มุมมองนักวิทยาศาสตร์ กับ คัมภีร์ศาสนา
ดร.รออีส บิน อาซิม
คุณค่าของอัลกุรอานไม่ได้อยู่ที่การอ่านหรือเป็นแค่เพียงหลักการในศาสนาเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ในศาสตร์แขงต่างๆ ทั้ง แพทย์ศาสตร์ คณิตศาสตร์ อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ถึงความรู้แจ้งทุกๆ ด้านที่กล่าวไว้ในอัลกุรอาน
นักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะนักสมุทรศาสตร์ (Oceanography scientist) ได้อธิบายถึงปรากฏการทางวิทยาศาสตร์ใต้ทะเล โดยเชื่อมโยงเข้ากับอัลกุรอาน บทซูเราะอัล-นูรฺ อายะฮฺที่ 40 ซึ่งกล่าวถึงโลกใต้ทะเลและบนชั้นฟ้าอย่างชัดเจน อายะฮฺบทนี้มีความว่า
024.040 أَوْ كَظُلُمَاتٍ فِي بَحْرٍ لُجِّيٍّ يَغْشَاهُ مَوْجٌ مِنْ فَوْقِهِ مَوْجٌ مِنْ فَوْقِهِ سَحَابٌ ظُلُمَاتٌ بَعْضُهَا فَوْقَ بَعْضٍ إِذَا أَخْرَجَ يَدَهُ لَمْ يَكَدْ يَرَاهَا وَمَنْ لَمْ يَجْعَلِ اللَّهُ لَهُ نُورًا فَمَا لَهُ مِنْ نُورٍ"หรือเปรียบเสมือนความมืดมนทั้งหลายในท้องทะเลลึก มีคลื่นซ้อนคลื่นท่วมมิดตัวเขา และเบื้องบนของมันก็มีเมฆหนาทึบซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า
เมื่อเขาเอามือของเขาออกมา เขาแทบจะมองไม่เห็นมัน และผู้ใดที่อัลลอฮ์ไม่ทรงทำให้เขาได้รับแสงสว่าง เขาก็จะไม่ได้รับแสงสว่างเลย"
อายะฮฺบทนี้กล่าวถึงความมืดมิดของท้องทะเลและการเกิดคลื่นใต้น้ำตามที่หลายท่านคงเคยได้ยินมา แต่ในบทความนี้จะขอนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและบทวิเคราะห์อัลกรุอานตามหลักวิทยาศาสตร์ของ ซูเราะฮฺอัล-นูรฺ อายะฮฺที่ 40 ดังนี้
สภาพใต้ทะเล
นักสมุทรศาสตร์ได้แบ่งชั้นของความลึกในทะเลโดยใช้ลักษณะสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนด 5 ระดับ (ดูภาพประกอบข้างล่าง) ดังนี้• The Sunlight Zone หรือ Epipelagic Zone
• The twilight Zone หรือ Mesopelagic Zone
• The midnight Zone หรือ Bathypelagic Zone
• The pitch-black Zone หรือ Abyssal/Abyssalpelagic Zone
• The Hadalpelagic Zone
อัลกุรอานเอ่ยถึงนั้นมีความน่าจะเป็นอย่างมากที่จะกล่าวถึงชั้นของความลึกที่เรียกว่า The Midnight Zone หรือ Bathypelagic Zone แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงเข้ากับอัลกุรอาน เราควรจะทำความรู้จักกับสภาพของ The Midnight Zone กันเสียก่อนMidnight Zone เป็นชั้นความลึกที่อยู่ในระดับ 1,000 เมตร ถึง 4,000 เมตร ในชั้นนี้จะไม่มีแสงสว่างเนื่องจากแสงจากดวงอาทิตย์จะกระจายและสะท้อนกลับตั้งแต่ระดับความลึกที่ 200 เมตร (ดูภาพประกอบ) แต่ยังมีแสงสีฟ้าที่ส่องลอดลงมาได้ ก่อนจะถูกกรองหายไปก่อนถึงระดับความลึกที่ 1,000 เมตร
