ห้ามพูด..โดยไม่มีความรู้
ยะห์ยา หัสการณ์บัญชา แปลเรียบเรียง
คำเตือนบางส่วนของปราชญ์อาวุโสเกี่ยวกับการห้ามพูดโดยไม่มีความรู้
บรรดาปราชญ์ชั้นอาวุโสได้กล่าวตักเตือนบรรดามุสลิมทั้งหลายว่าห้ามพูดและตอบปัญหาศาสนาโดยไร้ความรู้ จึงขอหยิบยกมานำเสนอบางส่วน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ومنهم الإمام الشافعي فقد قال ـ رحمه الله ـ:(فالواجب على العالمين أن لا يقولوا إلاَّ من حيث علموا ، وقد تكلَّم في العلم من لو أمسك عن بعض ما تكلَّم فيه منه لكان الإمساك أوْلى به وأقرب من السلامة له إن شاء الله)[الرسالة/41]
ท่านอิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า
"และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบรรดาผู้รู้ นักวิชาการ ก็คือ พวกเขาจะต้องไม่พูดหรือกล่าวสิ่งใด นอกจากสิ่งที่พวกเขารู้เท่านั้น และคนบางคนได้ออกตัวมาพูดในเรื่องวิชาการบางประเด็น ทั้งๆที่การนิ่งเงียบโดยไม่พูดไม่กล่าวอะไรออกไปนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดี และปลอดภัยยิ่งกว่าสำหรับเขา ด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ"
(ตำรา อัรริสาละฮฺ หน้าที่ 41)
وقال الإمام ابن حزم لا آفة على العلوم وأهلها أضر من الدخلاء فيها وهم من غير أهلها ، فإنَّهم يجهلون ويظنُّون أنَّهم يعلمون ، ويفسدون ويقدرون أنهم يصلحون) [مداواة النفوس/67]
ท่านอิบนุ หัซมิน ได้กล่าวว่า
"ไม่มีสิ่งใดที่บ่อนทำลายวิชาความรู้และผู้รู้ได้มากไปกว่า ผู้ที่สอดเข้าไปพูดในเรื่องวิชาการทั้งๆที่เขาไม่มีความรู้ ซึ่งพวกเขาคือผู้ที่โง่เขลา แต่กลับคิดเดาเอาเองว่าเขานั้นคือผู้รู้ และพวกเขาคือผู้บ่อนทำลาย แต่กลับคาดเดาเอาเองว่าเขาคือผู้ไกล่เกลี่ยและคลี่คลายปัญหา"
(ตำรา มุดาวาตุนนุฟูส หน้าที่ 67)
وقال كذلك:(فمن تكلَّم بجهل وبما يخالف الأئمة ، فإنَّه ينهى عن ذلك ويؤدَّب على الإصرار ، كما يُفعل بأمثاله من الجهال ، ولا يقتدى في خلاف الشريعة بأحد من أئمَّة الضلالة، وإن كان مشهوراً عنه العلم)[مجموع الفتاوى22/227]
ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวว่า
"ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่พูดโดยไร้ความรู้ และคัดค้าน สวนทางกับบรรดาปราชญ์ทั้งหลาย พวกเขาจะถูกห้ามปราม และต้องได้รับการอบรมสั่งสอนหากว่ายังคงดื้อดึงเฉกเช่นที่กระทำกับบรรดาผู้โง่เขลาทั้งหลาย
และห้ามไม่ให้ปฏิบัติตามผู้รู้ที่หลงผิดคนใดก็ตาม ในเรื่องที่ขัดแย้งกับบทบัญญัติศาสนา แม้ว่าผู้รู้คนนั้นจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความรู้ก็ตาม"
(ตำรามัจมูอฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 227 หน้าที่ 227)
وقال شيخ الإسلام ابن تيميَّة ـ رحمه الله ـ ولا يحل لأحد أن يتكلَّم في الدين بلا علم ولا يعين من تكلَّم في الدين بلا علم ، أو أدخل في الدين ما ليس منه) [مجموع الفتاوى22/240]
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวว่า
"ไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับบุคคลใดๆก็ตามที่พูดเรื่องศาสนาโดยปราศจากความรู้ และห้ามไม่ให้ผู้ใดให้ความช่วยเหลือแก่เขาในการพูดเรื่องศาสนาในสิ่งที่เขาไม่รู้ และไม่อนุญาตให้ใครสอดแทรกต่อเติมสิ่งแปลกปลอมใดๆที่ไม่ใช่คำสอน(ที่แท้จริง)เข้าไปในคำสอนศาสนา(อันบริสุทธิ์)"
(ตำรา มัจมูอฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 22 หน้าที่ 240)
وعن ابن سيرين قال إن هذا العلم دين فانظروا عمن تأخذون دينكم . رواه مسلم
ท่านอิบนุ สีรีนได้กล่าวว่า
"แท้จริงวิชาความรู้นี้(วิชาด้านศาสนา) คือศาสนา ดังนั้นพวกท่านจงพิจารณาให้ดีเถิดว่า ท่านจะยึดเอาศาสนาของท่านจากใคร"
(บันทึกโดยอิมามมุสลิม)
قال الإمام مالك رحمه الله : لايؤخد العلم عن أربعة :
ـ سفيه معلن السفه.
ـ و صاحب هوى يدعوا إليه.
ـ و رجل معروف بالكذب في أحاديث الناس و إن كان لايكذب على الرسول صلى الله عليه وسلم.
ـ و رجل له فضل و صلاح لا يعرف ما يحدث به
ท่านอิมามมาลิกได้กล่าวว่า
"ห้ามรับเอาความรู้จากบุคคลสี่ประเภทต่อไปนี้
1. คนโง่เขลาที่แสดงออกถึงความโง่ออกมาอย่างชัดเจน
2. คนที่ใช้อารมณ์ และเรียกร้องผู้อื่นไปสู่การใช้อารมณ์ของเขาเอง
3. คนที่เป็นที่รู้จักกันดีว่ากล่าวเท็จต่อคำพูดของผู้คนทั้งหลาย แม้ว่าเขาจะไม่ได้กล่าวเท็จต่อหะดีษของท่านรอสูล ก็ตาม
4. คนที่มีคุณงามความดี แต่ไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขาพูด"
(ตำรา ญามิอฺ บะยาน อัลอิลมฺ วะฟัฎลิฮฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 821)