่าพวกนางมีบุตร 

แต่ถ้าพวกนางมีบุตร พวกเจ้าก็จะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกนางได้สั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สิน 

และสำหรับพวกนางนั้นจะได้รับหนึ่งในสี่ จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ทิ้งไว้ 

หากมิปรากฏว่าพวกเจ้ามีบุตร พวกนางก็จะได้รับหนึ่งในแปดจากสิ่งที่พวกเจ้าทิ้งไว้ 

ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่พวกเจ้าสั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สิน

 

 

ประการที่สอง : กรณีผู้หญิงได้รับมรดกเท่าผู้ชาย

 

     1. มรดกของแม่ร่วมกับพ่อหากมีลูกชาย หรือลูกสาวสองคนขึ้นไป หรือ ลูกสาวหนึ่งคนในบางกรณี

          ในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชายหรือลูกสาวสองคนขึ้นไป หรือมีลูกสาวเพียงคนเดียว แม่จะได้รับมรดกครึ่งหนึ่งของกองมรดก เช่นเดียวกับพ่อ

 

     2. มรดกของพี่น้องร่วมมารดากับพี่น้องของมารดา

          ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทที่สืบสายโลหิตโดยตรง พี่น้องทางมารดาทั้งชายและหญิงจะได้รับมรดกเท่าๆ กัน

 

     3. มรดกของสามี(ผู้ตาย) และมารดา(ผู้ตาย) และพี่น้องร่วมมารดา(ผู้ตาย) และพี่น้องชายร่วมบิดามารดา(ผู้ตาย) หนึ่งคนหรือมากกว่านั้น

          ในกรณีที่ผู้ตายมีสามี มารดา และพี่น้องทางมารดา สามีจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่งของกองมรดก มารดาจะได้รับมรดกหนึ่งในสามของกองมรดก และพี่น้องทางมารดาจะได้รับมรดกที่เหลือเท่าๆ กัน

 

     4. ถ้าชายหรือหญิงอยู่เพียงลำพัง บุตรชายจะได้รับมรดกทั้งหมดหากมีเพียงคนเดียว ส่วนบุตรสาวจะได้รับครึ่งหนึ่งเป็นมรดกตามบัญญัติบังคับ (ฟัรฎู) และส่วนที่เหลือจะเป็นมรดกย้อนกลับหานาง (รอดฺ) เช่นกัน หากผู้ตายทิ้งบิดาไว้เพียงลำพัง บิดาก็จะรับมรดกทั้งหมด ส่วนหากผู้ตายทิ้งมารดาไว้ มารดาก็จะรับมรดกหนึ่งในสามเป็นมรดกตามบัญญัติบังคับ(ฟัรฎู) และส่วนที่เหลือจะเป็นมรดกย้อนกลับหานาง

 

     5. หากผู้ตายมีพี่สาวร่วมบิดามารดาและพี่ชายร่วมบิดา พี่น้องสาวร่วมบิดามารดาจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง ส่วนพี่ชายร่วมบิดาจะได้รับส่วนที่เหลือครึ่งหนึ่ง

 

     6. หากผู้ตายเป็นหญิงและทิ้งสามี มารดา พี่สาวร่วมมารดา และพี่ชายร่วมบิดาไว้ สามีจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง มารดาจะได้รับมรดกหนึ่งในหก พี่สาวร่วมมารดาจะได้รับมรดกหนึ่งในหก ส่วนที่เหลือจะเป็นมรดกบังคับ (ฟัรฺดฺ) ของพี่ชายร่วมบิดามารดา คือหนึ่งในหก

 

     7. หากบุคคลหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งลูกสาวและพี่ชายคนเดียวไว้ มรดกของลูกสาวคือครึ่งหนึ่ง และในที่นี่พี่ชาย ดังนั้นเขาจะรับมรดกที่เหลือ ที่เหลือในกรณีนี้คือครึ่งหนึ่ง ดังนั้นคุณจะเห็นที่นี่ว่าลูกสาวของผู้ตายได้รับมรดกเท่ากับพี่ชายของผู้ตาย

 

     8. มรดกของญาติพี่น้องในกรณีที่ไม่มีทายาทจากสายเลือดหรือทายาทตามกฏเกณฑ์

          ตามหลักศาสนาอิสลาม ในกรณีที่ไม่มีทายาทจากสายเลือดหรือทายาทตามกฏเกณฑ์ ญาติพี่น้องก็จะกลายเป็นทายาทแทน โดยแบ่งมรดกกันเท่าๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ตายทิ้งทายาทไว้เป็นลูกสาวของลูกสาว ลูกชายของลูกสาว น้าชาย และน้าสาว ทุกคนก็จะได้รับมรดกในสัดส่วนเท่าๆ กัน

     มีบุคคล 6 คนที่ไม่อาจถูกปิดกั้นการสืบทอดมรดกได้ แบ่งเป็น 3 คนจากเพศชาย และ 3 คนจากเพศหญิง ดังนี้

* เพศชาย: สามี ลูกชาย และพ่อ

* เพศหญิง: ภรรยา ลูกสาว และแม่

 