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าความลึกในะดับนี้จะไม่มีแสงสว่างอยู่เลย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในชั้น Midnight Zone สามารถผลิต สารเรืองแสงตามธรรมชาติที่มีลักษณะคล้ายพรายน้ำ ซึ่งมองดูคล้ายๆ หิ่งห้อยในทะเล สารเรืองแสงดังกล่าวจะช่วยในการมองเห็นและใช้เป็นเครื่องมือในการหาอาหารแม้ว่าความลึกในชั้นนี้จะมีอุณหภูมิคงที่ประมาณ 4˚C มีแสงสว่างจากสารเรืองแสงจากสัตว์น้ำ แต่มีแรงดันของน้ำทะเลสูงเกินกว่าระดับปฏิบัติการของเรือดำน้ำที่จะดำลงไปถึง มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่สามารถดำลงไปหาอาหารได้อย่างง่ายดาย นั้นคือ วาฬสเปิร์ม (Sperm Whale, ชื่อวิทยาศาสตร์: Physeter macrocephalus หรือ Physeter catodon)
จากข้อมูลดังกล่าวเมื่อเทียบกับอัลกรุอานในซูเราะห์ อัล-นูรฺ อายะฮฺที่ 40 บทที่กล่าวว่า
"หรือเปรียบเสมือนความมืดมนทั้งหลายในท้องทะเลลึก "
และ
"เมื่อเขาเอามือของเขาออกมา เขาแทบจะมองไม่เห็นมัน"
จะเห็นได้ว่าในชั้น Midnight Zone เป็นความลึกชั้นแรกที่ไม่มีแสงสว่างอยู่เลยหรืออีกนัยหนึ่งคือมืดสนิท ตามที่กล่าวไว้ในอัลกุรอานอย่างถูกไม่ผิดเพี้ยน
การสะท้อนของแสงหรือการกรองแสง(และรังสี) ธรรมชาติมีการกรองแสงโดยทำให้แสงเกิดการสะท้อนและกระจายอยู่สามจุดใหญ่ๆคือ
การกรองแสงและรังสีตามธรรมชาติมี 3 วิธี คือ
1. ชั้นบรรยากาศ มีเมฆในชั้นต่างๆ เป็นตัวกรองแสง
2. ผิวน้ำหรือผิวน้ำทะเล ทำให้เกิดการสะท้อนของแสง
3. น้ำหรือน้ำทะเลเป็นตัวกลางทำให้เกิดการหักเหของแสง ทำให้แสงอ่อนค่าลง
และนี่ก็เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ตรงกับคำอธิบายที่นักอธิบายหวามหมายกอัลกุรอานได้ให้ไว้ดังที่ปรากฎในกรุอานท่อนนี้ได้อย่างไม่มีที่ข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
“มีคลื่นซ้อนคลื่นท่วมมิดตัวเขา”
นิตยสาร Times Magazine ฉบับวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1964 ได้นำเสนอบทความเรื่อง “Underwater Waves Make Underwater Weather” เนื้อหากล่าวถึงการค้นพบคลื่นใต้น้ำของ Dr. Theodore Pochapsky จากห้องปฏิบัติการ Hudson Laboratories แห่งมหาวิทยาลัย Columbia University ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้
...จากการทิ้งทุ่นสำรวจจำนวน 5 ทุ่นและการเก็บข้อมูลใต้น้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก ในบริเวณทิศตะวันออกของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า (Bermuda) ทุ่นสามารถจับและบันทึกการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะเหมือนคลื่นบนผิวน้ำทุกประการแต่ตำแหน่งดังกล่าวอยู่ในบริเวณใต้น้ำลึก ผลการสำรวจยังยืนยันอีกว่าคลื่นใต้น้ำมีความสูงถึง 3 เมตร และบางครั้งยังสามารถตรวจจับคลื่นที่มีความสูงถึง 30 เมตร มีอัตราการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง...
