การขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต
  จำนวนคนเข้าชม  10113

 

การขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต

 

แปลและเรียบเรียง อบูชีส

 

กฏเกณฑ์ว่าด้วยเรื่องการขายสินค้าที่ไม่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของผู้ขาย และวิธีการทำให้ธุระกรรมที่ถูกต้อง

 

คำถาม :

 

           ฉันอาศัยอยู่ในต่างประเทศ และค่าครองชีพลำบากมาก สามีก็ไม่ได้ทำงานประจำ และฉันตั้งใจว่าจะช่วยเหลือสามี จนฉันได้ขายของ(ขายออนไลน์)ผ่านอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้หญิงท่านใดที่สนใจซื้อสินค้าจากประเทศที่ฉันอาศัยอยู่ และสั่งซื้อสินค้าที่ถูกเจาะจงมา และฉันก็จะไปหา และส่งรูปสินค้าไปให้แก่ผู้ที่สั่งซื้อ เมื่อต่างฝ่ายก็เห็นด้วย ฉันก็จะคิดราคาบวกค่าส่งไปให้แก่ผู้ซื้อ และฉันก็ไปหาซื้อสินค้า หลังจากนั้นฉันก็ส่งไปให้แก่ลูกค้า ปรากฏว่าฉันมีความสุขมากกับงานของฉัน 

 

         จนกระทั่งวันหนึ่งน้องสาวคนหนึ่งที่เป็นแม่ค้าได้ขอสินค้าจากฉัน(เธอได้มาชมในเวปไซต์) เมื่อได้คิดเงินเรียบร้อยเธอก็ได้โอนเงินมา 670 ดอลล่าอเมริกา และเมื่อฉันได้สั่งซื้อสินค้า(จากเวปไซต์)และฉันก็รอให้ทางเวปไซต์ส่งให้แก่ฉัน แต่ของก็ไม่มา จึงเกิดปัญหาขึ้น ก็คือ ฉันสั่งของจากเวปไซต์แต่ของกลับไม่มา เมื่อฉันโทรไปหาทางเวปไซต์ที่ฉันซื้อของจากเขาก็ไม่มีใครรับสาย เมื่อฉันสืบพบว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทหลอกลวง เราจึงถูกหลอก พวกเขาตั้งเวปไซต์มาเมื่อหลอกลวงเอาเงินประชาชน

 

          และเมื่อฉันบอกกับลูกค้าคนนั้นในสิ่งที่เกิดขึ้น เธอก็ไม่เชื่อฉันและบอกว่าฉันโกหกและเป็นคนไม่ดี และฉันได้สาบานกับเธอ และบอกกับเธอว่า อภัยให้ฉันก่อน ฉันจะรวบรวมเงินจากบัญชีของสามีของฉันและจะส่งไปให้กับเธอ แต่ทว่ามาถึงตอนนี้หนึ่งปี หรือมากกว่าแล้ว แต่ฉันยังไม่สามารถที่จะเก็บเงินจำนวนนั้นได้ จำเป็นแก่ฉันหรือไม่ที่จะคืนเงินนั้นให้แก่เธอ เพราะที่รู้ก็คือบริษัทหลอกลวงเป็นผู้เอาเงินเธอไป แต่เธอก็มาเรียกร้องเงินจากฉัน ? ข้อตัดสินทางศาสนาเป็นเช่นไร ? ขออัลลอฮ์ให้ความจำเริญแก่ท่าน ผู้รู้ของเรา


 

คำ ต อ บ

ประการแรก

          ไม่เป็นที่สงสัยเลย แท้จริงการทำธุรกิจของเธอ ที่เธอถามถึงกฏเกณฑ์ มันคือสิ่งที่ขัดกับบทบัญญัติ โดยที่เธอขายในสิ่งที่เธอไม่ได้มีสิทธิ์ในการครอบครอง และขายในสิ่งที่มิได้มีอยู่ที่เธอ เธอมีสิ่งที่เธอไม่สามารถรับประกันมัน และไม่สามารถรับมันมาให้แก่ผู้ซื้อ ดังนั้นมันจึงกลายเป็นการค้าที่หลอกลวงผู้ซื้อ และการประกอบแบบนี้เหมือนการพนัน และสิ่งที่ส่งผลจากการดำเนินงานนี้ คือสิ่งที่จะนำมาซึ่งการถกเถียงและความบาดหมาง และบางทีเธออาจจะพบว่าราคาสินค้ามันขึ้นกระทันหันจากสินค้าที่เธอขายมัน เช่นเดียวกับบางทีที่สินค้านั้นไม่สมบูรณ์ และนี่คือสิ่งที่อันตราย 

