อินเตอร์เน็ต (ดาบสองคม)
  จำนวนคนเข้าชม  6777

 

อินเตอร์เน็ต (ดาบสองคม)

 

เชค อะฮ์หมัด บิน อับดุลอะซีซ อัชชัศรีย์

 

          วัยหนุ่มสาวนั้นถือเป็นวัยที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญและยิ่งใหญ่ในทุกยุคทุกสมัย พวกเขาคือกลุ่มเป้าหมายที่บรรดาศัตรูคอยเพ่งเล็ง เพื่อที่จะล่อลวงให้หันเหออกจากแนวทางที่เที่ยงตรงโดยสื่อ และหนทางที่ศัตรูจะหลอกล่อหนุ่มสาวมุสลิมนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ที่สำคัญที่สุด ที่อันตรายที่สุด ที่เร็วที่สุด และที่ได้ผลมากที่สุด คงหนีไม่พ้นสื่อแมงมุมอิเล็กทรอนิก หรืออินเตอร์เน็ตนั่นเอง ! 

 

"และชาวยิวและชาวคริสต์นั้น จะไม่ยินดีแก่เจ้า(มุฮัมมัด) เป็นอันขาด จนกว่าเจ้าจะปฏิบัติตามศาสนาของพวกเขา" 
 

(อัลบะกอเราะฮ์:120)

 

          ในอินเตอร์เน็ตนั้นประมวลไปด้วยสิ่งดีๆต่างๆมากมาย หลายหลายสาระประโยชน์ และมีคุณค่าสำหรับผู้ที่รู้จักใช้ ใช้กับสติปัญญา ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความศรัทธา ทางนำ และความดูแลของพระองค์อัลลอฮ์  ปกป้องตัวเองจากการล่อลวงของไชยตอน ออกห่างจากก้าวย่างของความชั่วร้าย และปิดประตูของทุกสิ่งที่เสื่อมเสีย และนี่ต่างหากที่เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกับสิทธิของความโปรดปรานไม่ใช่ความโกรธกริ้ว ! ด้วยเพราะเป็นรางวัลไม่ใช่ภัยภิบัติ ! ด้วยกับสิ่งที่ดีไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้าย !


         แต่ทว่าเมื่อคนๆหนึ่งเข้าไปในโลกของอินเตอร์เน็ตและเขาไม่ได้อยู่ในการดูแลของพระองค์อัลลอฮ์  ไม่ได้ค้นคว้าสรรหาสิ่งที่เป็นสาระประโยชน์ เขาก็อาจจะตกอยู่ในหลุมพรางแห่งความเสื่อมเสีย ดังนี้:

 

1. เป็นแหล่งแพร่กระจายความเสื่อมเสีย และสอนให้ออกนอกลู่นอกทาง

 

       2. เป็นหลุมพรางที่ได้รับการออกแบบและการสืบหาข่าวมาก่อน เขาจะรับเอาสงครามทางสติปัญญา และจะกลายเป็นผู้เสพทั้งความคิด ความเข้าใจ การหลอกหลวง กลอุบาย การปลอมแปลง และคำจำกัดความที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับอิสลาม

 

3. เขาจะเรียนรู้สำนวนโวหารที่หยาบกระด้าง

 

       4. อาชญากรอินเตอร์เน็ต มันจะไล่ล่าหนุ่มสาวและจะทำให้พวกเขาหลงผิด เขาจะสืบหาข้อมูลต่างๆเพื่อที่จะฉุดกระชากถึงขั้นลักพาตัว หรือทำให้พวกเขาทดลองสิ่งเสพติด

 

5. สูญเสียเวลาไปกับการจดจ่ออยู่กับมันและใช้มันไปในทางที่ไม่ดี

 

       6. เป็นตัวกระจายความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน มัวเมาลุ่มหลงและให้ความนิยมอยู่กับประเทศ บุคคล เผ่าพันธุ์ กลุ่ม ทีมกีฬา ทั้งๆที่สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ให้สาระประโยชน์ใดๆเลย นอกจากความอิจฉาริษยา ความเป็นศัตรู ความขุ่นเคือง ความเสื่อมเสียทั้งส่วนรวมและส่วนบุคคล

7. แพร่กระจายข่าวลือ ข่าวที่เชื่อถือไม่ได้ เปลี่ยนแปลงความจริง ทำให้คนๆหนึ่งยุ่งอยู่กับสิ่งที่ให้โทษกับตัวเขามากกว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์

8. ที่เสื่อมเสียที่สุดคือการที่คนๆหนึ่งไม่รู้ถึงโทษที่เป็นภัยเงียบทางด้านความเสื่อมเสียของอินเตอร์เน็ต

9. การถดถอยลงของระดับการเรียน


พี่น้องมุสลิม !