หลังจากนั้นอีกประมาณ 40 ปี ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2004 นิตยาสาร New Scientist ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ “The World Underwater Wave” โดยอ้างอิงจากการค้นพบของนาย David Cacchione จากหน่วยสำรวจทางภูมิศาสตร์ที่ชื่อ US Geological Survey and Lincoln Pratson แห่งมหาวิทยาลัย Duke University มลรัฐ North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้
...การสำรวจพบคลื่นใต้น้ำซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคลื่นบนผิวน้ำที่เดินทางผ่านระหว่างชั้นน้ำใต้ทะเลที่มีความลึก คลื่นใต้น้ำมีความสูงประมาณ 50-100 เมตร มีความกว้างของฐานคลื่นตั้งแต่ 100 เมตรไปจนถึง 10 กิโลเมตร สามารถเคลื่อนตัวไปไกลหลายสิบกิโลเมตร แต่คลื่นใต้น้ำเป็นคลื่นที่เคลื่อนตัวได้ช้ามาก
และนี่อาจเป็นการค้นพบปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้อธิบายข้อความในอายะฮ์นี้ที่ว่า
"มีคลื่นซ้อนคลื่นท่วมมิดตัวเขา"
คลื่นบนผิวน้ำซ้อนอยู่บนคลื่นใต้น้ำ มีความสูงนับสิบเมตร สูงกว่าความสูงของมนุษย์มากมายนัก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “ท่วมมิดตัว” อย่างแน่นอน
การแบ่งชั้นของเมฆ
อายะฮฺนี้ยังกล่าวถึงชั้นของเมฆไว้อย่างตรงตัวว่า"และเบื้องบนของมันก็มีเมฆหนาทึบซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า"
เมื่อลองทบทวนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในสมัยมัธยมต้นเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ สิ่งที่ตรงกับที่อัลกรุอานกล่าวไว้คือ
ในปี ค.ศ. 1802 Luke Howard ได้นำเสนอทฤษฎีต่อสมาคม Askesian Society เรื่องการแบ่งกลุ่มเมฆเป็น 4 กลุ่ม หรือ 8 ชั้นตามลักษณะของมัน โดยยึดเอาระดับความสูงเป็นเกณฑ์ (ดูภาพประกอบ)
เมฆระดับสูง (ตระกูล A)ก่อตัวที่ระดับความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ที่ความสูงระดับนี้ น้ำส่วนใหญ่จะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง ชนิดของเมฆในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
• เมฆซีร์รัส (Cirrus - Ci): Cirrus, Cirrus uncinus, Cirrus Kelvin-Helmholtz
• เมฆซีร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus - Cc)
• เมฆซีร์โรสตราตัส (Cirrostratus - Cs)
เมฆระดับกลาง (ตระกูล B)ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 - 16,500 ฟุต (2,000 - 5,000 เมตร) เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำและละอองน้ำเย็นจำนวนมาก ชนิดของเมฆในกลุ่มนี้คือ
• เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus - Ac)
• เมฆอัลโตสตราตัส (Altostratus - As)
เมฆระดับต่ำ (ตระกูล C)ก่อตัวที่ความสูงระดับต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) และ รวมถึงเมฆสตราตัส (Stratus) ส่วนเมฆสตราตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียกว่า “หมอก” ชนิดของเมฆในกลุ่มนี้คือ
• เมฆสตราตัส (Stratus - St)
• เมฆสตราโตคิวมูลัส (Stratocumulus - Sc)