          และแน่นอนปรากฏว่าการค้าขายของเธอที่ได้เจอมาก็คือ ไม่เจอพ่อค้าเลย ! และด้วยเหตุนี้จึงไม่อนุญาตให้ใครขายสินค้าที่เจาะจง แต่ไม่มี ณ ที่เขา เป็นกรรมสิทธิ์ หรือไม่มีแม้กระทั่งคุณสมบัติที่อยู่ในความรับผิดขอบของผู้อื่น เว้นแต่สิ่งที่ถูกยกเว้นในการค้าขายล่วงหน้า (การขายแบบสลัฟ)

       จากฮะกีม บุตรของ ฮิซาม กล่าวว่า "โอ้ท่านร่อซูล มีชายคนหนึ่งมาหาฉัน และเขาต้องการค้าขายกับฉันในสิ่งที่ฉันไม่มี ฉันจะไปซื้อสินค้าให้แก่เขาจากตลาดได้ใหม ?"

ท่านร่อซูล  กล่าวว่า "ท่านอย่าขายในสิ่งที่ท่านไม่มี"

จากอับดิลละห์ บุตรของอัมร์ กล่าวว่า ท่านร่อซูล กล่าวว่า 

          "การค้าขายล่วงหน้า และการค้าขายทันที ไม่เป็นที่อนุญาต และการตั้งเงื่อนไขทั้งสองในการค้าขายเดียวก็ไม่อนุญาต และไม่อนุญาตให้เอากำไรจากสิ่งที่ไม่ถูกรับประกัน และอย่าขายในสิ่งที่ท่านไม่มี"

          ท่านอิบนุ ก็อยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า: "ถ้อยคำจากประโยคฮะดิษทั้งสองบทต่อการห้ามของท่านร่อซูล จาการค้าขายสิ่งที่เขาไม่มี มันถูกบันทึกจากถ้อยคำของท่านร่อซูล ขณะที่มันได้รวมไว้ซึ่งชนิดหนึ่งจากความไม่ชัดเจน ดังนั้นเมื่อมีคนขายสินค้าสิ่งหนึ่งที่มีการเจาะจง และเขาไม่มีในการครอบครองของเขา หลังจากนั้น เขาก็ไปหาซื้อมัน หรือไปรับมันมาให้ลูกค้า ปรากฏว่าเขามีความลังเลว่าจะได้หรือไม่ได้สินค้านั้น ดังนี้แหละมันคือความคลุมเครือ ที่คล้ายกับการพนัน และจึงถูกห้ามจากมัน"

ท่านอิบนุ ก็อยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้อีกเช่นเดียวกันในการอธิบายชนิดต่างๆ ของการขายสิ่งที่ไม่มี 

          "สิ่งที่ไม่มี ไม่รู้ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับ ไม่มีความน่าเชื่อถือจากคนขายว่าจะได้รับมัน ทว่าผู้ซื้อจากเขานั้นกำลังอยู่บนความอันตราย ดังนั้นอัลลอฮ์ จึงทรงห้ามจากการขายมัน ไม่ใช่เพราะว่ามันไม่มี แต่เพราะความคลุมเครือของมัน ดังมีรูปแบบของการห้ามที่กล่าวรวมไว้ในฮะดิษของฮะกีม บุตรของฮิซาม และอัมร์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่มา แท้จริงผู้ขายเมื่อได้ขายสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของเขา และไม่มีความสามารถที่จะส่งมอบสินค้า เพื่อที่เขาจะไป(เอาสินค้าภายหลัง)จะรับสินค้าและส่งมอบมันให้แก่ผู้ซื้อ ดังกล่าวนั้นคล้ายราวกับว่าเป็นการพนัน และต่างก็มีความเสี่ยง โดยทั้งสองไม่จำเป็นต้องมีสัญญา และไม่ยังผลประโยชน์อันใดต่อมัน "