 

 ประการที่สาม : กรณีที่ผู้หญิงได้รับมรดกมากกว่าผู้ชาย

          บรรดานักวิชาการได้ระบุถึง หกกรณี ที่ผู้ตายเป็นหญิงและได้รับมรดกมากกว่าผู้ตายที่เป็นชาย ซึ่งได้อธิบายรายละเอียดทางศาสตร์การคำนวนไว้ในตำราว่าด้วยมรดก หนึ่งในนั้นคือกรณีที่ผู้ตายเป็นหญิงและทิ้งไว้ทั้งสามี พ่อ แม่ และลูกสาวสองคน ลูกสาวทั้งสองคนจะได้รับมรดกเป็นสองในสามของทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นไปได้ว่าลูกสาวทั้งสองคน ก็จะได้มรดกมากกว่าลูกชาย  

          และเช่นเดียวกันกับกรณีที่หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตเหลือทิ้งสามี แม่ และพี่สาวร่วมสายเลือด ในกรณีเช่นนี้ความแตกต่างจะมากโขทีเดียว กล่าวคือ พี่สาวร่วมสายเลือดจะได้รับมากกว่าสองเท่าของพี่ชายร่วมสายเลือด

 

 

ประการที่สี่ : มีสามกรณี ที่ผู้หญิงได้รับมรดก แต่ผู้ชายที่เทียบเท่ากันไม่ได้รับมรดก

 

          กรณีเหล่านี้ยังมีลักษณะพิเศษคือการคำนวณมีความซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น กรณีผู้หญิงคนหนึ่งถึงแก่ความตายโดยทิ้งสามี พ่อ แม่ ลูก และลูกสาวของบุตรชาย เมื่อลูกสาวของบุตรชายได้รับมรดกเป็น 1 ใน 6 ตามกฏเกณฑ์ข้อบังคับ แต่หากเปลี่ยนลูกชายของบุตรชายเป็นลูกสาวของบุตรชายแทน ลูกชายของบุตรชายก็จะไม่ได้รับมรดกเลย

          เช่นเดียวกับกรณีการสืบทอดมรดกของย่า ย่ามักจะได้รับมรดกบ่อยครั้ง แต่ผู้ชายที่เทียบเท่ากันจากบรรดาคุณปู่ก็ไม่ได้รับมรดก ย่าอาจได้รับมรดกโดยที่สามีของย่า(ตา)ไม่ได้รับมรดกด้วย

 

 

สรุปได้ว่า 

 

          ศาสนาอิสลามได้ยกระดับสถานะของผู้หญิงและให้ความเคารพนับถือผู้หญิงมากกว่าศาสนาใดๆ ในโลก อิสลามสั่งสอนให้ปฏิบัติต่อผู้หญิงด้วยความดีงามและเมตตากรุณา คัมภีร์อัลกุรอานได้ยืนยันถึงความเท่าเทียมกันของชายและหญิงในด้านความรับผิดชอบทางศีลธรรมและหน้าที่ทางศาสนา ยกเว้นในกรณีเฉพาะที่พระเจ้าได้ผ่อนปรนให้แก่ผู้หญิงด้วยความเมตตากรุณาและพิจารณาถึงธรรมชาติและโครงสร้างของผู้หญิง

 

          ข้อกล่าวหาว่า กฎหมายอิสลามกดขี่ผู้หญิงและไม่เท่าเทียมกับผู้ชายนั้น เป็นเรื่องเท็จ ไม่มีมูลความจริงในกฎหมายอิสลาม ดังที่เราได้อ้างอิงจากคำกล่าวของบรรดานักวิชาการ

 

‏           และยังมีกรณีมากกว่าสามสิบกรณีที่ผู้หญิงจะได้รับมรดกเท่ากับหรือมากกว่าผู้ชาย หรือผู้หญิงจะได้รับมรดกโดยที่ผู้ชายที่เหมือนกันกับเธอ(อยู่ในสถานะเท่าเทียมของระดับชั้น)จะไม่ได้รับมรดก ในทางกลับกัน มีเพียงสี่กรณีเท่านั้นที่ระบุไว้เฉพาะเจาะจงที่ผู้หญิงจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ชาย(ชายได้สองหญิงได้หนึ่ง) เนื่องจากผู้ชายมีหน้าที่รับผิดชอบในการเลี้ยงดูผู้หญิงและครอบครัว เขามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินสอดเมื่อแต่งงานกับเธอ และผู้ชายยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเลี้ยงดูเธอ บ้าน และแขก เป็นต้น

 

          กฎหมายที่อ้างว่าเท่าเทียมกันนั้นแท้จริงแล้วเป็นการเอาเปรียบผู้หญิง เพราะมันให้ผู้หญิงเท่ากับผู้ชายในทุกกรณีของการสืบทอดมรดก ซึ่งทำให้ผู้หญิงสูญเสียสิทธิของเธอและกดขี่เธอ

อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งทรงรู้ดีที่สุด

 

https://www.alukah.net/.../%D8%AF%D8%B9%D9%88%D9%89-%D9.../