          อันตรายของอินเตอร์เน็ตนั้นรุนแรงยิ่งกว่าศัตรูที่คอยประจันบานในสนามรบเสียอีก เพราะศัตรูในสนามรบนั้นปรากฏตัวให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ทว่าศัตรูในอินเตอร์เน็ตนั้นซ่อนเร้นไม่เป็นที่รู้จัก แอบแฝง และจู่โจมได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

          เราได้เปิดประตูให้กับเชลยของเราได้เข้ามาเห็นความลับของเรา เรารับไม่ได้ที่จะให้ลูกหลานของเราเปิดประตูให้กับใครก็ได้ที่เราไม่รู้จัก ! แล้วเราจะรับได้หรือที่จะให้พวกเขาเปิดรับผู้รู้ที่รู้แต่เรื่องเสื่อมเสีย เรื่องที่เลวร้าย โดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองไม่ได้ป้องกัน เราเคยสอนพวกเขาว่าถ้าหากมีใครโทรมาหา จะต้องถามให้แน่ใจก่อนว่าใช่คนที่เรารู้จักใช่มั้ย ? แต่ในขณะเดียวกันเรากลับปล่อยปละละเลยเขาให้เผชิญกับผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญา เผชิญกับอาชญากรที่แจ้งข่าวความเคลื่อนไหวของโลก ซึ่งสร้างความเสื่อมทรามให้กับศาสนา มารยาท และสิทธิประโยชน์ของเรา

เป็นฟัรฎูแก่ดวงตาของเรา ที่จะต้องคอยปกป้องลูกๆของเรา และป้องกันพวกเขาจากสิ่งเลวร้ายของอินเตอร์เน็ต

พระองค์ทรงตรัสว่า: 

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก

เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน  มีมลาอิกะฮ์ผู้แข็งกร้าวคอยเฝ้ารักษามันอยู่

พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮ์ ในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา"

(อัตตะฮ์รีม:6)

จากเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตกำลังเผชิญกับปัญหาคือ

1. การใช้อินเตอร์เน็ตไปตามอารมณ์

2. การอยู่อย่างสันโดษและแยกตัวออกจากผู้คน

3. อดหลับอดนอนเพื่อที่จะเล่นอินเตอร์เน็ตหลายๆชั่วโมง

4. การถดถอยในการทำอิบาดะฮ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการละหมาด อ่านอัลกุรอ่าน อ่านหนังสือ หรือทบทวนบทเรียน


สิ่งที่จะป้องกันเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้

1. อบรมความรู้เกี่ยวกับอิสลามที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักฐาน สติ การยอมรับ และความเข้าใจที่ถูกต้องที่ครอบคลุมทั้งหมด

       2. ติดตั้งโปรแกรมป้องกัน หรือตรวจตราอย่างเข้มงวดก่อนที่จะอนุญาติให้เข้าชมเว็บไซท์นั้นๆอย่างลับๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ทำลายความรู้สึกของลูกๆ หรือสมาชิกในครอบครัวคนใด และเพื่อที่เขาจะปลอดภัยจากเว็บไซท์ที่เป็นโทษ

3. ไม่เผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพส่วนตัวหรือส่วนรวม ควรระวังการรับจดหมายและการตอบจดหมายที่ไม่เป็นที่รู้จัก

4. กำหนดชั่วโมงที่จะใช้อินเตอร์เน็ต อย่างมากที่สุดไม่ควรเกินสองชั่วโมงต่อวัน

5. พยายามสรรหาแต่สิ่งดีๆ และการงานที่ดีต่างๆเพื่อที่จะให้ตัวเราพบเจอแต่สิ่งดีและป้องกันตัวเราจากสิ่งชั่วร้าย

6. ควรเปิดหาเพจที่เป็นข้อมูลที่ให้สาระประโยชน์กับตัวเรามากที่สุด

          เพราะแท้จริงแล้วหากว่าหนุ่มสาวมุสลิมยังไม่บรรลุถึงความเข้าใจ ทางนำ และความประพฤติปฏิบัติที่ดี และมีสติปัญญาที่ไตร่ตรองจากอันตรายของอินเตอร์เน็ตแล้วละก็ เขาอาจจะได้รับภัยอันตรายอย่างหนักหน่วงแก่ตัวเขาเอง

 

ขอพระองค์อัลลอฮ์  คุ้มครองทั้งเราและท่านและห่างไกลจากความชั่วร้ายทั้งมวล..อามีน

 

 

ส่วนหนึ่งจากคุตบะฮ์ เรื่องอันตรายและโทษของอินเตอร์เน็ต
 

แปลและเรียบเรียง  อุมมุ วีอาม มีสมบูรณ์