          หากว่าการซื้อของเธอจากเวปไซต์นั้นถูกต้องตามบทบัญญัติ ก็ยังไม่อนุญาตให้เธอขายสินค้านั้นอยู่ดี เพราะมันยังอยู่ในสถานที่ของมันโดยเธอยังไม่ได้ครอบครองมัน กล่าวคือ ก่อนที่เธอจะวางมือของเธอลงบนสินค้านั้นในทางพฤตินัย และโยกย้ายจากสถานที่ขายไปสู่โกดังเก็บสินค้าของเธอ หรือ สถานที่เฉพาะของเธอ หากว่าสินค้านั้นเป็นสิ่งที่เคลือนย้ายได้(สังหาริมทรัพย์) และนี่คือสาเหตุอีกสาเหตุที่ทำให้การปฏิบัติของเธอนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ

          จากอิบนุอุมัร กล่าวว่า ฉันได้ซื้อน้ำมันในตลาด และเมื่อฉันพอเพียงแล้ว ก็มีชายคนหนึ่งมาพบกับฉันและให้กำไรที่ดีแก่ฉัน(ซื้อต่อฉันโดยจ่ายผลกำไรที่ดี) ดังนั้นเมื่อฉันต้องการตกลงการค้ากับเขา ทันใดก็มีชายคนหนึ่งดึงแขนฉันไว้จากด้านหลัง

     เขาคนนั้นก็คือ ซัยด์ บิน ซาบิด เขากล่าวว่า  "ท่านอย่าขายมันในที่ที่ท่านซื้อมัน จนกว่าท่านจะนำมันกลับไปที่พักของท่าน"

     เพราะท่านร่อซูล "ห้ามการซื้อสินค้าในที่ที่ซื้อมัน จนกว่าจะครอบครองและนำมันกลับไปยังที่พักของพวกเขา"

ท่านชัยค์ อับดุลอะซีซ บิน บาซ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า 

         "หลังจากได้กล่าวถึงฮะดิษทั้งสามบทข้างต้น และจากฮะดิษทั้งหลาย และสิ่งที่มาจากความหมาย ได้ชี้ชัดแก่ผู้แสวงหาสัจจะธรรมแล้วว่า ไม่อนุญาตแก่มุสลิมที่จะขายสินค้าที่ไม่มีอยู่ในกรรมสิทธิ์ของเขา หลังจากนั้นเขาก็ไปซื้อมา แต่ทว่า จำเป็นที่จะต้องให้เลื่อนการขายนั้นไปจนกว่าเขาจะไปซื้อมาและครอบครองอยู่ในกรรมสิทธิ์ของเขา 

        และชี้ชัดเช่นเดียวกันอีกว่า แท้จริงสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ได้ปฏิบัติกันจากการค้าขายสินค้าในขณะที่ตัวสินค้ายังอยู่ในร้านของผู้ขายก่อนที่จะโยกย้ายมันไปสู่กรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อ หรือ ออกจากตลาด กิจการนี้ถือว่าไม่อนุญาต เพราะนั่นขัดกับซุนนะห์ของ ท่านร่อซูล  และเป็นการล้อเล่นกับธุรกรรมต่างๆ และไม่จำกัดในสิ่งที่มีอยู่ในหลักการอันบริสุทธิ์ และในสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากความเสียหายและความเลวร้าย และผลกระทบที่ร้ายแรง ที่ไม่อาจประมาณการได้ นอกจากอัลลอฮ์ 

          ขอต่อพระองค์อัลลอฮ์ให้แก่เราและแก่บรรดามุสลิมทั้งหลายได้รับทางนำให้ยึดมั่นอยู่บนหลักการตามบทบัญญัติและระวังต่อสิ่งที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติด้วยเถิด"