• เมฆนิมโบสตราตัส (Nimbostratus - Ns)
เมฆแนวตั้ง (ตระกูล D)เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน ประกอบด้วย
• เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus – Cb) หรือ “เมฆฟ้าคะนอง"
• เมฆคิวมูลัส (Cumulus)
จะเห็นได้ว่าทฤษฎีการแบ่งเมฆออกเป็นชั้นๆ พึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง นับว่าห่างไกลกันมากกับที่อัลกรุอ่านได้กล่าวไว้ เมฆในแต่ละชั้นจะอยู่ในรูปของสะสารและของเหลวที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่น ตรงตามที่อัลกุรอานกล่าวไว้ทุกประการ"และเบื้องบนของมันก็มีเมฆหนาทึบซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า"
แสงสว่าง
"และผู้ใดที่อัลลอฮ์ไม่ทรงทำให้เขาได้รับแสงสว่าง เขาก็จะไม่ได้รับแสงสว่างเลย"
เมื่อฟังแล้วอาจจะอนุมานได้ว่า ถ้าอัลลอฮฺให้แสงสว่างแก่เขา เขาก็จะได้รับแสงสว่าง แต่ถ้าย้อนกลับไปดูในตอนต้นที่เรากล่าวถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในชั้น Midnight Zone ที่สามารถผลิตสารเรืองแสงเพื่อช่วยในการมองเห็นและใช้เป็นเครื่องมือในการหาอาหาร ข้อมูลดังกล่าวอาจจะชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ๆมืดมิดแห่งใดก็ตาม ถึงแม้ว่าสถานที่แห่งนั้นแสงสว่างหรือแสงแดดจะไม่สามารถส่องไปถึงได้ หากอัลลอฮ์ทรงมีพระประสงค์ให้มองเห็นหรือให้มีแสงสว่าง แสงสว่างก็จะบังเกิดขึ้น
แต่ถ้าข้อความนี้แปลเป็นสำนวนอุปมาตามที่นักอธิบายความหมายกุรอานหลายท่านกล่าวไว้ว่า แสงสว่างคือ “ความรู้” นักสำรวจและนักวิทยาศาสตร์ต่างยอมรับว่า มนุษย์เรามีความรู้เกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยอยู่ทั้งจากการค้นคว้าหรือค้นพบไม่เกิน 20% เท่านั้น ในขณะที่นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าน่าจะสูงถึง 30%-40% นั่นก็หมายถึงว่ายังมีความรู้อีกมากที่ยังคงเป็นความลับที่รอให้มนุษย์ใช้สติปัญญาค้นหาความจริง และแน่นอนว่ายังมีความรู้แจ้งอีกมากมายที่ซ่อนอยู่ในอัลกุรอาน ดังคำกล่าวที่ว่า
และผู้ใดที่อัลลอฮ์ไม่ทรงทำให้เขาได้รับแสงสว่าง เขาก็จะไม่ได้รับแสงสว่างเลย
บทความทั้งหมดเป็นเพียงแนวคิดในหนึ่งของอายะฮ์สั้นๆ ที่อธิบายและชี้นำให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในสี่รูปแบบตั้งแต่บนชั้นฟ้าถึงใต้ทะเลลึกกับอัลกุรอาน
และในอัลกุรอานแม้กระทั่งในอายะฮ์นี้ยังสามารถตีความได้อีกหลายรูปแบบ ซ้ำยังสามารถแสดงให้เห็นถึงข้อคิดและการเตือนสติ โดยที่ยังไม่รวมถึงวิทยปัญญาอีกหลายหลากที่สติปัญญาของผมยังไม่มาสารถตีความออกมาได้
เช่นนี้แล้วเรายังจะปฏิเสธความประเสริฐของอัลกุรอานที่เขียนขึ้นโดยผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกหรือ? สมแล้วกับพระนามที่ว่า
الخالق
ผู้ทรงสร้าง
العليم
ผู้ทรงรอบรู้
อัลลอฮ์ เท่านั้นที่ทรงรู้ดี
อินชาอัลลอฮฺ ในโอกาสใกล้เดือนรอมฎอน บทความฉบับหน้าจะขอเสนอเรื่องโบนัสที่อัลลอฮฺทรงมีให้กับบ่าวของพระองค์ในการถือศีลอด (ในมุมของความสัมพันธ์ระหว่างศาสนกิจเดือนรอมฎอนกับจิตใจสู่ร่างกาย)
วัสลามุอะลัยกุมวะเราะมะตุลลอฮ์