ประการที่สอง

วิธีการที่จะทำให้ธุรกรรมของเธอถูกต้องและสอดคล้องกับบทบัญญัติมีดังต่อไปนี้


          1. ให้เสนอสินค้าให้แก่ผู้สนใจที่จะซื้อ เป็นการนำเสนอให้ชัดเจน ปราศจากข้อคลุมเคลือทั้งหลาย และเพื่อยุติข้อถกเถียง และเธอก็กำหนดราคาของมันที่เธอจะขายมันในสภาพที่สินค้านั้นอยู่กรรมสิทธิ์ของเธอ และทำสัญญากับผู้ซื้อด้วยกับราคาตามนั้น โดยที่ไม่กำหนดเป็นข้อผูกมัด(จำเป็น)ว่าเธอต้องขาย หรือเขาต้องซื้อ แต่ทว่าทั้งสองฝ่ายเลือกในการทำสัญญา(ข้อตกลงกัน) หรือไม่มี(ก็แล้วแต่)

          และเมื่อเธอครอบครองสินค้าเป็นการครอบครองตามบทบัญญัติ จากนั้นเธอก็ทำสัญญา(ข้อตกลง)กับผู้ซื้อบนการขายนั้น ก็กลายเป็นว่าสัญญานี้จำเป็นสำหรับทั้งสองฝ่าย และนำเอากฏเกณฑ์ที่เป็นที่รู้จัก ที่เรียกกันว่า "ข้อตกลงซื้อขาย"


          2. ให้เธอขายสินค้าให้แก่ผู้ที่สนใจจะซื้อ ด้วยกับราคาที่ชัดเจน หรือขายด้วยกับเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดบนราคานั้น และเธอก็เสนอสินค้าต่างๆ แก่ผู้คน และกำหนดราคาตายตัว ยกตัวอย่างเช่น สิบดอลร่า ต่อทุกๆ ธุรกรรม หรือเป็นเปอร์เซ็นต์บนใบเสร็จ และเงินจำนวนนี้หรือเปอร์เซ็นต์นี้ คือการตอบแทนความพยายามและความเหน็ดเหนื่อยของเธอจากเงินที่ถูกจ่ายให้แก่เธอเพื่อซื้อสินค้า

     ♦ เช่นเดียวกับการที่เธอเป็นนายหน้าแก่ผู้ซื้อ และเธอก็สามารถที่จะเป็นนายหน้าให้แก่ผู้ขายได้

 

     ♦ โดยเฉพาะทรัพย์ที่จ่ายให้แก่เธอจากผู้หญิงคนนั้น จำเป็นที่จะต้องนำมาคืนนาง เพราะมันเป็นสิทธิของเขา ดังนั้นเมื่อเธอเอาเงินคืนมาได้จากเวปไซต์หลอกลวงนั้นด้วยกับการแจ้งความหรือวิธีอื่นๆ ผู้หญิงคนนั้นก็เรียกร้องเงินของนางคืน ไม่ว่าเธอจะสามารถเอาเงินคืนมาจากบริษัทหลอกลวงได้หรือเอากลับคืนมาไม่ได้ก็ตามแต่ แท้จริงสิทธิของผู้หญิงคนนั้นที่อยู่ ณ ที่เธอไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด สิทธิของนางก็ยังอยู่ในความรับผิดขอบของเธออยู่ดี และหวังว่าการงานของเธอจะง่ายดาย หรือนางจะยกสิทธินั้นให้ก็เป็นการดีสำหรับนาง ดังที่

อัลลอฮ์  ตรัสว่า


وَإِن كَانَ ذُو عُسْرَةٍ فَنَظِرَةٌ إِلَى مَيْسَرَةٍ وَأَن تَصَدَّقُواْ خَيْرٌ لَّكُمْ إِن كُنتُمْ تَعْلَمُونَ

"และหากเขา (ลูกหนี้) เป็นผู้ยากไร้ก็จงให้มีการรอคอยจนกว่าจะถึงคราวสะดวก

และการที่พวกเจ้าจะให้เป็นทานนั้น ย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้"

          ขอจากอัลลอฮ์  ให้พระองค์ทรงบันทึกความดีให้แก่เธอและช่วยเหลือเธอ และสามีของเธอในการยืนหยัดที่จะแบกรับภาระของชีวิตพร้อมกับเขา และขออัลลอฮ์ประทานริสกีที่ดีงามให้แก่เธอ



والله أعلم

 

http://islamqa.info/ar/160559